สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
หลายคนอาจจะคิดว่าอาการท้องผูกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติในผู้สูงอายุทั้งๆ ที่บางครั้งอาการท้องผูกอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องท้องผูก แต่อาจแสดงถึงโรคบางอย่างในร่างกายซึ่งควรได้รับการรักษารวมถึงต้องไม่ลืมรักษาอาการท้องผูกด้วย
สาเหตุของท้องผูก
หลายคนอาจจะสงสัยว่าอย่างไรถึงจะเรียกว่าท้องผูกคำตอบก็คือหากภายใน 1 สัปดาห์ถ่ายน้อยกว่า 3 วัน
โดยอาการท้องผูกอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุอาทิ โรคบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคไทรอยด์ โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสันโรคเบาหวาน โรคหนังแข็ง (scleroderma) และโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงยังพบว่าผู้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลที่มีอาการรุนแรงซึ่งต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาและต้องเปลี่ยนเวลาการรับประทานอาหาร ก็อาจเกิดอาการท้องผูกได้ด้วยเช่นกันส่วนผู้ป่วยโรคทางสมองที่ต้องนอนตลอดเวลา อาจเกิดลำไส้บิดตัวซึ่งจะไปขัดขวางการขับถ่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการท้องผูกแล้วยังอาจเกิดอาการท้องอืด ตะคริว อาเจียนด้วย หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์
นอกจากนี้ยังมียาบางอยางที่ก่อให้เกิดอาการท้องผูก ได้แก่ ยาลดกรดเช่น อะลูมินัมไฮดร็อกไซด์ (aluminum hydroxide) แคลเซียมคาร์บอเนต(calcium carbonate) ยารักษาโรคหอบหืด ยาแก้ท้องเดินยารักษาโรคพาร์กินสัน ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น ยาแก้เศร้ากลุ่ม tricyclics ยาลิเทียมที่รักษาอาการคลุ้มคลั่ง (lithium) ยาลดความดันยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาระงับปวด ยาระบาย (เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน) ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ยาลดน้ำมูก เช่น ซูโดเอฟรีดรีน (pseudoephedrine)
อาหารและอาการท้องผูก
แม้จะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและอาการท้องผูกแต่ก็พบว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับอาหารที่ให้พลังงานน้อยหรือร่างกายขาดน้ำก็ทำให้มีอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้การรับประทานอาหารน้อยลง และการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยก็ก่อให้เกิดอาการท้องผูกได้เหมือนกัน
การรักษา
หากอาการท้องผูกไม่รุนแรง การหันมารับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเช่น ธัญพืช ถั่ว ผักต่างๆ เช่น บรอคโคลี รวมถึงผลไม้ก็จะช่วยแก้ไขอาการท้องผูกได้ แต่ถ้าการดื่มนมหรือการรับประทานอาหารที่ทำจากนมมากเกินไปจนเป็นสาเหตุให้ท้องผูกหรือทำให้อาการท้องผูกรุนแรงขึ้น ก็ควรดื่มนมน้อยลง นอกจากนี้ยังไม่ควรเครียด เพราะความเครียดทำให้ท้องผูกและพยายามขับถ่ายให้เป็นเวลาและเป็นประจำโดยเฉพาะหลังอาหารเช้า รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็ช่วยได้แต่ถ้าอาการท้องผูกมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วควรไปพบแพทย์
และถ้าหากมีอาการท้องผูกรุนแรง ก็ควรไปพบแพทย์หรือรับประทานสิ่งที่ทำให้เกิดการระบายดีขึ้น เช่น sorbitol ซึ่งสารให้ความหวานโดยใช้ประมาณ 30-50 ซีซี (ผสมกับน้ำดื่มในเวลากลางคืน) แต่หากเกิดอาการท้องเสียให้หยุดรับประทานหรืออาจใช้วิธีสวนล้างลำไส้ ซึ่งหากอาการยังไม่ดีขึ้นก็ให้เพิ่มปริมาณน้ำ โดยค่อยๆให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในลำไส้ (ประมาณ 1-2 ลิตร) หรือเพิ่มระดับความแรงของน้ำ แต่ไม่ควรแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ลำไส้โป่งพองจนแตกได้
สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกมานาน ควรฝึกการขับถ่ายเป็นประจำโดยเฉพาะหลังอาหารเช้า เพื่อกระตุ้นร่างกายให้ขับถ่ายอย่างเป็นอัตโนมัติ รวมถึงไม่อั้นอุจจาระเมื่อรู้สึกปวดถ่ายและควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำลูกพรุน หรือรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหรือดื่มน้ำเพิ่มขึ้น แต่หากวิธีการเหล่านี้ใช้ไม่ได้ผลก็อาจจะต้องใช้ยาระบายช่วย แต่ควรเป็นชนิดที่ไม่ระคายเคืองต่อลำไส้อย่างไรก็ดี พึงระลึกไว้ว่ายาระบายทุกชนิดทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และทำให้มีโพแทสเซียมมากเกินไปในหลอดเลือดดังนั้นควรดื่มน้ำมากๆ เมื่อกินยาระบาย
โดยยาระบายที่ช่วยเพิ่มกากจัดว่ามีความปลอดภัยสูง อย่างเช่น ไซเลียม(psyllium) ซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่สกัดจากเปลือกของไซเลียม ใช้ชงน้ำดื่มโดยอาจจะผสมน้ำผลไม้ด้วยเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้นซึ่งจะทำให้กากอาหารมีความอ่อนนุ่มขับถ่ายได้ง่าย แต่ควรหลีกเลี่ยงหากว่ามีปัญหาการอุดตันของระบบทางเดินอาหารหรือหากว่าใช้แล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อหรือรู้สึกอึดอัดไม่สบายท้อง
อย่าใช้ยาระบายในทางที่ผิด
มีผู้คนจำนวนไม่น้อยใช้ยาระบายเพื่อแก้ปัญหาท้องผูกซึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้เป็นประจำ เพราะการใช้ยาระบายเป็นเวลานานจะเป็นอันตรายต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความเจ็บป่วยที่ร้ายแรง เช่น ทำให้ลำไส้ใหญ่หย่อนยานจนไม่สามารถบีบรัดขับของเสียออกมาได้
ดังนั้นควรพยายามแก้ปัญหาท้องผูกด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นอย่างแรกและหากเกินแก้แล้วก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
ขอขอบคุณ ที่นี่, HealthToday |