ดู: 235|ตอบกลับ: 2

โรคผื่นแพ้สัมผัส (allergic contact dermatitis)

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
โรคผื่นแพ้สัมผัส (allergic contact dermatitis)

โรคผื่นแพ้สัมผัสเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยมากโรคหนึ่ง  พอในเพศชายและเพศหญิง  และทุกอายุ  ถึงแม้ว่าในผู้สูงอายุมากๆ  จะมีโอกาสเกิดโรคน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว

โรคผื่นแพ้สัมผัสคืออะไร

                เป็นโรคที่เกิดจากการแพ้สารหรือวัตถุที่สัมผัสกับร่างกายภายนอกทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ  คันบริเวณที่ถูกสารนั้นๆ

สารที่ทำให้แพ้เป็นอย่างไร

                สารต่างๆ  ทั้งในรูปของแข็งของเหลวสามารถทำให้เกิดการแพ้ได้ทั้งสิ้น  สารบางอย่างอาจ  แพ้ง่ายกว่าสารบางอย่าง  เช่น  สารที่ทำด้วยโลหะชนิดนิกเคิล (nickle)  มีโอกาสแพ้ได้สูง  แต่สารที่ทำจาก  พลาสติกมักไม่ค่อยเกิดอาการแพ้  สารที่ทำให้แพ้อาจมีขนาดเล็ก  เช่น  ผงปูนซีเมนต์  เกสรดอกไม้หรืออาจเป็นของขนาดใหญ่เช่นรองเท้า  ถุงมือ  เป็นต้น

สารที่ทำให้แพ้นั้นต้องใช้มานานเท่าใดจึงแพ้

                สารบางอย่างใช้มานานแล้วเพิ่งแพ้ก็ได้  หรือสารบางอย่างใช้มาไม่นานก็เกิดการแพ้ก็ได้  ปกติสารที่ทำให้เกิดการแพ้ครั้งแรกนั้นต้องสัมผัสผิวหนังมานาน  10 – 14 วันขึ้นไปจึงจะเกิดผื่นแพ้  แต่ถ้าเคย  แพ้สารนั้นแล้ว  เมื่อถูกสารนั้นใหม่ก็จะเกิดผื่นแพ้ได้เร็วภายใน 1 – 3 วัน  เมื่อแพ้สารใดแล้วก็จะแพ้ไปตลอด

สารอะไรบ้างที่แพ้บ่อย

                สารแพ้บ่อย  เช่น  โลหะนิเคิล (nickel),น้ำหอม (fragrance mix, balsum of Peru), สารกันบูดที่ใส่ในครีมหรือเครื่องสำอาง ยาง(thimerosal), สารโครเมต (chromate) ที่อยู่ในผนังปูนซีเมนต์, เครื่องหนัง  และยาปฎิชีวนะชนิดนีโอมัยซิน (neomycin) ซึ่งผสมอยู่ในยาทาฆ่าเชื้อหรือยาหลอดตาบางชิด เป็นต้น

อาการแสดงของผื่นแพ้สัมผัสเป้นอย่างไร

                ผื่นในระยะแรกมีลักษณะเป็นผื่นแดง  บวม  คัน  อาจพองเป็นตุ่มน้ำใสเมื่อตุ่มแตก  มีน้ำเหลืองไหลออกมา  เมื่อน้ำเหลืองแห้งก็จะเป็นสะเก็ดน้ำเหลืองติดอยู่กับผื่น  ผื่นจะเกิดบริเวณที่ถูกสัมผัส  กับสิ่งแพ้  เช่น แพ้สายนาฬิกาก้จะเกิดแถวข้อมือ  แพ้รองเท้าก็เกิดบริเวณรองเท้า  เป็นต้น  เมื่อเป็นโรคนี้  เป็นเวลานาน  ผื่นมักแห้ง  หนาขึ้น  สีคล้ำเนื่องจากการเกา  บริเวณแถวฝ่ามีเท้า  อาจพบตุ่มน้ำใสอยู่ลึก  เมื่อเจาะออกจะมีน้ำใสๆ  ออกมามีอาการคัน  ผื่นแพ้สัมผัสนี้ตอนแรกเกิดบริเวณที่ถูกสารสัมผัสกับร่างกาย  แต่เมื่อเป็นรุนแรงขึ้นผื่นมักกระจายไปบริเวณอื่นที่ไม่ได้สัมผัสกับสารที่แพ้  ผื่นอาจกระจายเป็นตุ่มแดงคันทั่วๆ  ตัวได้นอกจากอาการคันผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการผิดปกติอื่นไม่มีไข้

เป็นที่นิ้วมือ

ผื่นหายเองได้หรือไม่

                ถ้าไม่ถูกสารที่แพ้แล้วผื่นก็จะค่อยๆ  ดีขึ้นเอง  อาจเหลือรอยดำบริเวณที่เป็นอยู่อีกระยะหนึ่ง  แล้วจางหายไปแต่ถ้าถูกสารที่แพ้ใหม่ผื่นก็จะกลับเป็นขึ้นมาใหม่ได้

                ถ้าผื่นขึ้นอยู่เรื่อยๆ  โดยไม่ทราบว่าแพ้อะไร  แพทย์จะช่วยเหลือได้อย่างไร

การทดสอบผิวหนังชนิดแพทเทสท์

                ในกรณีที่ผู้ป่วยมีผื่นขึ้นอยู่เรื่อยๆ  โดยไม่ทราบว่าตนเองแพ้อะไรนั้น  แพทย์ผิวหนังอาจทำการทดสอบผิวหนังที่เรียกว่าแพทเทสท์ (patch test)  ซึ่งจะกระทำได้ต่อเมื่อรักษาผื่นแพ้ยุบหายเร็ว  วิธีการทำคือแพทย์จะใส่น้ำยามาตรฐานที่รู้ว่าคืออะไร  หยดลงในหลุมอลูมิเนียมกลมๆ  เล็กๆ  ซึ่งติดอยู่กับพลาสเตอร์เหนียวน้ำยามาตรฐานมีประมาณ 30 – 40 ชนิด  แล้วติดพลาสเตอร์เหนียวนี้กับหลังผู้ป่วย  ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน  ดดยที่ผู้ป่วยต้องระวังอย่าให้พลาสเตอร์นี้หลุดออก  เมื่อถึงวันอ่านผลแพทย์จะดึงพลาสเตอร์  ออกแล้วอ่านผลว่าผู้ป่วยแพ้สารอะไร  สารนั้นมีอยู่ใน  อะไรบ้าง  ผุ้ป่วยต้องเลี่ยงไม่ให้ไปถูกสัมผัสกับสิ่งของอะไรบ้าง

ผื่นแพ้สัมผัสรักษาได้อย่างไร

                เมื่อมีผื่นผิวหนังอักเสบ  แพทย์จะให้ยาทาเฉพาะที่ประเภทสเตียรอยด์ (Topical cortico – steroid)  ซึ่งอาจอยู่ในรูปของครีมเหลว  น้ำใส  หรือขี้ผึ่ง  ขึ้นอยู่ผื่นเป็นแบบใด  และขึ้นบริเวณใดของร่างกาย  ในกรณีที่มีน้ำเหลืองไหลอาจมีน้ำยามาให้ล้างแผลก่อนทายา  และอาจมียารับประทานแก้แพ้  และแก้  คันร่วมด้วย  แต่ที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงสารที่แพ้  และแก้  คันร่วมด้วย  แต่ที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงสารที่แพ้  มิฉะนั้นผื่นอาจไม่ดีขึ้นหรือหลับเป็นกลับใหม่ได้

ยาทาสเตียรอยด์มรผลเสียหรือไม่

                ยาทาสเตียรอยด์  เป็นยาที่ดีรักษาโรคนี้ได้ผลดี  แต่ก็มีผลเสีย  ผู้ป่วยไม่ควรทายานานๆ  เมื่อ  ผื่นดีขึ้นก็ควรหยุดยาตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่าซื้อยาทาเอง  ไม่ควรทายานานเพราะจะเกิดผลเสียต่อผิวหนัง  เช่น  ทำให้ผิวบางลง  สีผิวหนังจางลงมีสิวขึ้นบริเวณทายา  ผื่นอาจติดเชื่อและมีหนองได้ง่าย  และอาจมีเส้นเลือดบริเวรนั้นขยายตัวใหญ่ขึ้น

โรคนี้หายขาดหรือไม่

                ถ้าไม่ถูกสารที่แพ้อีกก็ไม่มีผื่นขึ้นใหม่  แต่ถ้าไปถูกสารที่แพ้อีกผื่นก็จะเห่อกำเริบขึ้น  ถ้าถูกบ่อยผื่นอาจลามไปทั่วตัวได้

                ข้อมูลจาก : รศ.นพ.วิวัฒน์  ก่อกิจ  สาขาตจวิทยา  ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Dew
เช็คอินสะสม: 4680 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 21 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2013-8-6 22:05:09 | ดูโพสต์ทั้งหมด
thank you
เช็คอินสะสม: 147 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2024-7-1 05:51:22 จากอุปกรณ์พกพา | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP