ดู: 234|ตอบกลับ: 1

โรคภูมิแพ้

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
โรคภูมิแพ้(Allergy)  คือความผิดปกติจากภาวะภูมิคุ้มกันไวเกินหรือตอบสนองต่อสิ่งต่างๆในธรรมชาติ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนทั่วไปอาการแพ้ของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน แม้จะเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกัน อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันพบว่าคนในเมืองเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าชนบทเนื่องจากสารที่ก่อโรคภูมิแพ้ ได้แก่ ไรฝุ่น ขนสัตว์ มลภาวะ ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในสังคมเมือง

สาเหตุของโรคภูมิแพ้

  • การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย
  • การ ติดเชื้อซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้มีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน     ให้ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดกว้างและมีความเจาะจงน้อย ทำให้เกิดการแพ้ต่อสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนทั่วไปที่ไม่แพ้ได้ง่าย
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น     การเครียดเป็นเวลานาน การอดหลับอดนอน     การเปลี่ยนอุณหภูมิที่เร็วเกินไป การนอนห้องแอร์ หรือการสูบบุหรี่
  • สภาพ แวดล้อมที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น การไม่ได้สัมผัสสิ่งของที่อยู่ตามธรรมชาติ หรือการได้อยู่กับสารก่อภูมิแพ้เป็นเวลานาน     เช่น สารจากไรฝุ่น ฝุ่นบ้าน สะเก็ดจากแมลงสาบ     สารจากขนแมว ขนสุนัข ละอองเกสรดอกไม้ ต้นไม้ ต้นหญ้า วัชพืช  และสปอร์จากเชื้อรา

กลไกการเกิดโรคภูมิแพ้
กลไกหลักของการเกิดอาการแพ้ คือร่างกายได้รับหรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นมาก่อนและจดจำไว้ เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นอีกครั้งร่างกายจะกระตุ้นให้สร้างเม็ด เลือดขาวชื่อ Mastocyte และ Basophil โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า IgE ปล่อยสารเคมีชนิดที่ทำให้อวัยวะต่างเกิดอาการภูมิแพ้ออกมา สารเคมีหลักที่ถูกหลั่งออกมาเรียกว่า Histamine มีผลทำให้เกิดการอักเสบ บวม และอาการร่วมอื่นๆ

อาการของโรคภูมิแพ้
อาการของโรคภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นกับแต่ละคนจะแตกต่างและรุนแรงไม่เท่ากัน แม้จะเป็นสารก่อภูมิชนิดเดียวกันก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้มีได้รับและการตอบสนองของอวัยวะนั้นๆ เช่น

  • บริเวณตาทำให้เกิด โรคภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา จะมีอาการคันและเคืองตา     ตาแดง น้ำตาไหล หนังตาบวม แสบตา
  • บริเวณจมูกทำให้เกิด โรคแพ้อากาศ จะมีอาการจาม คันจมูก คัดจมูก     คันเพดานปากหรือคอ น้ำมูกไหล
  • บริเวณหลอดลมทำให้เกิด โรคหอบหืด จะมีอาการ ไอ     แน่นหน้าอก หอบ หายใจขัดหรือหายใจเร็ว
  • บริเวณผิวหนังทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ จะมีอาการคัน     มีผดผื่นตามตัว ผื่นมักแห้ง แดง มีสะเก็ดบางๆ หรือมีน้ำเหลืองแห้งกรังปกคลุมอยู่
  • บริเวณทางเดินอาหารทำให้เกิด โรคแพ้อาหาร จะมีอาการ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย     ปากบวม ปวดท้อง ท้องอืด อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดหรือแพ้อากาศ หรือผิวหนัง เช่น ผื่นคันหรือลมพิษ
วิธีตรวจสอบสารที่ก่อภูมิแพ้

  • วิธีสะกิดผิวหนัง วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยและทำให้ง่าย โดยการหยดน้ำยาสารก่อภูมิแพ้     ที่คาดว่าผู้ป่วยจะแพ้ ลงบนผิวหนังของผู้ป่วยตามจุดที่กำหนดไว้     แล้วใช้เข็มสะกิดเบาๆ ที่หนังกำพร้า รอดูผล 15 นาที ถ้าผู้ป่วยแพ้สารใดก็จะเกิดปฏิกิริยาเป็นตุ่มนูนแดงที่ผิวหนัง ตรงตำแหน่งของสารที่แพ้     ถ้าผื่นหรือตุ้มแดงมีขนาดใหญ่แปลว่าแพ้สารนั้นมาก
  • วิธีฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง ใช้ในกรณีที่วิธีแรกเห็นผลไม่ชัดเจน โดยการฉีดสารเข้าไปแทนการสะกิด รอดูผล 15-20     นาที แต่วิธีนี้มีข้อเสียคืออาจเกิดอาการแพ้แบบเฉียบพลันได้
  • วิธีแปะสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง การทดสอบวิธีนี้ใช้ในโรคภูมิแพ้บริเวณผิวหนังชนิดผื่นสัมผัส และการแพ้ยาบางประเภท     โดยใส่สารก่อภูมิแพ้บนแผ่นอลูมิเนียมที่ติดบนเทปใส แล้วปิดลงบนผิวหนัง     ทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง เพื่อหาสารที่แพ้  
  • การเจาะเลือดตรวจ เป็นวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อตรวจหาภูมิต้านทานของสารที่ก่อภูมิแพ้
  • วิธีอื่นๆ เช่นการให้รับประทานอาหารที่คาดว่าจะแพ้

วิธีรักษาโรคภูมิแพ้

  • การดูแลตนเองอย่างเหมาะสม การหลีกเลี่ยงหรือกำจัดสิ่งที่แพ้ เป็นการรักษาที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการรักษาและป้องกันที่สาเหตุ โดยพยายามดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์และแข็งแรงอยู่เสมอ เช่น     รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับให้เพียงพอ     ไม่เครียด ดูแลสุขภาพของฟันและช่องปาก พยายามอยู่ห่างจากผู้ที่ไม่สบาย     อยู่ในสภาพแวดล้อม และอาการที่ถ่ายเทได้สะดวก
  • การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ยาที่ใช้จะเป็น ยาต้านฮิสทามีน หรือสารสเตอรอยด์ เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้อาการคัดจมูก, ยารักษาไข้หวัด, ยาขยายหลอดลม, ยาทาผิวหนังอักเสบ, โลชันปรับผิว     ลดการระคายเคือง ยาหยอดตา ยาสูดหรือพ่นคอ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองต่างๆ การใช้ยาเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ ผู้ป่วยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
  • การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ เป็นการรักษา     โดยฉีดสารก่อภูมิแพ้ ที่ตรวจสอบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อย แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวน เพื่อให้สร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้ วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก     ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา หรือไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาได้     หรือผู้ที่มีโรคภูมิแพ้หลายชนิดร่วมด้วย วิธีนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย     1 ปีครึ่ง ถ้าได้ผลดี อาจต้องฉีดต่อเนื่องไปอีก 3-5 ปี
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด ใช้ในผู้ป่วยบางรายที่ใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้นหรือมีโรคบางอย่างร่วมด้วย เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคดเยื่อบุจมูกบวมมากผิดปกติ ริดสีดวงจมูก หรือไซนัสอักเสบ


ที่มา   prapot.com
เช็คอินสะสม: 554 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 0 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 29%

โพสต์ 2013-8-26 23:21:50 | ดูโพสต์ทั้งหมด
อืม ..ขอบคุณกับสาระดีีดี

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP