เช็คอินสะสม: 4739 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 2 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x

·         ลักษณะของคนดี ที่น่ายกย่อง: ลักษณะของคนดี ที่น่ายกย่อง ทั้ง ๑๕ ประการนี้มีในบุคคลใด ท่านว่าเป็นมนุษย์ผู้ทรงสิริมงคล ควรภาคภูมิใจและเป็นที่นิยมเคารพนับถือของผู้รู้เห็น สามารถโปรยปรายประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นได้ดี ผลคือ ปราศจากทุกข์-โทษ-ภัย มีความเกษม
·         สัญลักษณ์หรือลักษณะของคนเลว คนถ่อย คนหินชาติ ในโลก: ลักษณะทั้ง 29 ประการเป็นต้นนี้ เป็นสัญลักษณ์ของคนเลว คนถ่อย คนหินชาติในชาติในโลก มีปรากฎอยู่ในตัวตนของบุคคลใด ท่านว่ามนุษย์อื่นไม่ควรนำตนเข้าไปเป็นมิตรและนิยมนับถือเกินไปจากรู้จักกันในฐานะเพียงเป็นเพื่อนร่วมชาติ-ร่วมโลก
·         อ่านลักษณะนิสัยของมนุษย์ตามคัมภีร์ไทย: มีศาสตร์อยู่หลากหลายประการที่บันทึกไว้เพื่ออ่านลักษณะนิสัยของมนุษย์ และที่นำมาให้ได้ทราบกันในวันนี้ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของหลักการดูนิสัยใจคอของคนแต่ละประเภท ว่าจัดอยู่ในหมวดหมู่ประเภทใด
·         สังคมอุดมคติในทรรศนะจิตวิทยา: สังคมอุดมคติในทรรศนะจิตวิทยา ในการเสนอสังคมอุดมคติ จำเป็นต้องเริ่มต้นจากความเชื่อบางประการเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่นเพลโตมีความเชื่อเบื้องต้นว่า มนุษย์มีความสามารถเข้าถึงความรู้ระดับสูงไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของปราชญ์ผู้เรืองปัญญาในการจัดการปกครอง เพื่อให้ทุกคนในสังคมมีความสงบสุข
·         ปัญหาการปกครอง: การควบคุมมนุษย์ในรูปแบบของการปกครองมีปัญหามาตลอดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แม้จะมีปราชญ์ราชบัณฑิตเสนอวิธีการต่างๆ มากมายในการปกครองเพื่อไห้เกิดความสงบสุข แต่วิธีการต่างๆ เหล่านี้ก็หาได้บรรลุผลสมปรารถนาไม่ สังคมมนุษย์ยังคงเต็มไปด้วยการทำร้ายซึ่งกันและกัน การหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ผู้ปกครองยังประสบปัญหาการไม่เชื่อฟังและการต่อต้าน จากผู้ถูกปกครอง และผู้ถูกปกครองยังประสบปัญหาการกดขี่ ข่มขู่ และขูดรีดจากผู้ปกครอง
·         การปกครอง: การปกครองหมายถึงการควบคุมให้คนปฏิบัติตามระเบียบ แบบแผนที่กำหนดไว้ การปกครองมีในทุกระดับของหน่วยสังคมนับตั้งแต่พ่อ-แม่ปกครองลูก ครูปกครองนักเรียน นายจ้างปกครองลูกจ้าง จนถึงรัฐบาลปกครองประชาชน
·         การควบคุมพฤติกรรมมนุษย์: มนุษย์พยายามควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันเองเมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นหน่วยสังคม หน่วยสังคมมีขนาดแตกต่างกัน ตั้งแต่หน่วยเล็กที่สุดคือ 2 คน ถึงหน่วยใหญ่ที่สุด มีคนนับล้าน ในแต่ละหน่วยสังคม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยเล็กหรือหน่วยใหญ่ พฤติกรรมของบุคคลหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบพฤติกรรมของบุคคลอื่นๆ และในทางกลับกันพฤติกรรมของแต่ละบุคคลย่อมเป็นผล ของพฤติกรรมของบุคคลอื่นๆ ด้วย การมีผลซึ่งกันและกันนี้เรียกว่า การปฏิสัมพันธ์ พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ จึงเป็นการส่งผลและรับผลซึ่งกันและกัน เป็นการขึ้นแก่กัน
·         การปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม: การปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มนุษย์ทุกคนแสดงพฤติกรรมการนำและการตามตลอดเวลา อยู่บ้านตื่นเช้าขึ้นมาก็พูดกับแม่ครัวเรื่องกับข้าวสำหรับวันนั้น พูดกับลูกให้ทำสิ่งโน้นสิ่งนี้ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการนำ ผู้แสดงพฤติกรรมก็เป็นผู้นำ ไปถึงที่ทำงานพูดกับหัวหน้างานของตน และพิจารณาทำตามที่ หัวหน้างานได้พูดไว้ พฤติกรรมนี้เป็นการตาม และผู้แสดงพฤติกรรมก็เป็นผู้ตาม
·         การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล: การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล พฤติกรรมสังคมเป็นพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างบุคคล มนุษย์อยู่เป็นสังคม การกระทำของมนุษย์แต่ละคนจึงสัมพันธ์กับการกระทำของคนอื่นๆ ในสังคม การปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อการกระทำของคนหนึ่งมีผลกระทบต่อผลกรรมที่อีกคนหนึ่งจะได้รับ
·         ทฤษฎีอธิบายความชอบพอ: ทฤษฎีอธิบายความชอบพอ ในกรณีที่เป็นคนเพิ่งรู้จักกัน การแลกเปลี่ยนที่สร้างความพอใจและรู้สึกว่ายุติธรรมดีจะทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการทุ่มเทความพยายามมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้รับแรงเสริมมากยิ่งขึ้น กลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน และถ้ามีความพอใจและรู้สึกว่ายุติธรรมหรือคิดว่าจะคุ้มค่า ก็อาจจะทุ่มเทลงทุนเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้ได้รับแรงเสริมเพิ่มขึ้นอีกจนกลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนรัก และถ้าหากมีความพอใจก็อาจจะทุ่มเททั้งเนื้อทั้งตัวในที่สุด

ขอขอบคุณ healthcarethai
กระทู้ตอบกลับ
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน

360ดู2ตอบกลับ

เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

2013-7-20 17:22:43
ขอบคุณมากน่ะครับที่นำสาระดีๆมาฝาก
เช็คอินสะสม: 147 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

2024-6-28 06:16:16 จากอุปกรณ์พกพา
ขอบคุณครับ
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต