การปฐมพยาบาลและการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นอย่างถูกวิธี จะช่วยลดและบรรเทาอาการปวดหรืออาการบาดเจ็บได้

เมื่อใดต้องประคบเย็น
-มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ข้อเท้าแพลง รอยฟกช้ำจากการกระแทก อาการปวดหรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา/การออกกำลังกาย เป็นต้น
-อาการปวดเฉียบพลันของส่วนต่างๆ เช่น ปวดไหล่ ปวดหลัง
-การอักเสบ บวม แดง ในระยะฉับพลัน
-อาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง เลือดกำเดาไหล แผลจากของมีคมหรือน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ที่ไม่รุนแรง

ประคบเย็น...ช่วยได้อย่างไร
ความเย็นจะช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลงทั้งเลือดที่ออกนอกร่างกายให้เห็นได้ และเลือดที่ออกนอกเส้นเลือดในร่างกาย ดังนั้นอาการบวมก็จะน้อย มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าหลอดเลือดช่วยให้ยุบบวมจึงช่วยลดการบาดเจ็บ การอักเสบ นอกจากนี้ความเย็นยังช่วยลดการนำกระแสประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้บรรเทาอาการปวดได้

วิธีการประคบเย็น
1. ประคบทันทีบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ภายใน 24-48 ชั่วโมง
2. ใช้เวลาในการประคบ 10-15 นาทีไม่ควรใช้เวลานานกว่านี้ และไม่วางที่เดียวนานเกินไปจะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
3. ในขณะที่ประคบเย็นให้ยกส่วนที่บาดเจ็บสูงกว่าระดับหัวใจไม่ควรนวดบริเวณที่บาดเจ็บ จะทำให้เลือดออกมากขึ้น
4. ประคบได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แต่ต้องทิ้งระยะพักส่วนที่ประคบอย่างน้อย45-60 นาที หรือจนกว่าผิวบริเวณที่ประคบจะอุ่นเท่าผิวปกติ

ข้อควรระวังในการประคบเย็น
1. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการรับความรู้สึก
2. บริเวณที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียง
3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
4. ผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาต่อความเย็น เช่น มีเม็ดเลือดแตกแพ้ความเย็น ทนความเย็นไม่ได้ เส้นประสาทอักเสบ
จากความเย็น เป็นต้น

การทำถุงประคบเย็น
วิธีที่ 1 ใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำแข็งก้อนหรือทุบเติมน้ำเล็กน้อยผูกปากถุงให้แน่น (หรือใช้ถุงแบบ ziplock) หุ้มด้วยผ้าขนหนู
วิธีที่ 2 ใส่น้ำในถ้วยกระดาษหรือถ้วยพลาสติกแช่แข็งปิดด้วยพลาสติกด้านบนให้แน่น นำมาวนเป็นวงกลมบริเวณที่บาดเจ็บ
วิธีที่ 3 แช่เจล Cold / hot pack ในช่องทำน้ำแข็ง นำมาหุ้มด้วยผ้าขนหนู
วิธีที่ 4 การประยุกต์ใช้สิ่งที่มีในช่องแช่แข็งในขณะนั้น เช่น อาหารแช่แข็งห่อหุ้มด้วยถุงพลาสติกที่สะอาดและหุ้มด้วยผ้าขนหนู

เมื่อใดต้องประคบร้อน
-หลังได้รับบาดเจ็บ หรืออาการฟกช้ำ 48-72 ชั่วโมง
-อาการปวดหรืออักเสบเรื้อรัง เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดเข่า
-ตึงบริเวณข้อ
-อื่นๆ เช่น ปวดประจำเดือน ปวดฟัน เต้านมคัดในช่วงให้นมบุตร

ประคบร้อน...ช่วยได้อย่างไร
ความร้อนจะช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือดการซ่อมแซมการบาดเจ็บดีขึ้น กล้ามเนื้อคลายตัว และช่วยบรรเทาอาการปวด

วิธีการประคบร้อน
1. ทดสอบอุณหภูมิที่จะนำมาประคบไม่ให้ร้อนเกินไป
2. วางแผ่นประคบบริเวณที่มีอาการ ประมาณ 15-20 นาที โดยขยับเปลี่ยนบริเวณที่วางบ่อยๆ

การทำแผ่นประคบร้อน
วิธีที่ 1 เติมน้ำร้อนประมาณ 2/3 ในกระเป๋าน้ำร้อน ไล่อาการออก ปิดจุกให้แน่น และหุ้มด้วยผ้าขนหนู
วิธีที่ 2 ใช้เจล Cold / hot pack ใส่ในไมโครเวฟ ประมาณ 1 นาที หรือแช่ในน้ำร้อน 5นาที หุ้มด้วยผ้าขนหนู
วิธีที่ 3 ถุงประคบร้อนสมุนไพร ลูกประคบ หรือประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในขณะนั้นเช่น ถุงข้าวสวย/ข้าวเหนียวร้อนๆ
หุ้มด้วยผ้าขนหนู

ข้อควรระวังในการประคบร้อน
- ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
- มีปัญหาอาการชา หรือขาดเลือดไปเลี้ยง
- บริเวณที่อยู่ใกล้ก้อนเนื้องอกหรือเป็นมะเร็ง
- ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
- ความร้อนที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดรอยดำไหม้หรือแผลพุพองได้
- บริเวณที่มีแผลเปิด มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ความจริงเกี่ยวกับการประคบร้อน

ห้ามประคบร้อนในบริเวณที่มีการบาดเจ็บหรืออักเสบเฉียบพลัน โดยเฉพาะใน24 ชั่วโมงแรก
ขอขอบคุณ ที่นี่,จิ้มจุ่ม

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กระทู้ตอบกลับ
โพสต์เก่าขึ้นก่อน

251ดู2ตอบกลับ

Mongj 2024-7-1 05:54:18 จากอุปกรณ์พกพา
ขอบคุณครับ
gangk 2013-8-9 19:52:57
ขอบคุณมากครับ
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต