สมาชิกเท่านั้นถึงจะมองเห็นเนื้อหาอย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
นิยามของ เด็กไฮเปอร์ (Hyperactive Kids) คือ เด็กที่มีพฤติกรรมซุกซนมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน ลักษณะเด่น ๆ ก็คือ อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้นขาดการจดจ่อกันอะไรนาน ๆ ขาดการยับยั้งชั่งใจและหุนหันพลันแล่น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของเด็กและยังทำให้เด็กมีปัญหากับการเข้าสังคมหรือเล่นกับเพื่อนไม่ได้ เพราะเด็กไฮเปอร์มักจะมีพลังเยอะชอบเล่นแรง ๆ โดยที่ไม่รู้ตัว

ทำอย่างไรเมื่อลูกเข้าข่ายอาการเด็กไฮเปอร์
        อาการเด็กไฮเปอร์ นั้นเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากความผิดปกติของสมอง ความผิดปกติทางอารมณ์หรือการได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด แต่อย่างไรก็ตามภาวะไฮเปอร์ในเด็กที่ซุกซนอยู่ไม่นิ่งและวอกแวกง่ายนั้นก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะจัดว่าเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาและการบำบัดจิตอย่างโรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเข้าข่ายอาการเด็กไฮเปอร์สามารถเรียนรู้และรับมือกับภาวะไฮเปอร์ด้วยการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมกับลูก เพราะหากเจอกิจกรรมที่ลูกชอบและมีความถนัดจะช่วยทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีจนกลายเป็นเด็ก ไฮเปอร์ฉลาด และเป็นเลิศในด้านนั้น ๆ ได้

วิธีรับมือกับเด็กไฮเปอร์
สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจกับภาวะไฮเปอร์ในเด็กก็คือ เด็กจะอยู่ไม่นิ่ง วอกแวกง่าย และไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นาน ๆ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นอาการทั่วไปของเด็กไฮเปอร์ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรขีดกรอบจำกัดหรือออกคำสั่งบังคับให้ลูกต้องอยู่นิ่ง ๆ หรือดุด่า ควรปรับเปลี่ยนพื้นที่ในบ้านให้มีอิสระ พร้อมทั้งปรับลดสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่จะยั่วยุให้ลูกสูญเสียสมาธิได้ง่ายออกไปให้บ้านเงียบสงบ และสิ่งสำคัญ คือ หมั่นสังเกตเรียนรู้พฤติกรรมของลูกและมองหากิจกรรมที่เขาชอบเพื่อทำร่วมกัน เพราะการที่ เด็กไฮเปอร์ ได้ทำในสิ่งที่ชอบจะทำให้เขาทุ่มเทพลังงานอย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมและมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้นานยิ่งขึ้น

นอกจากนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ออกไปวิ่งเล่นปลดปล่อยพลังงานกลางแจ้งบ้าง การจำกัดให้ลูกอยู่แต่ในบ้านหรือพื้นที่แคบ ๆ จะยิ่งทำให้เขาวอกแวกง่ายและไม่มีสมาธิยิ่งกว่าเดิม ควรให้ลูกได้เล่นกีฬาที่ทำให้ตัวสูง เข้าสังคมและเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เท่านี้ก็จะช่วยทำให้ลูกปรับตัวและเติบโตขึ้นไปอย่างมีความสุข ทั้งนี้ อย่าลืมศึกษากิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้นเพิ่มเติมด้วยนะ

ที่มาข้อมูล
https://www.pobpad.com/ไฮเปอร์-hyperactivity
https://www.milo.co.th/blog/5-วิธีรับมือเด็กซน-เด็กไฮเปอร์
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-พัฒนาการเด็ก/เทคนิคดูแลเด็กสมาธิสั้น


กระทู้ตอบกลับ
โพสต์เก่าขึ้นก่อน

609ดู1ตอบกลับ

Dew 2022-2-4 14:12:58
Thank you very much.
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต