สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
จะถูกจะแพงขอให้แดงไว้ก่อนเมื่อก่อนอาจจะใช่ แต่เดี๋ยวนี้ต้องว่า จะแก่จะสาวขอให้ขาวไว้ก่อน "กลูต้าไธโอน"จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในฐานะเป็นสารวิเศษเนรมิตให้ผิวขาวใส ขาวอย่างมีออร่า ขาวอย่างมีน้ำมีนวล ขาวอย่างไม่มีเงื่อนไข ฯลฯ ทันทีที่ได้รับประทานกลูต้าเทพ บรรดาผลิตภัณฑ์เพื่อความงามโดยเฉพาะที่อวดอ้างสรรพคุณช่วย "ขาว" จึงต้องโหน "กลูต้า"ไว้ก่อน มีทั้งแบบกิน แบบทา กระทั่งแบบฉีด โดยเฉพาะกระแสในโซเชียลมีเดียที่มีบรรดาดารานักร้อง นางแบบ รวมทั้งเน็ตไอดอล เป็นพรีเซ็นเตอร์ใช้ผลิตภัณฑ์ (อ้างว่า) หน้าขาว เป็นการสร้างความเข้าใจผิดๆทั้งๆ ที่ไม่มีข้อยืนยันทางวิทยาศาสตร์ถึงประสิทธิผลของการช่วยขาวแบบมีออร่าของกลูต้าไธโอน ถามว่า กลูต้าไธโอนช่วยให้ขาวบ้างมั้ย? มีบ้างแต่เป็นเรื่องของผลข้างเคียงจากการใช้ในการรักษาโรค เช่น ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันโรคเอดส์ โรคมะเร็ง ฯลฯ เมื่อแพทย์ฉีดกลูต้าไธโอนให้แล้ว ปรากฏว่าผิวของคนไข้ขาวขึ้น เพราะกลูต้าไธโอนมีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีแต่ผลดังกล่าวก็มีน้อยเสียจนไม่สามารถยืนยันผลลัพธ์ที่แน่นอนได้! ในทางตรงกันข้าม การที่ร่างกายได้รับกลูต้าไธโอนในปริมาณที่มากเกินอาจส่งผลต่อการเกิดโรคและความเสื่อมต่างๆของร่างกายได้ กลูต้าไธโอนคืออะไร? "กลูต้าไธโอน"เป็นชีวโมเลกุลที่เซลล์ในร่างกายทุกเซลล์ของคนเรา รวมทั้งสัตว์สามารถสร้างขึ้นได้เองจากกรดอะมิโน 3 ชนิด คือ กลูต้าเมท (Glutamate) ซีสเตอีน (Cystein) และไกลซีน (Glycine) โดยมีหน้าที่หลักในการปกป้องเซลล์ในร่างกายให้ทำงานได้เป็นปกติ ล่าสุด ดร.จิมมี่ กัทแมน (Jimmy Gutman) แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ผู้ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับโลกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลูต้าไธโอนเดินทางมาบรรยายให้กับสมาคมแพทย์ในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียและไทย นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ขอความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจที่
ดร.จิมมี่ กัทแมน ดร.กัทแมนบอกว่า "น่าเศร้าใจมากที่คนไทยใช้กลูต้าไธโอนเพื่อให้ผิวขาวเป็นเรื่องของความสิ้นเปลือง เพราะไม่ได้ผล ถ้ารับประทานชนิดเม็ดร่างกายไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ มีงานวิจัยออกมารองรับมากมาย" การรับประทานกลูต้าไธโอนที่อยู่ในรูปอาหารเสริมแบบเม็ดไม่สามารถเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนในร่างกายได้ เนื่องจากกลูต้าไธโอนจะถูกย่อยสลายทำลายหมดไปในระบบทางเดินอาหารก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนการใช้วิธีการฉีดเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนได้จริง แต่ไม่ได้เป็นในลักษณะธรรมชาติ ซึ่งถ้าร่างกายมีกลูต้าไธโอนในกระแสเลือดปริมาณมากเกินกลับเป็นผลเสียต่อร่างกาย ดร.กัทแมนบอกอีกว่า กลูต้าไธโอนนั้นร่างกายคนเราสามารถผลิตได้อยู่แล้วเพราะเป็นสารสำคัญต่อร่างกายของคนและสัตว์ โดยหน้าที่ของกลูต้าไธโอนหลักๆ มี 3 อย่าง จำง่ายๆ ว่า AID โดย A มาจาก "แอนตี้-ออกซิแดนต์"(Antioxidant) ทำหน้าที่เป็นสุดยอดของสารต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากในบรรดาวิตามินทั้งหลายที่เรารู้จัก4,000 กว่าชนิดรวมทั้งวิตามินซีและวิตามินอี จะทำงานไม่ได้เลยถ้าไม่มีกลูต้าไธโอน และเมื่อร่างกายเราใช้วิตามินซีและวิตามินอีจะหมดแล้วกลูต้าไธโอนก็จะเป็นตัวที่ชุบชีวิตมันขึ้นมาใหม่ I คืออิมมูน "เอนฮานเซอร์" (Immune Enhancer) ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลากหลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอมรวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ส่วน D คือ "ดีท็อกซิฟิเคชั่น"(Detoxification) ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ(ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลงแม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด
รวมถึงในกรณีของผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(เอดส์) ก็พบว่ามีระดับของกลูต้าไธโอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับบ้านเราอาจจะเพิ่งรู้จักชื่อของกลูต้าไธโอนเมื่อไม่นานมานี้ดร.กัทแมนบอกว่า ในทางการแพทย์มีการพบสารตัวนี้ตั้งแต่ปี 1888 ส่วนใหญ่จะศึกษากันอยู่ในห้องวิจัยซึ่ง โดยมากจะใช้กันในกรณีการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น ในคนที่กินยาพาราเซตามอลเกินขนาดตับจะเป็นพิษและมีโอกาสที่จะเกิดอาการวายได้ แพทย์จะฉีดกลูต้าไธโอนเข้าไปในเส้นเลือดดำเพื่อขจัดฤทธิ์ยาในตับ ดร.กัทแมนบอกอีกว่าที่น่าสนใจคือในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมามีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณช่วยไขความกระจ่างถึงความสัมพันธ์ของกลูต้าไธโอนกับการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์โดยพบว่า... ร่างกายของเราจะผลิตกลูต้าไธโอนได้ลดน้อยลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคของคนในปัจจุบันที่นำไปสู่การมีระดับไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ความเครียด มลภาวะที่เป็นพิษในสิ่งแวดล้อม และโรคติดเชื้อ เป็นสาเหตุที่ทำให้กลูต้าไธโอนถูกใช้ในอัตราสูงจนเกิดการขาดแคลนได้ "ระดับกลูต้าไธโอนในร่างกายคนเราจะลดต่ำลงสัมพันธ์กับช่วงอายุที่มากขึ้นเป็นกลไกที่ส่งผลต่อความเสื่อมต่างๆ ในร่างกายและการเกิดโรค เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจำเป็นต้องรับประทานยารักษาโรคหลายขนาน จึงเสี่ยงต่อการเกิดพิษในตับและไตจากประสิทธิภาพในการขจัดสารพิษตกค้างของยาลดลง" ประโยชน์ของกลูต้าไธโอนคือช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายๆ โรค เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ต้อกระจกจอตาเสื่อม ภาวะกล้ามเนื้อลีบในวัยสูงอายุ และรวมทั้งมะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งโรคปอด และแพทย์ที่รักษาโรคเอดส์และภาวะตับอักเสบ ได้หันมาใส่ใจกับการเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนด้วยแนวทางธรรมชาติหลังจากการรักษาด้วยวิธีของแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วเราจะได้รับกลูต้าไธโอนจากไหน? ดร.กัทแมนบอกว่า อาหารที่ให้"เวย์โปรตีน" โปรตีนธรรมชาติที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนซีสเตอีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ร่างกายสามารถนำไปใช้สร้างกลูต้าไธโอน คือ น้ำนมธรรมชาติ โดยเฉพาะ น้ำนมแม่ ทว่ากลูต้าไธโอนจะสลายเมื่อต้องความร้อนหรือถูกปั่นกวน ฉะนั้น ในผักสดผลไม้หลายๆ ที่มีเวย์โปรตีน เช่น ไข่ ผักบร็อกโคลีกะหล่ำปลี ผักแขนง ผลอะโวคาโด ผักโขม มะเขือเทศ หรือในเนื้อสัตว์ เช่น ซูชิเป็นต้น จะต้องไม่ผ่านกระบวนการปรุงสุกเช่นกัน เอาเป็นว่ารับประทานอาหารให้หลากหลายเข้าไว้ ประเภทผักสด ผลไม้ รวมทั้งปลาและไข่เป็นดีที่สุด ขอขอบคุณที่นี่, อายากิ, ประชาชาติ
|