เช็คอินสะสม: 4739 วัน เช็คอินต่อเนื่อง: 2 วัน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%
|
หลายต่อหลายครั้งที่คนเราหายใจผิดวิธีโดยไม่รู้ตัวมาก่อน การหายใจที่ถูกต้องและถูกวิธีนั้น นอกจากจะช่วยให้เรามีสุขภาพกายที่ดี และมีสุขภาพจิตที่ดีแล้ว ยังช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย
แทบไม่น่าเชื่อว่า การหายใจที่ถูกต้อง เป็นวิธีที่ช่วยลดความเครียด เพิ่มพลังในการทำงาน ให้เราเป็นคนมีสุขภาพที่ดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพมักจะแนะนำเรื่องการลดน้ำหนัก รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งจะเป็นวิธีง่ายๆที่ช่วยลดเรื่องความเครียดได้
แต่หารู้ไม่ว่า วิธีที่ง่ายๆในการช่วยคลายเครียด ซึ่งมักจะไม่มีผู้ใดคิดถึงมาก่อนเลยก็คือ การหายใจอย่างถูกต้อง
จากการศึกษาพบว่า การเรียนรู้ถึงการหายใจอย่างถูกวิธี จะช่วยให้มีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถช่วยรักษาเชื้อโรคและความเจ็บป่วยโดยตรงได้ แต่เทคนิคการหายใจจะช่วยควบคุมเรื่องความกระวนกระวายใจ ความเครียด ความวิตกกังวลต่างๆ
นอกจากนี้ การหายใจอย่างถูกต้องจะช่วยเรื่องของระบบประสาท การมีสมาธิ มีจิตใจจดจ่อและสามารถควบคุมความเครียดที่เกิดขึ้นได้
• การฝึกการหายใจที่ถูกวิธี มีดังนี้
ความแตกต่างระหว่างการหายใจแบบปกติธรรมดาและการหายใจแบบลึก มีดังนี้
การหายใจแบบปกติธรรมดานั้นมาจากปอด โดยใช้การควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก การหายใจแบบนี้จะช่วยให้ออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ซึ่งหัวใจจะทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปสู่เซลล์ต่างๆของร่างกายอีกทีหนึ่ง
ในทางตรงกันข้าม การหายใจแบบลึกนั้น เป็นการหายใจอย่างช้าๆลึกๆลงไป ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อหน้าอก แต่ใช้กระบังลมซึ่งเป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่ใต้ปอด โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือส่วนล่าง กลาง และส่วนบน
การฝึกหายใจแบบลึกนี้สามารถฝึกทำได้ทุกที่ โดยการนั่งตัวตรง ให้บ่าได้รับการผ่อนคลาย หายใจเข้าลึกๆผ่านทางจมูก ยกกระบังลมขึ้นให้อากาศบริสุทธิ์เข้าในส่วนล่าง ขยายเข้ามาในส่วนกลางและส่วนบนจนเต็มบริเวณหน้าท้อง หน้าอก จนถึงบ่าไหล่ หากทำอย่างถูกต้องส่วนบริเวณอกจะยกขึ้น ท้องจะโป่งออก และจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของกระบังลม
หายใจออกทางปากอย่างช้า ๆ นับให้ถึง 5 ต้องหายใจเอาลมออกให้หมด เพราะเราจะไม่สามารถหายใจเข้าได้อย่างเต็มที่หากปอดยังเก็บลมบางส่วนไว้ ลองฝึกทำกิจกรรมนี้ประมาณ 5-10 ครั้ง หากได้รับการฝึกฝนการหายใจแบบลึกบ่อยๆ จะทำให้ร่างกายหายใจแบบลึกนี้ได้โดยไม่ต้องคิด
การหายใจอย่างลึกนี้จะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนได้มากเพียงพอในครั้งหนึ่งๆ ที่จะขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเสียออกจากร่างกายได้ หากทำการหายใจอย่างถูกต้องจะทำให้มีสุขภาพที่ดี ความดันโลหิตลดลง การเต้นของหัวใจช้าลงและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยให้จิตใจเกิดความสงบ ช่วยลดการนอนไม่หลับอีกด้วย
เราสามารถเรียนรู้เทคนิคการหายใจแบบลึกได้จากการอธิษฐานอย่างมีสมาธิจดจ่อ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกบางประเภท การเล่นโยคะ เป็นต้น ซึ่งประเทศของเรารู้จักกันดีในเรื่องของการกำหนดลมหายใจ โดยการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตใจและจิตวิญญาณ โดยผ่านพลังของการหายใจหรือจิตที่แน่วแน่ในการอธิษฐาน
การหายใจเข้าลึกๆ ควบคุมลมหายใจให้เป็นจังหวะช้าๆ ให้ร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกัน จดจ่อในสิ่งที่กำลังนึกถึง เข้าและออก สามารถพูดออกเป็นคำพูดด้วยในเวลาหายใจออก เช่น คำว่า สุขสบาย
ในขณะที่การหายใจที่ผิดส่งผลต่อสุขภาพจิต สุขภาพจิตก็ส่งผลต่อการหายใจเช่นเดียวกัน แต่ใครจะรู้ว่า การหายใจที่ถูกวิธีทำอย่างไร สิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องคิด หลายคนมีการหายใจแบบตื้นๆ ซึ่งเกิดจากความเครียด และความวิตกกังวล หลายคนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความเครียดมักจะกลั้นหายใจโดยไม่รู้ตัว
การหยุดหายใจชั่วคราวจะทำให้เกิดปัญหาสะสมต่อเนื่อง การหายใจแบบไม่ลึกจะทำให้ร่างกายโหยหาออกซิเจน ซึ่งทำให้พลังงานลดลง มีปัญหาการแก่ก่อนวัย มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และนำมาถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆอีก
เมื่อเวลาเราทำงานบ้าน กวาดบ้าน ซักผ้า ทำงานที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ ลองใช้เทคนิคการหายใจอย่างง่ายๆ และการหายใจที่ลึกๆนี้ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่สำคัญคือการหายใจอย่างถูกต้องนั้น ช่วยสร้างชีวิตให้ยาวนาน
• ประโยชน์ของการหายใจที่ถูกวิธี
ประโยชน์สำคัญ 2 ประการในการหายใจที่ถูกวิธี คือ
1. คนเรามีชีวิตอยู่ได้เพราะอากาศที่เราหายใจ การหายใจจะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจน และออกซิเจนจะช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ
การหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้ร่างกายได้รับการเผาผลาญอาหารที่เหมาะสม การได้รับสารอาหารที่เพียงพอจะช่วยในการควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆของร่างกาย ลดความอ่อนเพลีย ช่วยต่อสู้กับความกดดันในสภาวการณ์ต่างๆได้ และยังช่วยควบคุมอารมณ์ เช่น เมื่ออยู่ในภาวะเศร้าเสียใจได้ด้วย
2. การหายใจช่วยให้ร่างกายกำจัดสารพิษและของเสียต่างๆ การขาดออกซิเจนจะทำให้ร่างกายได้รับความกระวนกระวาย อ่อนเพลีย เกิดความวิตกจริต ขาดสมาธิ ไม่สามารถจำอะไรได้ และขาดการควบคุมอารมณ์ เป็นต้น
ขอขอบคุณ สารธรรมลีลา ฉบับที่ 151 กค 56 |
ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
|