หากเราเคยเรียนวิทยาศาสตร์มาเมื่อสมัยมัธยมศึกษา เราจะพอรู้เรื่องเกี่ยวกับดีเอ็นเอ DNA ว่ามีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกายของมนุษย์ แต่ใครจะไปรู้ว่า นวัตกรรมทางการแพทย์และการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยนั้น นำข้อมูลเกี่ยวกับดีเอ็นเอไปศึกษาและวิจัยต่อ ว่าสามารถส่งผลดีและส่งเสริมในเรื่องสุขภาพของมนุษย์ในเรื่องอะไรได้บ้าง เพราะแต่ละคนนั้นก็จะมี DNA ดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน
เราอาจจะเคยตั้งคำถามว่า ทำไมคนบางคนกินอาหารแทบจะทุกชนิด หรือบางครั้งไม่ต้องคุมปริมาณไขมัน แป้งและน้ำตาล แต่ก็ยังมีสัดส่วนและหุ่นที่สมส่วนเหมาะสม แต่หลายๆคนที่เพียงแค่ทานของหวานคำเดียวเท่านั้น น้ำหนักก็พุ่งสูงขึ้น รวมไปถึงสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่ไม่นาน สร้างความงุนงงและน่าสงสัยเป็นอย่างมากให้กับนักโภชนาการและการดูแลน้ำหนัก และทางเลือกที่เร็วและอาจจะต้องลงทุนในเรื่องเวลานั้นก็คือ การดูดไขมัน ที่ฟังดูแล้วอาจจะน่ากลัวและอันตราย แต่ในปัจจุบัน สถานเสริมความงามนั้นได้นำนวัตกรรมจากประเทศเกาหลีใต้ที่เป็นเสมือนผู้นำทางด้านศัลยกรรมความงาม อย่างไรก็ตาม หากเราให้ความสนใจในเรื่องดีเอ็นเอที่จะมาช่วยในการดูแลเรื่องอาหาร ซึ่งเว็บไซต์ Phyathai Hospital ได้แชร์บทความไว้ว่าเพราะร่างกายของแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวกำหนดเอกลักษณ์นั้นๆก็คือ รหัสพันธุกรรม หรือ DNA นั่นเอง ถอดรหัสไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมจาก DNA เพราะสุขภาพของเราที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ล้วนเป็นผลลัพธ์จากพันธุกรรม และพฤติกรรมทั้งสิ้น ในอดีตเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าร่างกายของเรานั้นเหมาะสมกับอาหาร หรือ การออกกำลังกายประเภทใด แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีและความรู้ทางด้านโภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomic) ก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก การตรวจ DNA จึงไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่การคัดกรองโรค หรือเพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งต่างๆอีกต่อไป แต่เรายังสามารถตรวจวิเคราะห์ DNA ที่ส่งผลต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายได้อย่างละเอียดและมีความแม่นยำสูงมากขึ้นอีกด้วย โดย DNA ในแต่ละตำแหน่งบนคู่โครโมโซมจะสามารถบอกได้ถึง NUTRIENT NEEDS ความต้องการสารอาหาร และปริมาณสารอาหารแต่ละชนิดที่ร่างกายต้องการ เช่น Vitamin B6, B9, B12, C, D, Omega3, Antioxidants FOOD AND DIETARY SENSITIVES ความไวต่ออาหารและการตอบสนองของร่างกายต่ออาหารบางชนิด เช่น ความไวต่ออาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ไขมัน กลูเต็น น้ำตาแลคโตส เกลือ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน รวมไปถึง ความไวต่อการรับรู้รส FITNESS การออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกายแบบไหนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ พละกำลังและความทนทาน รวมไปถึงการใช้ออกซิเจนและการฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกายที่เหมาะสม WELL BEING การดูแลสุขภาพองค์รวม เช่น ความเสี่ยงต่อการอักเสบ ความสามารถในการกำจัดสารพิษ การเผาผลาญพลังงาน ความเสี่ยงโรคอ้วน และการควบคุมความหิว ดังนั้น ย่อมดีกว่าเป็นแน่หากเราสามารถรู้ได้ว่ารหัสพันธุกรรมของเรามีความต้องการอย่างไร เพราะเราก็จะสามารถวางแผนโภชนาการ การออกกำลังกาย หรือ การทานอาหารเสริมแต่ละชนิดให้สัมพันธ์กับความต้องการหรือลดความเสี่ยงของร่างกายได้อย่างเหมาะสม
|