ดู: 258|ตอบกลับ: 1

A: เสพติดใหม่-ยาแก้ปวด ผสมร่วมน้ำอัดลม นร.ฮิตดื่ม ทำเคลิ้ม ชี้ถึงตาย!

[คัดลอกลิงก์]
Dew
เช็คอินสะสม: 4711 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 52 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
แฉ ยาเสพติดแนวใหม่ฮิตกินยาแก้ปวดผสมน้ำอัดลม เด็กม.2l เสพติดใหม่ร.ร.ดังเมืองปากน้ำกินเข้าไปถึงช็อกหมดสติคาห้องเรียน

แม่ต้องพาส่งร.พ.จ้าละหวั่น อย.ชี้เป็นยาแก้ปวดรุนแรง ชื่อยา "ทรามาดอล" มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง โครงสร้างทางเคมีคล้ายยาเสพติดประเภทมอร์ฟีน จึงพบการใช้ผิดประเภทบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่นำไปผสมยานอนหลับหรือน้ำอัดลม เพื่อหวังผลให้เกิดฤทธิ์มากขึ้น เตือนเด็กใช้อันตรายมาก พบมีรายงานการเสียชีวิตแล้วในต่างประเทศ

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 26 ส.ค. น.ส.กุ้ง (นามสมมติ) ผู้ปกครองด.ช.ต้น (นามสมมติ) นักเรียนชั้นม.2 โรงเรียนมัธยมชื่อดังใน จ.สมุทรปราการ

เข้าร้องเรียนกับผู้สื่อข่าว ถึงกรณีลูกชายกินยาแก้ปวดผสมน้ำอัดลมซึ่งถือเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งเข้าไป จนเกิดอาการช็อกหมดสติคาห้องเรียน ต้องหามส่งโรงพยาบาลจ้าละหวั่น เหตุเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงอยากเตือนอันตรายให้กับ ผู้ปกครองทุกท่านพึงระวังไว้

น.ส.กุ้งย้อนเหตุการณ์ให้ฟัง ว่า วันเกิดเหตุตนได้รับแจ้งจากทางโรงเรียนว่าลูกชายเป็นลมหมดสติที่โรงเรียน จึงรีบเดินทางไปดูและนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษา โดยแพทย์ลงความเห็นว่ากินยาแก้ปวดเกินขนาด ก่อนให้กลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน เมื่อถึงบ้านตนได้พยายามเค้นความจริงจากลูก ได้ความว่ากินยาแก้ปวด "ทรามาดอล" ผสมน้ำอัดลม ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกินกันในกลุ่มเพื่อนๆ ในโรงเรียนเดียวกัน โดยมีรุ่นพี่ชั้น ม.4 แนะนำให้ดื่ม บอกว่าเสพแล้วจะมีความสุข เหมือนตัวลอยได้ หากอยากให้ยาออกฤทธิ์เร็ว ก็ให้กินผสมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ส่วนยาดังกล่าวนั้นซื้อมาจากร้านขายในตลาดปากน้ำและแพรกษา ซึ่งจะจำหน่ายให้เฉพาะกลุ่มนักเรียนที่ซื้อประจำหรือได้คำแนะนำจากกลุ่มเท่า นั้น ซึ่งเคยซื้อได้มากสุดถึง 90 เม็ด ราคาเม็ดละ 2-4 บาท แล้วแต่จำนวน
น.ส.กุ้ง กล่าวต่อว่า ตนสังเกตเห็นลูกชายมีอาการเปลี่ยนไปในช่วงระยะหลัง ที่ผ่านมา มักจะดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ และมีอาการคล้ายคนเมาเหล้าอยู่ตลอดเวลา ทานอาหารไม่ค่อยได้ ถามตอบอะไรไม่ค่อยรู้เรื่อง จะทำอะไรต้องคิดนานกว่าปกติ เข้านอนเร็วขึ้น กระทั่งมารับแจ้งจากทางโรงเรียนว่าลูกชายเป็นลมหมดสติ ต้องหามส่งโรงพยาบาล จากนั้นตนจึงไปปรึกษาเภสัชกรที่อยู่บ้านติดกัน ว่ายา "ทรามาดอล" เป็นยาต้องห้ามหรือไม่ และมีฤทธิ์อย่างไรบ้าง ได้รับคำตอบว่า ยาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำหน่ายสามารถหาซื้อได้ง่าย

"ดิฉันฝาก เตือนพ่อแม่ผู้ปกครองที่พบว่าบุตรหลานชอบดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ แต่ทานอาหารได้น้อยลง สมองสั่งงานช้า มีอาการคล้ายคนเมา กลับจากโรงเรียนชอบเก็บตัว เข้านอนเร็ว หากเจอแบบนี้ต้องเฝ้าระวังให้ดี เพราะบุตรหลานของท่านอาจยุ่งเกี่ยวกับยาตัวนี้เข้าแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดิฉันได้ประสานไปยังผู้ปกครองคนอื่นให้ช่วยกันระมัด ระวังแล้ว" น.ส.กุ้งกล่าว

ด้านภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผอ.กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ยาแก้ปวดทรามาดอล เป็นยาแก้ปวดชนิดรุนแรง ซึ่งมักใช้ในผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง จนไม่สามารถใช้ยาแก้ปวดตำรับปกติได้ เช่น อาการปวดประจำเดือน ปวดตามข้อ เป็นต้น ยาดังกล่าวจัดเป็นยาอันตราย ที่สามารถขายในร้านขายยาได้ แต่ต้องขายและควบคุมการใช้โดยเภสัชกรเท่านั้น โดยยากลุ่มดังกล่าวจัดเป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เรียกว่ายากลุ่ม โอปิออยด์ โครงสร้างทางเคมีคล้ายกับยาเสพติดประเภทมอร์ฟีน โคเดอีน เป็นต้น จึงมักพบการใช้ผิดประเภทบ่อยครั้ง โดยที่พบบ่อยคือการนำไปผสมยานอนหลับ หรือน้ำอัดลม เพื่อหวังผลให้เกิดฤทธิ์ที่มากขึ้น

"อาการไม่ พึงประสงค์ของยาดังกล่าวซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น จะทำให้กลืน หายใจลำบาก เห็นภาพคล้ายประสาทหลอน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เกิดอาการชักได้ เพราะยาจะมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง โดยในต่างประเทศเคยพบรายงานผู้เสียชีวิตจากการใช้ยาผิดประเภท โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม มักนำยาดังกล่าวไปใช้ร่วมกับยาหรือสารประเภทอื่นๆ หลายชนิดด้วยกัน โดยเฉพาะเด็กจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้มากกว่า เนื่องจากยาโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความรุนแรง การใช้จะต้องกะประมาณให้พอดีกับน้ำหนักตัวของผู้ใช้ ส่วนใหญ่ยาที่ใช้กับเด็ก จะถูกลดปริมาณลงตามน้ำหนักตัว การนำยาไปใช้ให้เกิดผลในทางที่ผิด จึงอันตรายมากกว่า" ภก.ประพนธ์ กล่าว

ภก.ประพนธ์ กล่าวต่อว่า ยาดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นยากลุ่มอันตรายที่มีฤทธิ์แรง แต่ก็มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา

ดังนั้น อย.จึงได้มีมาตรการควบคุมและติดตามการใช้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขอความร่วมมือเภสัชกรให้เฝ้าระวังและไม่ขายยาให้กับเด็ก หรือผู้ที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยว่าจะนำยาไปใช้ผิดประเภทด้วย

ทั้ง นี้ การยกระดับการใช้ยาเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่ออกประกาศฉบับเดียว ก็สามารถยกระดับยาได้แล้ว

แต่การตัดสินใจยกระดับหรือไม่ ต้องคำนึงถึงผลกระทบของประชาชนโดยรวมทั้งประเทศ เพราะยาดังกล่าวถือเป็นยาจำเป็น และมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย การทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ง่ายจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา การจะควบคุมอย่างไรจึงต้องคำนึงถึงความสมดุลเป็นหลัก
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: ข่าวสด
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

โพสต์ 2013-8-28 21:17:00 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP