ดู: 249|ตอบกลับ: 1

กระเทียม

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x



ชื่อวิทยาศาสตร์    Allium sativum Linn.
วงศ์                  Alliaceae
ชื่อท้องถิ่น          กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)
ลักษณะ :
พืชล้มลุก สูง 40-80 ซม. มีหัวใต้ดิน (bulb) ซึ่งแบ่งเป็นกลีบเล็กๆ ได้หลายกลีบ แต่ละกลีบมีกาบใบแห้งๆ หุ้มไว้ในลักษณะแคบยาว กว้าง 1 - 2.5 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ปลายแหลม ดอกช่อ แทงจากลำต้นใต้ดิน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 อัน สีชมพู ผลแห้ง แตกได้สามารถปลูกได้ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ากระเทียม กลีบเล็กพันธุ์จาก จังหวัดศีรษะเกษ มีสารสำคัญมากที่สุด
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :
สารเคมีในหัวกระเทียม คือน้ำมันหอมระเหย Essential oil โดยทั่วไปกระเทียมจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.6-1 ในน้ำมันหอมระเหย
นี้มีสารเคมีที่มีกำมะถันเป็นองค์หระกอบหลายชนิด ตัวที่สำคัญก็คือ "อัลลิซิน" นอกจากนี้ยังมี Sulfane dimethy dipropl-disulfide sllinase "อัลลิซิน"
เป็นน้ำมันไม่มีสี ละลายได้ในน้ำ ในแอลกอฮอล์ เบนซิน และอีเทอร์ ถ้ากลั่นโดยใช้การร้อนโดยตรง จะถูกทำลาย"อัลลิซิน"ได้รับความสนใจและแยกสกัดบากกว่า มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดด้วยกัน หัวกระเทียมสามารถลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด ได้ทั้งคนปกติและคนไข้ที่มีโฆเลสเตอรอลสูง
รสและสรรพคุณทางยา :
รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร ปวดฟัน ปวดหู โรคผิวหนัง
ในตำรายาไทยให้ใช้กระเทียมและขิงสดย่างละเท่ากัน ตำละเอียด ละลายกับน้ำอ้อยสด คั้นน้ำจิบแก้ไอกัดเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง โดยสารที่ออกฤทธิ์ เป็นยาแก้ไอ คือ allicin ซึ่งละลายน้ำได้ และถูกทำลายด้วยความร้อน
กระเทียมรักษากลากเกลื้อน ซึ่งเป็นผลจาก allicin มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้หลายชนิด ทำได้โดยการฝานกลีบกระเทียม แล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือตำคั้นเอาน้ำบริเวณที่เป็น โดยใช้ไม้เล็กๆ หรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็น พอให้ผิวแดงอ่อนๆ ก่อน แล้วจึงเอาน้ำกระทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆ วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อหายแล้ว ทาต่ออีก 7 วัน
สรรพคุณต่างๆ ของกระเทียม มีดังนี้ :
          1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม  
          2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
          3. ลดความดันโลหิตสูง  
          4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล  
          5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
          6. ลดน้ำตาลในเลือด  
          7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
          8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
          9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
          10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ  
          11. รักษาโรคไอกรน
          12. แก้หืดและโรคหลอดลม  
          13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย  
          14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
          15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
          16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
          17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย  
          18. ต่อต้านเนื้องอก  
          19. กำจัดพิษตะกั่ว
          20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย
          ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า
คุณค่าทางอาหาร :
กระชายมีรสเผ็ดพบสมควร จึงช่วยดับกลิ่นคาวได้ นำไปปรุงกับอาหารได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอาหารไทยเราเช่น แกงเลียง แกงขี้เหล็ก
ผัดเผ็ดปลาดุก ฯลฯ ในรากเหง้าของกระชายมี แคลเซียม เหล็กมาก นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆและวิตามิน เอ วิตามิน ซี อีกด้วย
วิธีใช้
ใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ซึ่งเป็นผลจากสารสำคัญต่างๆ ในน้ำมันหอมระเหย allicin และ diallyl disulfide ช่วยต้าน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการสร้างสาร prostaglandin ตามธรรมชาติ allicin มีในหัวกระเทียมน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในรูป alliin เมื่อหั่นกระเทียม อากาศจะทำให้ เอนไซม์ alliinase ย่อย alliin ให้เป็น allicin ซึ่งเป็นสารที่ไม่คงตัว สลายตัวได้ง่าย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อถูกความร้อน ดังนั้น กระเทียมเจียว กระเทียมดอง จะไม่ไห้ผลเป็นยา


ขอขอบคุณ
ที่มา  เดอะแดน.คอม

Dew
เช็คอินสะสม: 4680 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 21 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2013-9-4 15:37:21 | ดูโพสต์ทั้งหมด
thank  you

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP