5. ขั้นตอนดับบุหรี่
เมื่อคุณตั้งใจแล้วว่า คุณจะเลิกสูบบุหรี่แน่นอนแล้ว และกำลังมองหาแรวทางการเลิกบุหรี่ที่เหมาะสมกับคุณ ลองมาดู 5 ขั้นตอนของการเลิกสูบบุหรี่ คือ
- กำหนดวันที่แน่นอนที่คุณจะ “เลิกสูบบุหรี่” ให้ได้
- เขียนเหตุผลในการที่คุณควรที่จะ “เลิกสูบบุหรี่ เอาไว้ในสมุดบันทึก เพื่อหยิบขึ้เนมาอ่านทุกครั้งที่คุรเริ่มลังเล
- ฟิตร่างกาย งดดื่มกาแฟ เพื่อให้ร่างสามารถนอนหลับได้หลังจากเลิกบุหรี่แล้ว
- ผ่อนคลายความเครียดด้วยการออกกำลังกาย และดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำสมุนไพร เพื่อผ่อนคลาย
- หากมีอาการไอ รักษาอาการไอด้วยยาแก้ไอ หรือยาอม
เมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่ได้สักพักหนึ่ง น้ำหนักคุณจะพิ่มากขึ้น หลายคนกลับไปสูบบุหรี่อีก เพราะเอาสาเหตุนี้มาใช้เป็นข้ออ้าง แต่ความเป็นจริงแล้ว มีหลายวิธีที่จะควบคุมน้ำหนักลงได้ น้ำหนักที่เกินมาไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด
คนส่วนใหญ่สูบบุหรี่เพราะสาเหตุ “เครียด” จนทำให้ติดกลายเป็นนิสัย ความเครียดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียว แต่หากเครียดแล้วสูบบุหรี่ ก็เป็นแนวทางที่จะยิ่งเสริมให้ความดันเพิ่มมากขึ้นไปอีก ไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายทั้ง 2 ประการ
เชื่อหรือไม่ว่าผุ้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ หลังจากที่กำหนดแผนการสูบบุหรี่แล้ว กลับมาสูบบุหรี่ใหม่ภายใน 3 เดือนแรกหลังจากที่งดสูบบุหรี่ไปได้ เหตุผลอาจมาจากการที่เข้าชื่อมั่นว่า เขาสามารถทำได้ และผลของความเชื่อนั้นได้รับการพิสูจน์แล้ว ว่าเขาทำได้จริง จึงซะล่าใจว่ากลับมาสูบบุหรี่ใหม่ก็ได้ไม่เป็นไร เพราะว่า “สูบได้ก็เลิกได” แนวคิดนี้ไม่จริง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดเช่นนี้ รับเปลี่ยนแปลงความคิดคุณเสีย เพราะว่า ท้ายที่สุดแล้ว คุณจะพบว่า ตัวคุณเองยังคงสูบบุหรี่อยู่ ทั้งที่รู้ว่าตัวเองทำได้
หากว่าความตั้งใจของคุณครั้งแรกไม่ประสบผลสำเร็จ อย่าเพิ่งท้อถอยให้คุณกลับไปเริ่มกระบวนการ “เลิกบุหรี่” ใหม่ให้เร็วที่สุด ทำซ้ำๆ เช่นนี้ จนกว่าคุณจะเลิกได้สำเร็จ อย่าลืมว่าเป้าหมาย คือการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จ ไม่ใช่การทำไห้ได้เพียงครั้งเดียว
หากคุณไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วยตัวเองจริงๆ มีวิธีการบำบัดเพื่อการเลิกสูบบุหรี่อีกหลายแนวทางเช่น การใช้สารทดแทนนิโคติน ยาเลิกบุหรี่ หรือนวัตกรรมใหม่ เช่น น้ำยาหยดเพื่อลดปริมาณนิโคตินจากบุหรี่แต่ละมวน คุรสามารถปรึกาแพทย์ หรือโทรสายดวนเพื่อการเลิกบุหรี่ 1600 แต่ขอย้ำอีกครั้งว่าบุหรี่นั้นเกี่ยวพันกับความโลหิตสูงโดยตรง แถมพกด้วยโรคร้ายต่างๆ มากมาย ใน 3 พฤติกรรมนี้ที่คุณเลี่ยงให้ได้มากที่สุด คือ บุหรี่นั้นเอง
นอกจากบุหรี่แล้วรองลงมาคือ แอลกฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ หรือไวน์ หากคุณเป็นคนที่ติดเครื่องดื่มแอลกอออล์อย่างหนัก จำไว้ว่า การงดดดยเด็ดขาด หรือ “หักดิบ” นั้นอัตรายต่อร่างกายอย่างมากเพราะความดันโลหิตของคุรจะเพิ่มสูงขึ้น จนอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ให้พยายามลดปริมาณการดื่มลงเรื่อยๆ โดยใช้วิธีกำหนดเป้าหมายเช่นเดียวกับการเลิกบุหรี่
การเลิกเหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจจะทำให้ยากกว่าการเลิกบุหรี่ เพราะจากผลวิจัย พบว่ามีกลุ่มคนที่จัดเป็นพวกติดเหล้าเพียง ร้อยละ 4 เท่านั้น ที่สามารถเลิกเหล้าได้ด้วยตัวเอง แล้วมีสติกกลับคืนมาได้เหมือนเดิมภายในเวลา 1 ปี แต่หากได้รับการบำบัดรักษา จะมีดอกาศเลิกเหล้าเพิ่มมากขึ้นถึง ร้อยละ 50 ดังนั้นหากคุณเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ พวกที่ติดเหล้าแล้วได้รับการทำกลุ่มบำบัดมีโอกาสเลิกได้มากถึงร้อยละ 90
ส่วนชา กาแฟ นั้นมี คาเฟอีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งทำให้คุณ “ติด” ปริมาณคาแฟอีนในกาแฟ 1 แก้ว มีแต่ปริมาณตั้งแต่ 100 มิลลิกรัม จนถึง 300 มิลลิกรัม แล้วแต่ปริมาณและชนิดของกาแฟ ดังนั้น ยิ่งจำนวนแก้วมาขึ้นปริมาณคาเฟอีนย่อมมากขึ้นตามไปด้วย วีการที่คุณจะเริ่มลด “คาเฟอีน” ในรางกาย ทำได้ 2 ทาง คือ ลดปริมาณกาแฟที่ใส่ลงไปในแต่ละแก้ว จาก 2 ช้อนชา อาจเหลือ 1 ช้อนชา เหลือครึ่งช้อนชา และลดความถี่ในการดื่มกาแฟลง จาก เช้า – เย็น เหลือ เช้าอย่างเดียว แล้วค่อยทดแทนด้วยเครื่องดื่มที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากขึ้น เช่น นมพร่องมันเนยเวลาเช้า หรือหากคุณเริ่มทำกิจกรรมการออกกำลังกายตอนเช้า เวลาที่เคยเป็นเวลากาแฟ ก้จะเปลี่ยนเป้นเวลาออกกำลังกาย ความรู้สึกอยากดื่มกาแฟตามกิจนิสัยจะหายไป
พฤติกรรมที่ทำเป็นประจำทั้ง 3 ประการนั้น จัดอยู่ในกลุ่มของการ “ติด” ทั้งติดสารที่ข้างใน และติดใจบรรยากาศความเพลิดเพลิน ติดจนต้องกระทำเป้นประจำ การจะเลี่ยง ลด ละเลิกได้ จำเป็นต้องมีสติ พิจารณาให้ถ้วนทั่วว่าคุณ “ติด” สิ่งเหล่านั้นเพราะอะไร แล้วทำไมคุณจึงสมควรเลี่ยง และเลิก
ไม่มีอะไรยากไปกว่าที่คุณตั้งใจ
และไม่มีอะไรที่คุณจะทำไม่ได้หากคุณเชื่อมั่น
ที่มา : นิตยสารใกล้หมอ