หากไม่อยากทุกข์ทรมานจากการป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารก็ต้องแก้ที่การรับประทานอาหารเช่นกัน ซึ่งอาหารที่ เหมาะ อย่างยิ่งสำหรับป้องกันโรคกระเพาะมีดังต่อไปนี้
คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน แหล่งอุดมของเส้นใยคือคาร์โบไฮเดรตที่เกิดขึ้นเองจากการสะสมตามธรรมชาติโดยผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุด หรือไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปใดเลย

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการแปรรูปนี้ อุดมไปด้วยเส้นใยซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบย่อยอาหารเพราะอาหารที่มีเส้นใยสูงใช้เวลาในการย่อยในกระเพาะอาหารน้อยมาก (หากปรุงให้สุกและกินให้พอดี ถั่วและพืชชนิดต่างๆจะใช้เวลาในการย่อยประมาณ80-90 นาทีเท่านั้น) เมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นๆ

ยิ่งกินอาหารที่เป็นกากใยในแต่ละวันมากขึ้นอาหารก็จะถูกย่อยเร็วมากขึ้นเท่านั้นเพราะเส้นใยที่รับประทานเข้าไปจะช่วยดูดซับน้ำเอาไว้ และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นทั้งยังช่วยในการดูดซึมของผนังกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มกากใยในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่จึงทำให้การขับถ่ายดีขึ้น และนอกจากนั้นการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากยังทำให้เรารู้สึกอิ่มนานไม่หิวบ่อย และไม่ต้องกินจุบจิบตลอดเวลาซึ่งทำให้กระเพาะอาหารได้พักการทำงาน

คารโบไฮเดรตเชิงซ้อน พบในข้าวกล้องทุกชนิดข้าวสาลีแบบโฮลวีทหรือข้าวสาลีไม่ขัดขาวข้าวไรย์ ข้าวโพด ข้าวบาร์เล ข้าวเจ้า ถั่วฝักอ่อน ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเมล็ดพืชชนิดต่างๆ เช่น ทานตะวัน เมล็ดฟักทอง งา และผักใบเขียวซึ่งทั้งหมดนี้สามารถกินเป็นอาหารหลักได้และช่วยบำรุงกระเพาะอาหารของเราไปในคราวเดียวกัน

ไขมันไม่อิ่มตัวเพิ่มประสิทธิภาพกระเพาะอาหาร ไขมันที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับคือไขมันไม่อิ่มตัว เพราะร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้มักจะพบในธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวต่างๆ ถั่วฝักอ่อน เมล็ดพืชถั่วเปลือกแข็งและน้ำมัน เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวันน้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวที่ผลิตได้จากพืชเหล่านี้มีความสำคัญต่อกระเพาะอาหารของ เราโดยตรง กล่าวคือช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งถ้ารวมถึงระบบการเผาผลาญ อาหารในกระเพาะอาหารด้วยให้มีประสิทธิมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการกินอาหารทอดมากๆ เช่น มันฝรั่งทอด หอมทอด ปลาทอด ขนมโดนัทถือว่าเป็นการทำร้ายกระเพาะของเราเช่นกัน เพราะอาหารเหล่านี้หากนำไปทอดในน้ำมันความร้อนสูง จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี ทำให้เกิดกรดไขมันอิสระซึ่งฤทธิ์ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและเยื่อบุลำไส้ได้

โปรตีนจากปลา ช่วยในการดูดซึม โปรตีนคุณภาพดีและมีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร คือ โปรตีนจากปลาครับ เพราะปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมากเมื่อเทียบกับโปรตีนชนิดอื่นซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผนังกระเพาะอาหารดูดซึมได้เร็วขึ้น แล้วในปลายังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น

ส่วนอาหารโปรตีนสูงที่มาจาก เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อควายหมู ไก่ เป็ด เป็นต้น เป็นโปรตีนที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารเพราะใช้เวลาในการย่อย และการเผาผลาญนานมาก (ราว 48-72 ชั่วโมง)ทั้งนี้หากกระเพาะอาหารไม่สามารถย่อย และดูดซึมโปรตีนเหล่านี้ได้หมดอาจเกิดการตกค้างและนำไปสู่โรคอันตราย เช่นมะเร็งได้

ผักหลากชนิด วิตามินเกลือแร่ ผักใบเขียวจัดหลายชนิดมีวิตามินเคสูง ช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ และช่วยเพิ่มการดูดซึมอีกด้วยผักใบเขียวจัดเหล่านี้ได้แก่

คะน้า อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยบำรุงสายตา ต้านทานการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร
ผักโขม มีวิตามินเอ กรดอะมิโน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

ปวยเล้ง โพแทสเซียมสูง ช่วยความคุมความดันให้เป็นปกติทั้งยังช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น


ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง การกินผักที่มีเบตาแคโรทีนสูงจะช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารสมานกันเร็วขึ้นป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ผักและผลไม้ที่มีเบเต้าแคโรทีนสูง อาทิ

ฟักทอง ในเนื้อของฟักทองอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส วิตามินซี และมีกากใยสูง
มะเขือเทศ มีวิตามินอี วิตามินซี โพทัสเซียม ช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น

มะละกอ วิตามินซีและเบต้าแคโรทีนสูง ที่ช่วยในการขับถ่ายและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร


เหล่านี้คืออาหารมีประโยชน์ ที่คนเป็นโรคกระเพาะทั้งหลายควรรับประทาน
ขอขอบคุณ ที่นี่, จิ่มจุ่ม

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กระทู้ตอบกลับ
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน

391ดู4ตอบกลับ

Tew 2013-9-18 13:48:28
ขอบคุณ จร้าา
lamyai 2013-9-18 14:55:11
ขอบคุณครับ ที่แบ่งปัน สาระ ข้อมูล
gangk 2013-9-18 19:54:22
ขอบคุณมากๆครับ
series80 2013-9-18 20:01:21
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต