เมื่อความต้องการศึกษาหาความรู้ของเด็กๆในยุคสมัยใหม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของพ่อแม่เป็นหลัก และพ่อแม่ผู้ปกครองเองต่างก็เรียนรู้ที่จะปล่อยวางในเรื่องของการบังคับให้ลูกต้องเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่พ่อแม่เห็นว่าดีแก่ลูกโดยไม่ถามถึงความสมัครใจ ซึ่งสร้างบาดแผลและความรู้สึกว่าสถานที่แห่งนี้ไม่ได้เหมาะสำหรับเขาก็ได้ เพราะฉะนั้นแล้ว ก่อนที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆท่านจะให้ลูกได้เข้าเรียน เราควรพาลูกไปยังสถานที่เหล่านั้น และให้เขาได้ลองเข้าไปพบกับบรรยากาศต่างๆ สนามเด็กเล่น รวมไปถึงพบปะพูดคุยกับเหล่าครูบาอาจารย์ว่ามีทัศนคติเป็นอย่างไรบ้าง


เนื่องจากสถานศึกษานั้นมีหลากหลายประเภท และการพิจารณาเบื้องต้นของพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น การวางแผนในระยะยาวเกี่ยวกับอนาคตและการศึกษาของลูกหลานถือเป็นการลงทุนที่ดีอย่างมาก เราไม่ได้มองถึงการลงทุนในการขาดทุนหรือกำไร แต่เรามองถึงการได้เข้าถึงศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดและการค้นพบตัวเองและพัฒนาตนเองในวัยเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งส่วนมากจะเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมสูงและได้มาตรฐานอย่าง International school Bangkok ที่พ่อแม่หลายๆคนเลือกที่จะส่งลูกหลานเข้าไปรับการศึกษา และสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามต่อมาคือ อาหารที่สำคัญต่อการพัฒนาสมองของเด็กๆ ซึ่งทางเว็บไซต์ sikarin ได้แชร์ไว้ว่า สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมองที่สำคัญ โดยมีการศึกษาว่าสารอาหารบางอย่างจำเป็นต่อการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง ถ้าขาดสาร อาหารเหล่านี้ จะมีผลต่อการเรียนรู้ และพฤติกรรมได้ ได้แก่ การได้รับโปรตีนและพลังงานที่เพียงพอ กรดไขมัน จำเป็น โดยเฉพาะ DHA ธาตุเหล็ก (Iron) ไอโอดีน สังกะสี (Zinc) โคลีน (Choline) วิตามินบี เป็นต้น สารอาหารดังกล่าวมีผลต่อพัฒนาการทางสมองอย่างไร และพบได้ในอาหารประเภท กรดไขมันจำเป็น (Essential fatty acid) มีการศึกษาว่าการได้กรดไขมันจำเป็น omega-3 โดยเฉพาะ DHA เพียงพอ ส่งผลต่อพัฒนาการ และความฉลาดในการเรียนรู้ (IQ) ที่ดี การมองเห็น การได้ยิน รวมไปถึงสมาธิ และการยับยั้งชั่งใจ ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ มารดา โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้กรดไขมัน ในการสร้างและพัฒนา สมองมาก DHA พบมากใน ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล ซาดีน และยังพบในสาหร่ายทะเล เมล็ดเซีย ถั่วแระ วอลนัท น้ำมันพืช โดยเฉพาะน้ำมันคาโนล่า เป็นต้น เหล็ก (Iron) ผู้ปกครองควรระวังการขาดธาตุเหล็กในทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากธาตุเหล็กในทารกที่มาจาก มารดาลดน้อยลง ร่วมกับนมแม่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทารกจึงควรได้อาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ หอย พืชตระกูลถั่ว เมล็ดฟักทอง บล็อคโคลี เป็นต้น และควรตรวจเช็คภาวะโลหิต จางจากการขาดธาตุเหล็กในทารกที่อายุ 9-12 เดือน มีการศึกษาว่าเด็กอายุน้อยกว่า2 ปี ที่มีภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก ส่งผลให้ทั้งพัฒนาการกล้ามเนื้อ การเรียนรู้ IQ พฤติกรรมและสมาธิลดลง เมื่อติดตามไปในอนาคต







ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กระทู้ตอบกลับ
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน

869ดู1ตอบกลับ

Dew 2021-8-11 18:38:03
Thank you very much.
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต