ดู: 325|ตอบกลับ: 2

นักฟิสิกส์ม.สุรนารีคว้านักวิทย์รุ่นเยาว์ปีนี้

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x



     นักฟิสิกส์ จากม.สุรนารี คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จาก วช. ชี้ผลงานเด่นใช้แสงซินโครตรอนพัฒนาเซ็นเซอร์แสงและสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่
     ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า โครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ในประเทศไทย (TWAS Prize for Young Scientists in Thailand) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับสภาวิทยาศาสตร์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา จัดมาตั้งแต่ปี 2540 เพื่อส่งเสริมและประกาศเกียรติคุณนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของประเทศไทยที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี มีผลงานวิชาการดีเด่น เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คือ สาขาชีววิทยา สาขาเคมี สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาฟิสิกส์ โดยมีการมอบรางวัลปีละ 1 รางวัล หมุนเวียนกันไปแต่ละปีตามลำดับ ซึ่งมีผู้ที่ได้รับรางวัลจนถึงปัจจุบัน จำนวน 16 ราย
     โดยในปี 2556 นี้เป็นการมอบรางวัลในสาขาฟิสิกส์ ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ คือ ผศ.ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา แห่งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำหรับ ผศ.ดร.วรวัฒน์ เป็นนักฟิสิกส์ทดลองมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แสงซินโครตรอนในการวิจัยวัสดุขั้นสูง โดยการสร้างอุปกรณ์ต้นแบบเซ็นเซอร์แสง ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากเซ็นเซอร์ทั่วไปตรงที่มีความโปร่งแสง และยังมีอุปกรณ์ต้นแบบตัวเก็บประจุจากสารพวกไทเทเนียมออกไซด์ ที่มีความแตกต่างจากอุปกรณ์ทั่วไป ที่ค่าความจุเพิ่มขึ้นได้โดยการฉายแสง
     ทั้งนี้ จากการศึกษาทดลองทำให้มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แสงซินโครตรอนในการวิจัยวัสดุขั้นสูง และเมื่อได้ทำงานร่วมกับคณะวิจัยนานาชาติ เพื่อศึกษาโลหะออกไซด์จำพวกไทเทเนียมออกไซด์และแทนทาลัมออกไซด์
     ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นอุปกรณ์อิเล็ก ทรอนิกส์แบบใหม่ พบว่าชั้นอิเล็กตรอนสองมิติของผลึกสามารถเกิดได้บนผิวโดยไม่ต้องมีการประกบ และจะเกิดขึ้นหลังการฉายแสงซินโครตรอนที่มีความเข้มสูงลงบนผิว ซึ่งวิธีนี้สามารถสร้างลวดลายของชั้นอิเล็กตรอนที่มีราคาถูก และมีความรวดเร็วสำหรับใช้ในวงจรไฟฟ้าชนิดใหม่
     นอกจากนี้ ผศ.ดร.วรวัฒน์ ยังสนใจศึกษาสมบัติไฟฟ้าในสารประกอบคาร์บอน และการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนเพื่องานวิจัยทางการเกษตรกรรมอีกด้วย
ที่มา เดลินิวส์

Dew
เช็คอินสะสม: 4738 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

โพสต์ 2013-8-27 20:34:51 | ดูโพสต์ทั้งหมด
thank you
เช็คอินสะสม: 147 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2024-6-18 05:57:26 จากอุปกรณ์พกพา | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณ​ครับ ​ที่​แบ่งปัน

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP