คุณคงได้เห็นมาบ้างว่า ชายหนุ่มของคุณมีส่วนร่วมในการแชร์ หรือใจกว้างเรื่องนี้กับคุณมากแค่ไหน ผู้ชายบางคนมีเหตุผลระวังการใช้จ่ายเงิน บ้างก็ชอบให้คุณแชร์ด้วย บางคนเป็นพ่อบุญทุ่ม ในขณะที่หนุ่มบางคนเหนียวทะเลเรียกพี่ ไม่ว่าหนุ่มของคุณจะมีเหตุผล หรือใจกว้างขนาดไหน แต่เรื่องเงินเรื่องทองไม่เข้าใครออกใคร ทำให้คู่รักหวานแหววต้องเลิกกันไปหลายคู่ ในยุคนี้เมื่อทั้งคุณและเขาต่างก็ทำงาน หากตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว คุณควรบริหารความสัมพันธ์และการเงินให้ดีๆ 1. จับเข่าคุยกัน เปิดใจไปเลยว่าคุณเป็นคนใช้เงินแบบไหน “ชอบซื้อของทุกครั้งที่เงินเดือนออก?” แล้วเขาล่ะ? เขาเป็นคนชอบเก็บเงินหรือไม่มีเงินเก็บ แต่ละฝ่ายมีรายได้ รายจ่าย โบนัสเท่าไหร่ รับพฤติกรรมการใช้ เงินของแต่ล่ะฝ่ายได้ไหม เรื่องนี้เซ้นซิทีฟ ดังนั้น ต้องค่อยๆ พูด ค่อยๆทำความเข้าใจกัน แต่ถ้าเขาเป็นหนุ่มไม่มีความรับผิดชอบในเรื่องนี้เอาเสียเลย ก็ถึงเวลาที่คุณต้องทบทวนความสัมพันธ์ใหม่ 2. เมื่อจะลงเอยกันแล้ว “คู่รักควรมีประเป๋าสตางค์ร่วมกัน” ปรึกษากันซะว่า “บัญชีร่วม” ที่จะออมด้วยกันนี้ เพื่อไว้ใช้จัดการกับอะไรบ้าง บ้าน รถ การท่องเที่ยว ลูกๆ หรือเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน วินัยด้านการเงินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกครอบครัว เป็นสิ่งที่คู่รักควรทำความคุ้นเคย และตกลงกันว่าเงินก้อนนี้จะนำมาใช้ได้เมื่อไหร่
3. รายจ่ายในครอบครัว ใครจ่าย เธอหรือฉัน? คุณหวังให้เขาดูแลทั้งชีวิต และรับผิดชอบทุกอย่างเกี่ยวกับคุณ (ถ้าเขามีเงินเหลือเฟือ และเป็นคนดี) หรือเป็นสาวมั่น ที่มีความสุขในการทำงาน รักการแบ่งปัน? คงจะดีถ้าคุณทั้งคู่ยังมีเงินเหลือพอสำหรับความสุขส่วนตัวบ้าง ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันก็ควร “ร่วมกันแบ่งเบาภาระด้วยความเข้าใจ” ไม่สำคัญว่าต้องแบ่งกันจ่ายคนละครึ่งถึงจะแฟร์ ในบางคู่ฝ่ายชายมีรายได้สูงกว่า ในขณะที่บางคู่ฝ่ายหญิงมีรายได้มากกว่า คุณอาจจ่ายน้อยกว่าก็ได้ ที่สำคัญคือ ทั้งคู่มีส่วนร่วมในการดูแลชีวิตของแต่ละฝ่าย
ขอขอบคุณ ที่นี่, บีเวอร์ |