ดู: 260|ตอบกลับ: 1

A: ดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจักรวาล

[คัดลอกลิงก์]
Dew
เช็คอินสะสม: 4711 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 52 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
ดวงดาวบนท้องฟ้ามีอยู่มากมายนับล้านล้านล้านดวง อาจจะกล่าวได้ว่ามีมากมายเสียจนนับไม่ได้ โดยที่เป็นทั้งดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ ลำพังกาแลคซี่ทางช้างเผือก (The Milky Way Galaxy) ของเราเองก็มีดวงดาวอยู่ราว 400,000 ล้านดวงเข้าไปแล้ว ยังไม่นับรวมดวงดาวในกาแลคซี่อื่นๆที่มีอยู่อีกนับล้านแกแลคซี่ แล้วดาวดวงไหนละที่มีขนาดใหญที่สุด?
ขนาดดาว.jpg
จากการศึกษาท้องฟ้าและจักรวาลในปัจจุบันเราพบดวงดาวใหม่และมีขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ดวงดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (Largest Known Star) เท่าที่มีการค้นพบปัจจุบันคือดาว VY Canis Majoris หรือ VY CMa ซึ่งเป็นดาวขนาดยักษ์สีแดงประเภท Red Hypergiant เพื่อนๆพอเดากันออกไหมครับว่าเจ้า VY Canis Majoris นั้นมีขนาดสักขนาดไหน
ขนาดดาว1.jpg
VY Canis Majoris เป็นดาวที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราราว 1800 -2100 เท่า โดยดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.39 ล้านกิโลเมตร ดังนั้นเจ้าดาว VY Canis Majoris จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2,700 ล้านกิโลเมตร ใหญ่โตสุดบรรยายเมื่อเทียบกับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกที่มีขนาด 12,700 กิโลเมตร หรือถ้าจะเทียบให้ง่ายเข้าอีกหน่อย ก็ลองเทียบแบบนี้ครับ ถ้าเราวาดรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1 เซ็นติเมตร เพื่อแทนขนาดของโลก ดวงอาทิตย์จะเป็นวงกลมขนาด 107 เซ็นติเมตร ส่วนเจ้ายักษ์ใหญ่ VY Canis Majoris จะเป็นวงกลมขนาด 2.5 กิโลเมตร ถ้านำดาวดวงนี้มาวางที่ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ผิวด้านนอกของมันจะไปสิ้นสุดที่ดาวพฤหัส โอ้แม่เจ้า!!!
ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากโลกและระบบสุริยะจักรวาลของเรา 3,900 ปีแสง (ในขณะที่ระบบสุริยะของเราอยู่ห่างจากแกนกลางของกาแลคซี่ทางช้างเผือกราว 25,000 ปีแสง) ถูกค้นพบโดย Jérôme Lalande เมื่อปี ค.ศ.1801 เป็นดาวก๊าซที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีดาวบริวาร หมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 2,000 วัน เป็นดาวที่มีความหนาแน่นต่ำ กล่าวคือมีความหนาแน่น 5-10 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
จากการตรวจสอบด้วยกล้องดูดาว Hubble พบว่าดาว VY Canis Majoris ถึงจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร แต่พื้นผิวกลับไม่เสถียร มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการสุญเสียมวลไปกลับการระเบิดที่ผิวออกมาเป็นเนบิวล่า (Nebula) ตลอดเวลา และนักดาราศาสตร์คาดการว่าดาวดวงนี้อาจจะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่กลายเป็น Supernova ในอีก 100,000 ปีนับจากนี้
ขอขอบคุณ ความรู้รอบตัว
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

โพสต์ 2013-8-25 13:39:29 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP