ดู: 589|ตอบกลับ: 1

ทะเลบัน (Thale Ban)

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x


ทะเลบัน (Thale Ban)

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอควนโดน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ติดชายแดนประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย ทะเลบันเป็นชื่อของบึงน้ำจืดขนาด ใหญ่เนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กลางหุบเขาจีนและเขามดแดง ซึ่งเข้าใจว่าเกิดขึ้นจากการยุบตัวของพื้นดิน น้ำในบึงเกิดจากต้นน้ำที่ออกมาจากผนังเขา บริเวณโดยรอบประกอบด้วยป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงสลับ ซับซ้อน น้ำตก ถ้ำ และธรรมชาติที่ส่วยงามยิ่ง อุทยานแห่งชาติทะเลบันมีเนื้อที่ประมาณ 196 ตารางกิโลเมตร หรือ 122,500 ไร่
ที่ตั้งและอาณาเขต
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย อยู่ในอำเภอควนโดน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 25 ลิปดา ถึง 6 องศา
48ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 05 ลิปดา ถึง100 องศา 13 ลิปดาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ จดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดนงาช้าง
ทิศตะวันออก จดอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ จดรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย
ทิศ่ตะวันตก จดอำเภอเมือง จังหวัดสตูล


ขนาดพื้นที่122500.00 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีเนื้อที่ทั้งหมด 196 ตารางกิโลเมตร ทางด้านตะวันออกเป็นภูเขาหินแกรนิตและแกรโนไดโอไรต์ ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงจึงอุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้ที่ขึ้นอย่างหนาแน่น แต่จะมีการสึกกร่อนพังทะลายของดินได้ง่าย เนื่องจากมีความลาดชันสูง ส่วนทางตะวันตก มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูนที่ยังไม่มีการสลายตัว หินดินดานและหินควอร์ตไซต์ แต่เนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติของน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดการกัดเซาะเป็นร่องรอยหรือรูโหว่ขนาดใหญ่ กลายเป็นถ้ำต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น ถ้ำโตนดิน ถ้ำลอดปูยู นอกจากนี้การเกิดของบึงทะเลบันก็เช่นเดียวกัน ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของโพรงถ้ำหินปูนใต้ดินระหว่างหุบเขายอดเขาสูงที่สุดของพื้นที่นี้ คือ เขาจีน สูงประมาณ 756 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป เนื่องจากจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ฉะนั้นบริเวณภูมิภาคแถบนี้จึงได้บอิทธิพลเต็มที่จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นระยะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลัง ก็จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากประเทศจีนพัดเข้ามาแทนที่ แต่เนื่องจากจังหวัดสตูลอยู่ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเลและอยู่ปลายลม จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลมากนักจากลมมรสุมนี้ อย่างไรก็ตามในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ก็ยังคงมีฝนตกชุกอยู่ หลังจากนี้ไปฝนจะเริ่มน้อยลงตามลำดับ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลง และในเดือนกุมภาพันธ์จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาแทนที่ เนื่องจากลมนี้พัดมาจากบริเวณความกดอากาศสูงในทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้น ฉะนั้นในช่วงเดือนนี้จึงทำให้อุณหภูมิสุงขึ้นในระยะนี้จังหวัดสตูลจึงมีฝนตกน้อยกว่าระยะอื่นของปี จากสถิติสภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติเลบัน ซึ่งทำการเก็บข้อมูลที่สถานีตรวจวัดอากาศ จังหวัดสตูลในเขตละติจูลที่ 6 องศา 39 ลิปดาเหนือและลองติจูดที่ 100 องศา 05 ลิปดาตะวันออกในช่วงระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2533 อิทธิพลต่าง ๆ จกสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดฟดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน อากาศจะร้อนมากในเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งมีอุณหภูมิและค่าการระบายค่อนข้างสูง มีระยะยาวนานของแสงแดดค่อนข้างสูง ส่วนฤดูฝนอย่างระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน มีค่าความชื้นสัมพันธ์มาก
จากข้อมูลภูมิอากาศของสถานีตรวจอากาศจังหวัดสตูล พอสรุปได้ดังนี้
1. อุณหภูมิ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.5 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอุณหภูมิสูงสุด คือเดือนเมษายน มีอุณหภูมิสูงถึง 38.9 องศาเซลเซียส และเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดคือ เดือน กุมภาพันธ์ 17 องศาเซลเซียส
2. ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 78 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ยจะเกิดในเดือนกันยายนและตุลาคม ซึ่งสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ยจะเกิดในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งมีเพียง 45 เปอร์เซ็นต์
3. ปริมาณน้ำฝน ประมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 2204.9 มิลิเมตร เดือนที่มีปริมาณฝนตกน้อยที่สุดเดือนมกราคม วัดได้โดยเฉลี่ย 10.4 มิลลิเมตร


พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
สภาพป่าไม้โดยทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น ประมาณ 90% ของพื้นที่ นอกจากนั้นเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน สัตว์ป่ามีมากกว่า 400 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 60 ชนิด นก 304 ชนิด สัตว์เลี้อยคลาน 40 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 20 ชนิด และสัตว์น้ำอีกหลายร้อยชนิด

การเดินทาง
การเดินทางจากกรุงเทพฯ - จังหวัดสตูลประมาณ 970 กิโลเมตร และจากตัวเมืองสตูลใช้ทางหมายเลข 406 ประมาณ 19 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 4184 อีกประมาณ 20 กิโลเมตร ก็จถึงที่ทำการอุทยานฯ
การเข้าถึงอุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอควนโดน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปอุทยานฯ สามารถเดินทางได้หลายวิธี
1. โดยทางรถยนต์ จากสถานีขนส่งสายใต้(ใหม่) จะมีรถประจำทางปรับอากาศ เดินทางไปจังหวัดทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง (ระยะทางประมาณ 1,100 กิโลเมตร)
2. โดยทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ เดินทางถึงสถานีหาดใหญ่ จากนั้นต่อรถโดยสารมายังจังหวัดสตูล หรือ รถตู้โดยสารหาดใหญ่-สตูล
3. โดยทางเครื่องบิน จากท่าอากาศยานดอนเมือง หรือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปลงที่สนามบินหาดใหญ่ แล้วเดินทางต่อไปยังจังหวัดสตูล
4. โดยรถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดสตูล โดยใช้ทางหลวงสายเพชรเกษม ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี เข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ถึงอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา แยกเข้าถนนหมายเลข 406 ผ่านอำเภอควนกาหลง เข้าสู่อำเภอควนโดน ถึงทางแยกเข้าตำบลวังประจัน ตามถนนสาย เขตแดนไทย-มาเลเซีย ประมาณ 20 กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ระยะทางประมาณ 1,100 กิโลเมตร




บึงทะเลบัน
เป็นบึงน้ำขนาดประมาณ 125 ไร่ มีปลาและสัตว์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่อยู่ของ เขียดว๊าก ที่มีเสียงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คอยเชื้อเชิญให้ทุกคนที่มาเยือนบึงแห่งนี้ต้องหยุดฟัง อีกทั้งบึงทะเลบัน ยังเป็นแหล่งที่อยู่เฉพาะถิ่นของต้นบากง พืชน้ำที่หายากที่ขึ้นปะปนอยู่กับสิ่งมีมีชีวิตอีกหลายชนิด รอบบึงมีสะพานไม้และศาลาให้นั่งชมทัศนียภาพและได้ซึมซับบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์ของบึงทะเลบันได้อย่างจุใจ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสวนสมุนไพรที่อยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ




ทุ่งหญ้าวังประ
ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ประมาณ ๘ กิโลเมตร แยกไปทางขวาตามถนนลูกรังอีกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ ในหุบเขาด้านทิศตะวันตกมีป่าเบญจะพรรณทีหายากทางภาคใต้ อยู่ประปราย มีสัตว์ป่ามากหมาย เช่น เสือดาว เม่น กระจง หมู่ป่า ไก่ป่า ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีนกนานาชนิด เหมาะสำหรับดูนก และพื้นที่ราบกลางหุบเขา เหมาะในการพักค้างแรม หรือการเข้าค่ายต่าง ๆ





น้ำตกยาโรย
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบันประมาณ ๖ กิโลเมตร ซึ่งจะอยู่ด้านขวาของถนน แล้วมีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ ๗๐๐ เมตร น้ำตกสูงถึง ๙ ชั้น ชั้นบนสุดจะมีความสวยงามมากที่สุด ซึ่งเป็นน้ำตกที่กำเนิดจากป่าดิบชื้นของยอดเขาจีน




ถ้ำโตนดิน
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบันประมาณ ๒ กิโลเมตร มีความลึกประมาณ ๗๐๐ เมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย และลำธารไหลผ่าน มีปลาน้ำจืด ชนิดต่าง ๆ และยังมีเครื่องมือขุดแร่ดีบุกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลงเหลืออยู่ และยังมีค้างคาวชนิดต่าง ๆ รอให้ผู้คนเข้าไปเยือน





ถ้ำลอดปูยู
เดินทางจากตัวเมือง จังหวัดสตูล ใช้ทางหลวงหมายเลข 4183 (สตูล-ตำมะลัง) ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงท่าเรือตำมะลัง นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ ท่าเรือตำมะลัง ใช้เวลาประมาณ 45 นาที่ ในการเดินทางไปยังถำลอดปูยู ระหว่างการเดินทางสามารถชมป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และเขาหินปูนที่สวยงาม สามารถลอดถ้ำได้ ถ้ำมีลักษณะเขาขวางคลอง


ที่มา  สำนักงานอุทยานแห่งชาติ







Dew
เช็คอินสะสม: 4738 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

โพสต์ 2013-8-12 16:00:05 | ดูโพสต์ทั้งหมด
thank you

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP