วัยเกษียณ เป็นวัยที่เรารู้กันดีว่าเป็นวัยที่หยุดทำงาน ไม่มีรายได้ประจำหรือเงินเดือนแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีเงินเดือนเหมือนเมื่อก่อนแล้วจะไม่ต้องเสียภาษี เพราะวัยเกษียณที่ยังมีรายได้ถึงเกณฑ์ก็ยังต้องจ่ายภาษีด้วยเช่นกัน
ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษี ซึ่งจุดนี้อาจทำให้วัยเกษียณมือใหม่หลายคนเกิดกังวลใจ แต่ความกังวลนี้จะหมดไปได้หากรู้จักและเลือกใช้ การลดหย่อนภาษี สำหรับการยื่นภาษีประจำปีได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการลดหย่อนภาษีสำหรับวัยเกษียณนั้นจะขึ้นอยู่แล้วแต่กรณี ดังนี้
·กรณีมีรายได้เป็นดอกเบี้ย เงินปันผล เงินคืนประกัน
·กรณีมีรายได้สวัสดิการ
·สิทธิผู้สูงอายุ
กรณีมีรายได้เป็นดอกเบี้ย เงินปันผล เงินคืนประกัน
สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็นดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำ เงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น และเงินคืนประกันบำนาญไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับการยกเว้นการจ่ายภาษี ตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่
· ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ในกรณีที่มีดอกเบี้ยเงินฝากประจำอย่างน้อย 1 ปี ที่มีดอกเบี้ยน้อยกว่า 30,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี· กำไรจากการขายหุ้น ก็จะได้รับการยกเว้นจากการขายในตลาดหลักทรัพย์
· เงินปันผล ที่เราได้จากหุ้นหรือกองทุนรวมก็ตาม ถือว่าเป็นรายได้ที่เราต้องเสียภาษี โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ 10% แต่ว่าเงินปันผลถือว่าเป็นเงินได้ชนิดพิเศษที่มีสิทธิ์ “Final Tax” ที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้
· เงินคืนประกันบำนาญ หากได้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญไว้ก่อนเกษียณ เมื่อถึงเวลาได้รับเงินบำนาญยามเกษียณ เงินจำนวนนี้ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเช่นกัน
กรณีมีรายได้สวัสดิการ
สำหรับวัยเกษียณแม้จะไม่ได้มีรายได้เป็นเงินเดือนเหมือนตอนวัยทำงาน แต่ก็ยังมีรายได้สวัสดิการที่วัยเกษียณจะได้รับ โดยรายได้สวัสดิการนี้จะมีภาษีที่ต้องจ่ายและสิทธิลดหย่อนได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
· เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเงินที่รัฐบาลให้กับผู้สูงอายุทุกคน ในอัตราแตกต่างกันตามช่วงอายุ โดยรายได้ส่วนนี้จะถูกนำไปรวมคำนวณภาษี ถ้าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ไม่ถึงกำหนดจะไม่ต้องเสียภาษี
· ภาษีเงินบำนาญข้าราชการ ซึ่งเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อน ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
· บำเหน็จ/บำนาญชราภาพ จากกองทุนประกันสังคม คือรายได้รายเดือนที่จะได้ตลอดชีวิตในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย โดยรายได้ส่วนนี้จะได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไข
· บำเหน็จดำรงชีพ ได้แก่เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญ เพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีพ ผู้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพ คือ ข้าราชการที่ออกจากราชการ และขอรับบำนาญ อัตราในการจ่ายไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับ แต่ไม่เกินสี่แสนบาท ซึ่งรายได้จำนวนนี้จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
สิทธิผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีสิทธิในการลดหย่อนภาษีในฐานะผู้สูงอายุได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
· สำหรับผู้มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ สามารถนำสิทธิยกเว้นเงินได้ 190,000 บาทแรกของตน ไปหักออกจากเงินได้ประเภทใดก็ได้ที่ตนได้รับระหว่างปีภาษี ซึ่งสิทธิลดหย่อนนี้จะทำให้วัยเกษียณมีรายได้ที่นำไปคำนวณสำหรับการเสียภาษีน้อยลง และทำให้จ่ายภาษีในอัตราที่น้อยลงนั่นเอง ประกันสุขภาพ
· และสำหรับผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท บุตรก็สามารถนำสิทธิอุปการะบิดามารดาไปใช้ลดหย่อนได้ด้วยเช่นกัน
ชีวิตวัยเกษียณเป็นสิ่งที่หลายคนอาจรู้สึกกังวล ทั้งเรื่องสุขภาพร่างกาย และเรื่องสำคัญอย่างเรื่องรายได้ที่จะไม่ได้มีเหมือนกับการเป็นวัยทำงานอีกแล้ว แต่ความกังวลนี้สามารถแก้ไขหากเรามีการเตรียมพร้อมทางการเงินที่ดีด้วย
ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี