ดู: 260|ตอบกลับ: 1

กระเจี๊ยบมอญ

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x



ชื่อสามัญ:               Ladies' Finger, Lady's Finger, Okra
ชื่อพื้นเมือง:             กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย มะเขือมอญ (ภาคกลาง),มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ/ลำปาง)
ชื่อพฤกษศาสตร์:      Abelmoschus esculetus (L.) Moench., Hibiscus esculentus L.
ชื่อวงศ์:                  MALVACEAE
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-2 ม. มีขนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 ซม. ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ดอกใหญ่ ออกเดี่ยวตามง่ามใบ มีริ้วประดับ เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 ซม. หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก ผลเป็นฝักห้าเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม มีขนทั่วไป มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไต ขนาด 3-6 มม.
ประโยชน์ :
ฝักอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูง กินได้ ในต่างประเทศบรรจุเป็นอาหารกระป๋องหรืออาหารแช่แข็ง
เมล็ดแก่ มีน้ำมันมาก กากเมล็ดมีโปรตีนเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์
เส้นใย จากต้นใช้ทำเชือกและกระดาษ นอกจากนี้โรงงานผลิตน้ำตาลบางแห่งในอินเดียยังนำเมือกจากต้นมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด
สำหรับการใช้ประโยชน์ทางยาแผนโบราณของจีน ราก เมล็ด และดอกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ประโยชน์ทางยา
ผลอ่อน ใช้เป็นผักจิ้มประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี และไนอาซิน
- มีสารเมือกและ เพคติน ใช้แก้โรคกระเพาะอาหาร โดยนำผลแห้งมาป่นเป็นผงละเอียดชงกับน้ำร้อน รับประทาน เป็นยาหล่อลื่นในโรคโกโนเรียระงับพิษ
ขับปัสสาวะ
- แก้พยาธิตัวจิ๊ด โดยเอาผลกระเจี๊ยบมอญที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหารกิน เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริกหรือทำแกงส้ม กินวันละ ๓ เวลาทุกวัน วันละ ๔ - ๕ ผล ติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน
กลีบเลี้ยง มีสารแอนโทไซยานิน และกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดแอสคอบิก (วิตามินซี) กรดซีตริก กรดมาลิก และกรดทาทาริก ทำให้มีสเปรี้ยว นอกจากนี้ มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินเอ และเพคติน กลีบเลี้ยง ปรุงเป็นเครื่องดื่ม ผลไม้กวน และแยม


ขอขอบคุณ
ที่มา  เดอะแดน.คอม

Dew
เช็คอินสะสม: 4625 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 14 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2013-9-2 21:42:59 | ดูโพสต์ทั้งหมด
thank you

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP