ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนครโยโกฮามาประสบความสำเร็จในการสร้างตับมนุษย์ขึ้นในจานเพาะเลี้ยงภายในห้องทดลอง ทั้งยังทดสอบประสิทธิภาพด้วยการปลูกถ่ายให้กับหนูเพื่อพิสูจน์ว่าตับดังกล่าวสามารถทำหน้าที่ได้จริง โดยทีมวิจัยดังกล่าวซึ่งนำโดย ทาคาโนริ ทาเคเบะ นักชีววิทยาสเต็มเซลล์ชาวญี่ปุ่น เขียนบทความเผยแพร่ความสำเร็จในการทดลองดังกล่าวไว้ในวารสาร เนเจอร์ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

กระบวนการทั้งหมดเริ่มต้นด้วยการสร้าง "ลีเวอร์ บัด" (liver bud)
ซึ่งเป็นขั้นตอนพัฒนาการไปเป็นตับของคนเราตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ภายในครรภ์ ทาเคเบะทดลองสร้าง "ลีเวอร์ บัด" ดังกล่าวขึ้นจากการผสมผสานเซลล์ 3 ชนิดเข้าไว้ด้วยกันบนจานเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยนครโยโกฮามาแล้วทิ้งไว้ให้เติบโตและจัดระเบียบของตัวเอง

เซลล์ 3 ชนิด ที่ทาเคเบะใช้ในการพัฒนา "ลีเวอร์ บัด" ประกอบด้วยเซลล์จากสายสะดือ, เซลล์จากไขกระดูก และ เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ หลังจากนั้่นปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน เมื่อมาตรวจสอบผลการเติบโตพบว่าตัวอย่างในจานเพาะเลี้ยงบางตัวอย่างพัฒนาการขึ้นมากลายเป็น ลีเวอร์ บัด ที่มีโครงสร้าง 3 มิติ ทาเคเบะเชื่อว่าความสำเร็จในการทดลองครั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการผสมผสานเซลล์ 3 ชนิด ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทสำคัญในการก่อรูปของอวัยวะต่างๆของมนุษย์เราในช่วงที่เป็นตัวอ่อนอยู่ภายในครรภ์
"พูดอีกอย่างก็คือ กระบวนการทั้งหมดที่เราทำขึ้นเป็นการเลียนแบบการก่อรูปของตับของคนตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนนั่นเอง" ทาเคเบะระบุ พร้อมกับยอมรับว่า ผลการทดลองสร้างความประหลาดใจให้กับตนเองพอๆ กับที่สร้างความทึ่งให้เกิดขึ้นกับบรรดาเพื่อนร่วมงานบางคนที่เบื้องต้นเชื่อว่า ลีเวอร์ บัด ที่พบนั้นเกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของตัวอย่างในจานเพาะเลี้ยงจานนั้นๆ แต่ต้องยอมรับในที่สุดเมื่อตรวจสอบ

ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลก ที่สเต็มเซลล์ถูกผสมผสานให้ทำงานร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆ แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาในทางที่ทำให้ สเต็มเซลล์มีอิสระในอันที่จะเติบโตขึ้นเป็นโครงสร้าง
3 มิติได้อย่างแท้จริง

ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเคยพยายามสร้างอวัยวะขึ้นโดยใช้สเต็มเซลล์ ร่วมกับเซลล์อื่นๆ เพื่อสร้างอวัยวะที่ต้องการ ด้วยการสร้างโครงร่างของอวัยวะชิ้นนั้นๆขึ้นมาก่อนเพื่อใช้เป็นโครงยึดเกาะและก่อรูปของสเต็มเซลล์แต่ล้มเหลวเพราะเซลล์ที่ใช้ไม่ยึดเกาะเข้ากับโครงร่างรูปอวัยวะดังกล่าวแต่อย่างใด

เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ "ลีเวอร์ บัด" ที่สร้างขึ้นมาในห้องทดลอง ทาเคเบะและทีมวิจัยนำลีเวอร์ บัด ดังกล่าวไปผ่าตัดปลูกถ่ายให้กับหนูตัวหนึ่ง ซึ่งตับได้รับความเสียหายจนเป็นเหตุให้ตายได้ ผลปรากฏว่า ลีเวอร์
บัด ดังกล่าวไม่เพียงทำหน้าที่แทนตับของหนูได้เต็มที่จนทำให้มันมีชีวิตยืนยาวกว่าที่คาดหมายไว้แล้ว ยังสามารถย่อยยาบางชนิดซึ่งตับจริงๆ ของหนู ไม่สามารถย่อยได้

นั่นหมายความว่า ลีเวอร์ บัด ที่ทำหน้าที่อยู่ในหนูทดลองดังกล่าว เป็นตับของมนุษย์จริงๆ ไม่ใช่ตับของหนูแต่อย่างใด

ทาเคเบะเชื่อว่า ลีเวอร์ บัด สามารถนำมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่ตับเสียหายได้ในอนาคต โดยอาจทำหน้าที่ "ทดแทน" ตับเดิม หรือทำหน้าที่ชั่วคราว ระหว่างรอตับเดิมของผู้ป่วยฟื้นฟูสู่สภาพปกติ

นอกจากนั้น กระบวนการทั้งหมดยังสามารถพัฒนาไปใช้กับอวัยวะภายในของคนเราอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ม้าม, ไต หรือ ปอดก็ตามที
ขอขอบคุณ ที่นี่, ประชาชาติ

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กระทู้ตอบกลับ
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน

237ดู2ตอบกลับ

gangk 2013-8-15 20:08:32
ขอบคุณมากครับ
Mongj 2024-7-2 04:15:58 จากอุปกรณ์พกพา
ขอบคุณมากครับ
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต