ดู: 241|ตอบกลับ: 2

A: กินแกงกระตุ้นความจำ

[คัดลอกลิงก์]
Dew
เช็คอินสะสม: 4681 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 22 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กินแกง.jpg
เครื่องเทศสำคัญในแกงเหลืองอย่างขมิ้นสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางประสาทและลดผลกระทบจากโรคเกี่ยวกับระบบเส้นประสาทอย่างอัลไซเมอร์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

นอกจากนี้นักวิจัยยังยืนยันถึงประสิทธิภาพยอดเยี่ยมของเครื่องเทศในการต่อสู้กับปฏิกิริยาออกซิเดชั่นศัตรูร้ายทำลายเซลล์สมองโดยเฉพาะในหน่วยความจำ เมื่อเราอายุมากขึ้น ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะโจมตีเซลล์สมองมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่เปราะบางและไวต่อการถูกทำลายจากปฏิกิริยาดังกล่าวมากกว่าส่วนอื่นๆ
สมองจำต้องสร้างยีนที่ชื่อว่า Hemeoxygenase-1( HO-1) ขึ้นมาเพื่อต่อกรกับออกซิเดชั่น และยีนตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสมองถูกกระตุ้นเท่านั้นและสารกระตุ้นดังกล่าวก็พบมากในขมิ้นนั่นเอง นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยคาตาเนียในอิตาลีและนิวยอร์กยืนยันถึงประสิทธิภาพของสารสำคัญในขมิ้นที่มีผลต่อการกระตุ้นยีนHO-1ว่าช่วยยับยั้งไม่ให้เซลล์สมองถูกทำลายโดยออกซิเดนท์ได้เป็นอย่างดี
เมื่อสมองเกิดสภาวะออกซิเดชั่น เซลล์สมองจะเกิดการอักเสบและค่อยๆตายไปในที่สุด ส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อของเส้นประสาทถูกทำลาย และนำไปสู่โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ขมิ้นจึงไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังบำรุงสมองเราให้เฉียบคมตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วยในประเทศอินเดียแหล่งเครื่องเทศสำคัญของโลกและนิยมใช้ขมิ้นเป็นส่วนประกอบอาหารมีการทดลองเพื่อค้นหาคุณประโยชน์ของขมิ้นที่นอกเหนือไปจากสรรพคุณในการลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์อย่างกว้างขวางและพบว่าสารแอนตี้ออกซิเดนท์ในขมิ้นเป็นกุญแจสำคัญในการถนอมอาหาร นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เมนูอาหารแต่โบราณหลายๆจานมีขมิ้นเป็นส่วนประกอบ อีกทั้งยังได้สี กลิ่นและรสชาติเป็นของแถม
บรรดาเครื่องเทศต่างๆ นั้นมีสารปฏิชีวนะป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในอาหารได้มากกว่าเจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ เม็ดสีในเครื่องเทศคือส่วนที่มีสารปฏิชีวนะดังกล่าวนักวิจัยจากศูนย์โรคอัลไซเมอร์แห่งมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ ระบุว่า ขมิ้นมีสารสำคัญที่ไม่พบในเครื่องเทศชนิดอื่นในการยับยั้งไม่ให้ไม่ให้เกิดกลุ่มก้อนโปรตีนเล็กๆในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่เรียกว่า Amyloid Plaquesโดยสารในขมิ้นจะเข้าผ่ากลางกลุ่มโปรตีนดังกล่าวไม่ให้รวมตัวกัน
ดร. Sally Frautschy ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอแนะนำให้รับประทานขมิ้นให้ได้200 มิลลิกรัมต่อครั้ง อาทิตย์ละสี่ครั้งก็ถือว่าเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายขณะเดียวกัน เรายังพบสารแอนตี้ออกซิเดนท์ในเครื่องเทศชนิดอื่น อย่างขิงและอบเชย ซึ่งให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับขมิ้นรวมทั้งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์สมองได้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณ ที่นี่, จิ่มจุ่ม,  เคล็ดลับการกินเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

โพสต์ 2013-10-3 18:32:42 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ
เช็คอินสะสม: 3 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 53%

โพสต์ 2013-10-3 20:15:28 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ แต่ผมกินแกงเหลืองไม่เป็นอ่ะ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP