ดู: 983|ตอบกลับ: 11

7 วิธีชะลอโรคความจำเสื่อม

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 27 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 90%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x

7 วิธีชะลอโรคความจำเสื่อม

***********************************************

Posted by DMH Staff/Sty-Lib


แม้ว่าอัลไซเมอร์จะเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาหาย แต่การเฝ้าระวังก็จะช่วยป้องกัน ลดโอกาสการเป็นโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ดังคำแนะนำของ พ.อ.(พ)รศ.นพ. สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยาต่อไปนี้

ใส่ใจอาการหลงลืมตามวัย

คนปกติจะเริ่มมีอาการหลงลืมตามวัย เมื่ออายุย่างเข้า 30-50 ปี และเมื่อเวลาผ่านไป บางคนอาจจะมีอาการหลงลืมมากขึ้นจนเข้าสู่ภาวะหลงลืมที่ไม่รุนแรง โดยผลจากการทำวิจัยในปี 2546 ที่มีการเก็บข้อมูลกับคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปใน 23 จังหวัด พบว่า มีคนไทยร้อยละ 11 ที่มีภาวะนี้ รวมถึงมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มประมาณขึ้นเป็นร้อยละ 15 ในปี พ.ศ. 2563 หรือในอีก 9 ปีข้างหน้า ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคความจำเสื่อม เพิ่มมากขึ้น เพราะปกติแล้วร้อยละ 10-15 ของคนที่มีภาวะหลงลืมที่ไม่รุนแรงจะกลายเป็นโรคความจำเสื่อมในที่สุด และหนึ่งในโรคความจำเสื่อมที่พบมากที่สุดก็คือโรคอัลไซเมอร์

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมยังมีอายุน้อยลงด้วย จากสมัยก่อนที่ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมมักจะมีอายุ 70-80 ปี แต่ปัจจุบันผู้ป่วยเฉลี่ยจะมีอายุ 60 ปีปลายๆ

"ด้วยเหตุนี้จึงขอแนะนำให้คนที่สงสัยว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องความจำมาปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อเฝ้าระวัง หรือรับการรักษาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ซึ่งจะสามารถชะลอการเป็นโรคความจำเสื่อมได้”

ใส่ใจอาการซึมเศร้า

คนส่วนใหญ่มักใช้เวลา 9-10 ปี ในการพัฒนาจากอาการหลงลืมไปสู่โรคความจำเสื่อม และในระหว่างนี้ก็มีสัญญาณของโรคความจำเสื่อมให้สังเกตเห็น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คืออาการซึมเศร้า เพราะปัจจุบันมีการพบหลักฐานว่าผู้ป่วยมักมีอาการซึมเศร้า หรือเป็นโรคซึมเศร้านำมาประมาณ     2 ปี ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด ดังนั้นหากพบว่าผู้สูงอายุในบ้านเริ่มมีอาการซึมเศร้าก็ควรรีบหาทางแก้ไข ด้วยวิธีการต่อไปนี้

อย่าปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างเดียวดาย เนื่องจากปัจจุบันคนรุ่นใหม่นิยมแยกไปอยู่ตามลำพังเป็นครอบครัวเล็กๆ ทำให้ผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย ต้องใช้ชีวิตกันตามลำพังมากขึ้น ดังนั้นหากไม่หมั่นไปเยี่ยมเยียน ลูกหลานก็จะไม่มีโอกาสสังเกตเห็นอาการซึมเศร้าซึ่งเป็นสัญญาณเตือนภัยสำคัญตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ทำให้กว่าจะทราบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคความจำเสื่อมก็มีอาการมากแล้ว ที่สำคัญการใช้ชีวิตกันตามลำพังยังทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่เงียบเหงา ขาดการทำกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มสีสันให้ชีวิต หรือเพิ่มความกระฉับกระเฉงให้กับร่างกาย สมอง และจิตใจ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่ผู้สูงอายุจะเป็นโรคความจำเสื่อมมากขึ้น

อย่าให้การสื่อสารล้มเหลว คนรุ่นใหม่มักจะให้ความสนใจกับเครื่องมือสื่อสารไฮเทคอย่างสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่างๆ มากกว่าคนที่อยู่รอบๆ ตัว ตรงข้ามกับผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาในการใช้อุปกรณ์สื่อสารยุคใหม่ เนื่องจากใช้ไม่เป็น หรือใช้ไม่ได้เพราะมองไม่เห็น เพราะตัวหนังสือมีขนาดเล็ก ดังนั้นหากลูกหลานในบ้านมัวแชท เล่นบีบี ก็จะทำให้ผู้สูงอายุที่อยู่ภายในบ้านเกิดความรู้สึกแปลกแยกหรือรู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง เพราะไม่มีใครคุยด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยสุงสิง ไม่อยากดูทีวี ไม่อ่านหนังสือ นั่งเฉยๆ และเริ่มแยกตัว อันเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคความจำเสื่อมดังได้กล่าวไปแล้ว ฉะนั้นหากลูกหลานสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ก็ควรหันมาให้ความสนใจ ให้เวลา หรือพาไปเที่ยวนอกบ้าน พาไปเยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อน เพราะการได้เจอะเจอกับผู้คนจะช่วยให้อาการหงอยเหงาซึมเศร้าดีขึ้น

ถึงแม้ว่าการพูดคุยจะช่วยให้คลายเหงาได้ แต่การพูดคุยกับผู้สูงอายุก็ต้องมีเทคนิคที่ถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วอาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดอารมณ์หงุดหงิดขึ้นมาแทน โดยควรพูดด้วยประโยคสั้นๆ ก็อาจจะทำให้ผู้สูงอายุลืมไปแล้วว่า ต้นประโยคที่เราพูดไปคืออะไร และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุบางคนถามเรื่องเดิมซ้ำๆ เพราะไม่เข้าใจในสิ่งที่ลูกหลานพูด จึงต้องจำไว้ว่าการสื่อสารกับผู้สูงอายุต้องสั้น กระชับ ได้ใจความ

ใส่ใจพันธุกรรม

ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ มักจะมีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้มาก่อน ฉะนั้นคนที่มีคุณพ่อคุณแม่เป็นอัลไซเมอร์แล้วสงสัยตัวเองว่าจะเป็นหรือไม่ ก็อาจจะต้องไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่ตอนอายุ 40 ปีกว่าๆ เพราะวิทยาการแพทย์ปัจจุบันสามารถบอกได้ว่าคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่จากการตรวจเลือด ซึ่งหากพบยีนแอโพไลโปโปรตีน คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์สูง

ใส่ใจในการบริหารสมอง

การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญในการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคความจำเสื่อม โดยในส่วนของการออกกำลังกายนั้นควรทำวันละ 30 นาที และควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ใช่การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างการซักผ้า ถูบ้าน ทำกับข้าว นอกจากนี้การบริหารสมองเป็นประจำยังเป็นวิธีการช่วยป้องกันการเกิดโรคความจำเสื่อมได้ดี โดยผู้สูงอายุสามารถบริหารสมองด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

การท่องบทสวดมนต์ นอกจากการท่องบทสวดมนต์จนจำได้จะเป็นการฝึกสมองแล้ว เสียงสูงๆ เสียงต่ำๆ จากการสวดมนต์ยังทำให้สมองทำงานได้ดีด้วย รวมถึงทำให้เกิดสมาธิ

การร้องเพลง เสียงสูงๆ ต่ำๆ จากบทเพลงจะส่งผลให้สมองทำงานได้ดีเช่นเดียวกับการสวดมนต์

การฝึกความจำด้วยการหาความสัมพันธ์ อย่างเช่น หากมีคนแนะนำให้รู้จักกับคนใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อนเราควรจะฝึกจำชื่อของเขาด้วยการหาความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ เช่น คุณราตรีมีคิ้วแบบนี้ ครั้งหน้าถ้าเราเจอคนคิ้วแบบนี้ก็จะจำได้ว่าคือคุณราตรี หรือถ้าเจอป้ายโฆษณาก็อาจจะต้องหาว่าป้ายนี้มีอะไรแปลกๆ ที่น่าจดจำนอกจากชื่อสินค้า ซึ่งการฝึกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นการช่วยฝึกสมองในชีวิตประจำวันที่ดี

ใส่ใจความสะอาดและปลอดภัย

สำหรับการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ดูแลควรให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย โดยในส่วนของความสะอาดนั้นควรเน้นเรื่องความสะอาดรอบๆ ตัว และความสะอาดของร่างกาย เพราะผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักจะเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ เช่น ติดเชื้อในปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ น้ำท่วมปอด สำหรับเรื่องความปลอดภัย ก็อย่างเช่นการปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้มีความปลอดภัยมากที่สุด เช่น การหุ้มขอบโต๊ะ ขอบเตียงให้ให้ไม่มีเหลี่ยม มุม เพื่อลดความรุนแรงหากผู้ป่วยหกล้ม ปรับพื้นให้เรียบ เพื่อป้องกันการหกล้ม รวมถึงระวังเรื่องสวิทซ์ไ ของร้อน ของมีคม เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายโดยไม่คาดฝัน และหากต้องพาผู้ป่วยออกจากบ้าน เช่น ไปพบแพทย์ ก็ต้องดูแลไม่ให้ผู้ป่วยพลัดหลง และควรต้องเขียนชื่อเบอร์โทรศัพท์ของญาติใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อของผู้ป่วย เพื่อคนที่พบเห็นจะได้ติดต่อญาติได้

ใส่ใจดูแลตนเอง

ข้อนี้เป็นคำแนะนำสำหรับคนที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอับไซเมอร์ ซึ่งมักมีอาการ 3 อย่างคือ ความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน และพฤติกรรมที่คาดไม่ถึง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ดูแลอาจจะเกิดความเครียดได้ ดังนั้นผู้ดูแลจึงต้องประเมินดูว่า ตัวเองสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็ต้องหาคนช่วย หรือไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอวิธีการแก้ไข

ใส่ใจในการตรวจคัดกรอง

ปัจจุบันตามโรงพยาบาลจะมีแบบทดสอบเพื่อให้ในการคัดกรองว่าผู้ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมหรือไม่



*******************************************

     ขอขอบคุณ   นิตยสาร HealthToday ปีที่ 11, ฉบับที่ 124, กรกฎาคม 2554 หน้า 24-26.
เช็คอินสะสม: 1274 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 25 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 100%

โพสต์ 2011-9-6 18:08:59 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณนะครับ สำหรับสาระดี ๆ ที่นำมาฝาก
เช็คอินสะสม: 125 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 69%

โพสต์ 2011-9-6 20:19:35 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆที่เอามาฝาก ความจำสั้น แต่รักฉันยาวค่ะ อิอิ
เช็คอินสะสม: 22 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 38%

โพสต์ 2011-9-7 07:28:23 | ดูโพสต์ทั้งหมด
มีเวลาว่างโพสกระทู้ด้วย ขอบคุณนะครับ
เช็คอินสะสม: 87 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 9%

โพสต์ 2011-9-7 13:16:23 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณนะค่ะพี่แอนสุดสวยย
เช็คอินสะสม: 251 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 28%

โพสต์ 2011-9-7 13:23:53 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณนะค่ะ
เช็คอินสะสม: 268 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 4%

โพสต์ 2011-9-9 00:24:50 | ดูโพสต์ทั้งหมด
มักจะความจำเสื่อมทันทีที่เห็นหน้า เจ้าหนี้ แก้ไม่หายเลยอ่ะ
เช็คอินสะสม: 70 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 99%

โพสต์ 2011-9-9 11:55:46 | ดูโพสต์ทั้งหมด
มาอ่านจ้า
เช็คอินสะสม: 1020 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 6%

โพสต์ 2011-9-12 22:29:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ
เช็คอินสะสม: 116 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 20%

โพสต์ 2011-9-14 16:07:13 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณที่นำมาฝากครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP