สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
โรคกระเพาะอาหารหรือ แผลในกระเพาะอาหาร หมายถึง แผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ
สาเหตุ
เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้นในกระเพาะอาหารร่วมกับเยื่อบุอาหารมีความสามารถต้านทานกรดได้ลดลงหรือมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเยื่อบุลำไส้ได้ลดลงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายขึ้น
1. ยา ยาลดไข้และยาแก้ปวดส่วนใหญ่ เช่นยาแอสไพริน ยาทัมใจ ยาลดการอักเสบ (NSAIDs)ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ(ยกเว้นยาพาราเซตามอล) จะมีฤทธิ์ทำให้ความต้านทานของเยื่อกระเพาะอาหารและสำไส้ลดลง
2. การสูบบุหรี่ สารนิโคตินจากบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเยื่อบุกระเพาะอาหารน้อยลงทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้าได้
3. ความเครียดจะไปกระตุ้นระบบประสาทโดยอัตโนมัติทำให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้น
4. การกินอาหารที่มีรสเผ็ดจัดจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารและสำไส้โดยตรง ในขณะที่อาหารหมักดองชากาแฟ จะกระตุ้น ให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้น
5. เชื้อโรค เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร หรือทำให้แผลที่เกิดแล้วหายช้าเกิดเป็นแผลซ้ำบ่อยและเชื่อว่าอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตามมาได้
อาการ
1. ปวดแสบหรือจุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดมักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิวจะบรรเทาได้ด้วยอาหาร หรือ ยาลดกรดผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมากหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัดเปรี้ยวจัด หรือดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น
2. อาการปวดมักเป็นๆหายๆมานานเป็นปี
3. ปวดแน่นท้องกลางดึก หลังจากหลับไปแล้ว
4. ปวดแน่น ท้องอืด มีลมมากในท้อง อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังมื้ออาหารทำให้อิ่มง่ายกว่าปกติ กินได้น้อยลงเบื่ออาหารถ่ายอุจจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด
การปฏิบัติตัว
1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องนานประมาณ6–8 สัปดาห์ และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้แผลหายขาด
• กรณีเกิดแผลร่วมกับการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร แพทย์จะสั่งยาฆ่าเชื้อโรคนี้ร่วมด้วย
2. ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา3 มื้อ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดหลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด รวมทั้งอาหารที่รับประทานแล้วทำให้มีอาการกำเริบ
3. หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลมและบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาชุด ยาแก้ปวดเช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อชนิด NSAIDs ถ้ามีอาการปวด ยาที่ปลอดภัยสามารถรับประทานไดคือ ยาพาราเซตามอลพยายามทำจิตใจให้สบาย หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดความตึงเครียดต่างๆและรู้จักวิธีผ่อนคลาย
อาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์
1. อาการตกเลือดในกระเพาะอาหารพบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดถ่ายเหลว ถ้าเสียเลือดมากจะทำให้มีอาการหน้ามืดวิงเวียน เป็นลม
2. กระเพาะอาหารทะลุ ในรายที่มีแผลเรื้อรังอยู่นานโดยไม่ได้รับการรักษาแผลอาจลึกมากขึ้นจนทะลุได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรงหน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก
3. กระเพาะอาหารอุดตัน ในรายที่เป็นแผลเรื้อรังเป็นๆหายๆ จะเกิดพังผืดหดรัดตัวทำให้ช่องผ่านของอาหารแคบลง ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว มีอาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ที่มา ... รพ.ศิริราช |