- ชนิดของบาดแผล1. แผลข่วน แผลถลอก หรือแผลแยกของผิวหนังที่ไม่ลึก จะมีเลือดออกเล็กน้อยและหยุดเองได้แผลพวกนี้ไม่ค่อยมีอันตราย ให้ทําความสะอาดบาดแผลโดยใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ไม่จําเป็นต้องปิดแผล แผลจะหายเอง 2. แผลฉีกขาดเป็นแผลที่เกิดจากแรงกระแทกหากเป็นวัสดุที่ไม่มีคมแผลมักฉีกขาดขอบกระรุ่งกระริ่ง แผลชนิดนี้เนื้อเยื่อถูกทำลายและมีโอกาสติดเชื้อมาก ควรทำความสะอาดบาดแผลให้สะอาด ถ้าบาดแผลลึกมากควรนําส่งโรงพยาบาลเพราะผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากการติดเชื้อโรคได้ - การรักษาบาดแผล1. ล้างมือให้สะอาดก่อนทำแผลเพื่อช่วยลดจำนวนเชื้อโรคที่มือ
2. ล้างบาดแผลดวยน้ำสะอาดซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
3. ใช้สําลีสะอาดชุบน้ำยาแอลกอฮอล์เช็ดรอบๆ แผล โดยเช็ดจากข้างในวนมาข้างนอกทางเดียวไม่ต้องเช็ดลงบนแผล
4. ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน ลงบนแผล เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
5. ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์หรือผ้ากอซ ไม่ควรใช้สําลีปิดแผลเพราะเมื่อแผลแห้งแล้วจะติดกับสำลีทําให้ดึงออกยากเกิดความเจ็บปวดและอาจทำให้เลือดไหลได้อีก
6. ทําความสะอาดแผลเป็นประจำทุกวัน
7. หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสกปรกหรือเปียกน้ำเพราะอาจทําให้แผลเกิดการอักเสบ เป็นหนอง หรือหายช้า
8. สังเกตอาการอักเสบของบาดแผล เช่น บวม แดง ร้อน สีผิวของบาดแผลเปลี่ยนไป มีหนอง ควรรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อรักษาต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลการดูแลสุขภาพจาก หนังสือภัยสุขภาพ ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต |