สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
·
บุคลิกภาพฝืนสังคม: บุคลิกภาพฝืนสังคม (Antisocial Personality) เป็นความวิปลาสทางบุคลิกภาพประเภทหนึ่ง เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า บุคลิกภพจิตทราม (Psychopathic Personality) อาการสำคัญของบุคลิกภาพฝืนสังคมคือ การกระทำที่ขัดกับศีลธรรมจรรยาของสังคม ตลอดจน กฎหมายบ้านเมือง โดยปราศจากความรู้สึกว่าได้กระทำผิดหรือเกรงกลัวต่อผลทางลบที่จะเกิดตามมา ไร้ความรับผิดชอบ ไม่สามารถควบคุมความอยากของตน ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางและไม่อาทรในความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น อารมณ์ไม่มั่นคง ไม่เรียนรู้จากประสบการณ์ และการลงโทษ ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ [...] · ความวิปลาสทางอารมณ์: ความวิปลาสทางอารมณ์มีสาเหตุจากทั้งพันธุกรรมและการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันกับความวิปลาสทางประสาทและความวิปลาสจิตเภท · ความวิปลาสจิตเภท: สาเหตุของความวิปลาสจิตเภท มีทั้งที่เกิดจากพันธุกรรมและการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกันกับสาเหตุของความวิปลาสทางประสาท · ความวิปลาสทางประสาท: ความวิปลาสทางประสาท (Neurotic Disorders) เป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า โรคประสาท (Neuroses) อาการสำคัญของโรคประสาทคือ ความวิตกกังวล (Anxiety) และอาการอื่นๆ ที่เป็นผลของความวิตกกังวล · การจำแนกพฤติกรรมวิปลาส: การจำแนกประเภทว่าพฤติกรรมวิปลาสมีกี่ประเภทและมีอะไรบ้าง การจำแนกประเภทพฤติกรรมวิปลาสยังเป็นปัญหามาก ปัจจุบนยังไม่มีระบบจำแนกประเภทเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเช่นเดียวกันกับระบบจำแนกพืชและสัตว์ในชีววิทยา แต่ก็มีระบบจำแนกอยู่ 2 ระบบที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ระบบแรกคือระบบจำแนกโรคต่างๆ ขององค์การอนามัยโลก รู้จักกัน ในชื่อ ICD-9 (ย่อจาก International Classification of Diseases, Ninth Revision) กลุ่มที่ [...] · พฤติกรรมวิปลาส: พฤติกรรมอปกติที่เป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิต มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นหลายชื่อ การจะเรียกชื่อใดขึ้นอยู่กับความเชื่อของผู้เรียก ผู้ที่เชื่อว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ป่วยเป็นโรคก็จะเรียกว่า พฤติกรรมพยาธิ (pathological Behaviors) ผู้ที่เชื่อว่า พฤติกรรมอปกติที่เป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิตเป็นพฤติกรรมที่คลาดเคลื่อนจากพฤติกรรมปกติ เป็นพฤติกรรมที่ผันแปรไปในทางเลวลง ก็จะเรียกพฤติกรรมเหล่านี้ว่า พฤติกรรมวิปลาส (Disordered Behaviors) · เหตุแห่งเชาวน์ปัญญา: เหตุแห่งเชาวน์ปัญญา ข้อมูลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบเชาวน์ปัญญาของคนที่มีระดับอายุต่างๆ กัน พบว่าเชาวน์ปัญญาของคนที่มีอายุมากกว่า 20-30 ลดน้อยลงเรื่อยๆ ตามอายุ และได้อธิบายว่าเป็นเพราะคนที่มีอายุมากกว่า เกิดในสมัยที่สังคมยังพัฒนาน้อยกว่า จึงมีโอกาสในการเรียนรู้น้อยกว่า ข้อมูลนี้แสดงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมในการกำหนดเชาวน์ปัญญาของ คนเรา · ผลแห่งเชาวน์ปัญญา: ผลแห่งเชาวน์ปัญญาที่มีต่อชีวิต และสังคมเห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีเชาวน์ปัญญาอยู่ในระดับต่ำมากๆ และสูงมากๆ ผู้มีเชาวน์ปัญญาในระดับต่ำมากๆ มีปัญหาในการดำรงชีวิต บางคนไม่เพียงแต่ไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพตนเองเท่านั้น หากยังไม่สามารถประกอบกิจส่วนตัว เช่น กินข้าว อาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าเอง บุคคลเหล่านี้จึงน่าสงสารและต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่นตลอดชีวิต ขอขอบคุณ healthcarethai |