เช็คอินสะสม: 4680 วัน เช็คอินต่อเนื่อง: 21 วัน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%
|
สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
ตอนนี้...ไม่ว่าจะหันหน้าไปทางไหน ใครๆ ก็กำลังหันมาสนใจเรื่องของโรคอ้วนกันทั้งนั้น โดยเฉพาะภาครัฐ ที่เริ่มหันมาสนใจเรื่องโรคอ้วนในวัยเด็ก ที่จะต่อเนื่องไปถึงโรคอ้วนในผู้ใหญ่มากขึ้น หลังจากพบว่า ขนมคบเคี้ยวทั้งหลาย ทำให้เกิดโรคอ้วนในหมู่เด็กมากขึ้นกว่าในอดีต
เพื่อให้ไม่ตกสมัย และเป็นการชักจูงให้คุณๆ กลับมาสนใจในรูปร่างและน้ำหนักของตัวเองมากขึ้น จึงอยากจะชวนให้ทุกคนลองมาทดสอบดูซิว่า คุณอ้วนเกินไปหรือเปล่า
วิธีการทดสอบ ที่จริงแล้วก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่นิยมกันมากที่สุด คือการใช้น้ำหนัก ส่วนสูง มาคำนวณเพื่อประเมินผล หาค่าดัชนีมวลของร่างกาย และการวัดปริมาณไขมันในร่างกาย โดยใช้เครื่องมือวัด แต่เอาเป็นว่า คำนวณกันง่ายๆ จากน้ำหนักและส่วนสูงเองก็แล้วกัน
น้ำหนักปกติ หมายถึง น้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับความสูง เป็นสูตรที่ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง คือความสูง - 100 - 10% เช่น ถ้าคุณสูง 170 เซนติเมตร ก็เอา 170-100-10% = 63 กก. นั่นคือน้ำหนักปกติ
ส่วนค่าดัชนีมวลของร่างกาย คำนวณได้ด้วยการเอาน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งค่าของดัชนีมวลของร่างกายควรอยู่ในช่วง 18.5-22.9 เช่น ถ้าคุณหนัก 70 กก. สูง 1.75 ม. ก็นำเอา 70 หารด้วย (1.75) ยกกำลังสอง = 22.85 ก็ถือว่าน้ำหนักคุณปกติมาตรฐาน
บางครั้งคุณรู้สึกอึดอัด เพราะน้ำหนักตัวเพิ่ม บางทีถึงขั้นสวมเสื้อผ้าเก่าๆ ไม่ได้ ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิด คิดว่าเป็นโรคอ้วน มันไม่ใช่เสมอไปนะครับ เพราะถ้าน้ำหนักที่คำนวณได้มากกว่าที่ควรเป็น 10% แต่ไม่เกิน 20% จัดว่าน้ำหนักตัวปกติก็จริง แต่ก็ยังไม่ถึงกับอ้วน เช่น ถ้าสูง 170 ซม. น้ำหนักตัว 70 กก. อันนี้ถือว่าน้ำหนักตัวเกิน แต่ยังไม่อ้วน ถ้ามากกว่านี้ ถึงจะเข้าข่ายอ้วน เช่น ในความสูง 170 ซม. แต่น้ำหนักสุงถึง 75-80 กก. เป็นต้น
ลองคำนวณดูก่อนดีกว่าครับ อย่าเพิ่งไปกังวลกับการลดน้ำหนัก และถ้าคุณยังไม่อ้วน น้ำหนักตัวปกติ ก็พยายามรักษาความเป็นปกตินั่นไว้ให้เหนียวแน่น อย่าให้ไขมันมาอัดอยู่ที่พุงคุณได้เป็นอันขาด เสียบุคคลิกและความมั่นใจแย่ครับ
ขอขอบคุณ ยูฮฮู
|
|