ความเชื่อว่า แมว เป็นสัตว์ที่มีพลังวิเศษนั้น พบได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก ... สำหรับประเทศไทย ความเชื่อว่า แมวดำ เป็นสิ่งนำโชคร้ายนั้น เป็นที่รู้จักกันดี บางคนก็กล่าวว่าแมวดำกระโดดข้ามโลงที่งานศพไหน ศพนั้นจะเฮี้ยน
ในยุโรปยุคกลางก็เชื่อว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด หรือเชื่อว่าแม่มดสามารถแปลงร่างเป็นแมวเพื่อหลบหนีการไล่ล่าแม่มดได้ ส่วนชาวญี่ปุ่นก็มี แมวกวัก ที่คุ้นตาคนทั่วโลก
แต่ความเชื่อเรื่องแมวที่โด่งดังและยาวนานที่สุดพบได้ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ โดยชาวไอยคุปต์เชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ และมีการบูชาเทพเจ้าบาสเต็ด อันเป็นเทพครึ่งคนครึ่งแมวอีกด้วย
กล่าวกันว่าเหตุผลหนึ่งที่ความเชื่อเกี่ยวกับแมวปรากฏในหลายวัฒนธรรมนั้น ก็เป็นเพราะพฤติกรรมของแมว ที่ต่างจากสัตว์เลี้ยงของมนุษย์อื่นๆ อย่างสุนัข ม้า วัว ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเชื่อง สามารถควบคุมได้ระดับหนึ่ง ใครที่เลี้ยงแมวก็จะคุ้นเคยดีว่า แมวเป็นสัตว์ที่อิสระสูง และแววตาของแมวก็ดูลึกลับ
นอกจากนี้แมวยังมีนิสัยออกหากินตอนกลางคืน แถมยังมีฝีเท้าที่เงียบเชียบ ทำให้คนสมัยโบราณเชื่อมโยงแมวกับพลังเหนือธรรมชาติ (บางวัฒนธรรมเชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ของพระจันทร์ ก็เพราะเหตุนี้)
ทั้งนี้ ถึงแม้ความเชื่อเกี่ยวกับแมวจะต่างกันไปในแต่ละสังคม บ้างก็ว่าแมวโชคดี บ้างก็ว่าโชคร้าย แต่ที่มีปรากฏเกือบทุกที่คือ "ความเชื่อว่า แมวมี 9 ชีวิต" หรือบางประเทศก็เชื่อว่าแมวมี 7 ชีวิต
แมวไม่ได้มี 9 ชีวิตแน่ๆ แต่เป็นเพราะแมวมีทักษะในการเคลื่อนไหวดีเยี่ยม มุด ลอด ปีนป่าย และตกจากที่สูงได้โดยไม่เป็นอันตราย จึงเป็นที่มาของความเชื่อดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ต่อให้เก่งยังไง แมวก็ยังแพ้แรงโน้มถ่วงโลก ถ้าแมวตกจากที่สูงมากๆ ก็ตายได้เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะรอดได้ตลอด
.. ที่น่าสนใจคือ ดูเหมือนว่าแมวยึดครองโลกอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้ไว้แล้ว เห็นได้จากเว็บไซต์รวมรูปและวิดีโอแมวเหมียว หรือมุขตลกเกี่ยวกับแมวต่างๆ
เมื่อเวลาผ่านไป 5,000 ปี ชาวโลกในอนาคตคงเข้าใจผิดว่า อารยธรรมมนุษย์สมัยศตวรรษที่ 21 บูชาแมวเหมือนอียิปต์โบราณ!?
ขอขอบคุณ ที่นี่, ข่าวสด

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กระทู้ตอบกลับ
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน

257ดู1ตอบกลับ

gangk 2013-8-29 05:44:35
ขอบคุณมากครับ
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต