ดู: 275|ตอบกลับ: 1

A: กินหวาน ดับร้อน เพิ่มความชรา

[คัดลอกลิงก์]
Dew
เช็คอินสะสม: 4714 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 55 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กินหวาน.jpg
สภาพอากาศของประเทศไทย เราทุกคนคงเคยชินและคุ้นเคยกับอากาศที่ร้อนอบอ้าวและมีแดดแรงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้คนมักเสาะหาเทคนิคคลายร้อนให้ตนเอง สิ่งหนึ่งคือการเลือกรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวานและมีความเย็นจนเกิดเป็นความเคยชินว่าอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าหากไม่ได้รับประทานของหวานจะรู้สึกไม่มีแรง อ่อนเพลีย หงุดหงิด เราเรียกลักษณะนี้ว่า"ภาวะติดน้ำตาล" และเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินความต้องการน้ำตาลเหล่านั้นก็จะแปรรูปเป็นไขมันสะสมไปทั่วร่างกาย ผลที่ตามมาก็คือการเกิดโรคอ้วนโรคเบาหวานอีกทั้งยังเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดอีกด้วยClycation และ AGEs
การรับประทานของหวานในปริมาณมากเป็นประจำนั้นส่งผลให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) อันเป็นสาเหตุของความชราก่อนวัยอันควร เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปจะไปเกาะติดกับโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของอวัยวะรวมถึงเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ก่อให้เกิดสารตัวหนึ่งที่เรียกว่าAGEs (Advanced GlycationEnd-Products) เมื่อสารตัวนี้ผ่านเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายก็จะส่งผลให้เซลล์บริเวณนั้นตายหรือเสื่อมสมรรถภาพในการทำงานลงจากการวิจัยพบว่า AGEs เป็นตัวทำลายคอลลาเจนรวมไปถึงใยโปรตีนในผิวหนังส่งผลให้เกิดริ้วรอยและมีจุดด่างดำตามมา นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อเซลล์สมองก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่ไปเกาะโปรตีนในหลอดเลือดนั้นส่งผลให้ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง
7 วิธีลดหวาน ต้านความชรา
- เลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน: น้ำทำหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายและอีกทั้งยังให้ความชุ่มชื้นแก่เซลล์ โดยปกติเราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้วขึ้นไป การดื่มน้ำน้อยนอกจากจะทำให้ผิวไม่สดใสแล้วยังส่งผลให้อวัยวะต่างๆทำงานหนักอีกด้วย
- รับประทานผลไม้สดแทนขนมหวาน: ผลไม้นั้นมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย ผลไม้มีรสหวานจากฟรักโทศ(Fructose) และกลูโคส สามารถช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นโดยที่ไม่ต้องรับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป
- เลือกชนิดของขนมหวานที่จะรับประทาน: ในกรณีที่หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวานไม่ได้ แนะนำให้เลือกชนิดของอาหารที่จะนำมาประกอบเป็นของหวานเช่น น้ำแข็งใสหรือหวานเย็น ควรรับประทานควบคู่กับธัญพืชที่มีใยอาหารสูงประเภทลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วเขียว ข้าวโพด เป็นต้นใยอาหารมีส่วนช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อิ่มท้องได้นานลดความอยากของหวาน และลดความอ้วนได้ดี
- หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการเติมน้ำตาลลงในอาหารและเครื่องดื่ม: ในที่นี้หมายถึงน้ำตาลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทราย น้ำตาลทรายแดง น้ำผึ้งไซรัป และไฮฟรักโทสคอร์นไซรัป หรือน้ำตาลที่สกัดจากข้าวโพด
- บ้วนปากทุกครั้งหลังรับประทานของหวาน: เนื่องจากความรู้สึกที่สัมผัสได้ถึงความหวานจากต่อมรับรสชาตภายในช่องปากจะส่งผลให้เกิดความอยากอาหารและยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ฟันผุเพราะแบคทีเรียที่ยังคงหลงเหลืออยู่หลังจากรับประทานอาหารจะทำลายผิวเคลือบฟัน
- อ่านฉลากโภชนาการข้างบรรจุภัณฑ์: หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีปริมาณน้ำตาลมากกว่า 15 กรัม (3ช้อนชา) ก็ควรจะหลีกเลี่ยง
- ให้เวลาร่างกายในการปรับตัว: ร่างกายของเราจะใช้เวลาประมาณ 10 วันในการปรับสภาพลิ้นที่ติดรสชาติอาหารหวานดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้ความต้องการน้ำตาลลดลง
ถึงแม้ว่าการรับประทานน้ำตาลมากเกินไปจะเป็นปัจจัยของโรคเรื้อรังต่างๆและยังเป็นสาเหตุของความชราก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามน้ำตาลก็ยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกายโดยมีหน้าที่หลักในการให้พลังงาน อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารสมอง สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การดื่มน้ำหวานหรืออมลูกอมก็สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ในผู้ที่สูญเสียเหงื่อหรือมีอาการท้องเสีย การรับประทานของหวานก็จะทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
"เพราะฉะนั้นหากเราเลือกรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสมให้ถูกต้องตามปัจจัยแวดล้อมของแต่ละบุคคลอันประกอบไปด้วย อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง และกิจกรรมระหว่างวัน ก็จะทำให้ร่างกายไม่ขาดสมดุลและไม่ก่อให้เกิดความชราก่อนวัยอันควร"
ขอขอบคุณ ที่นี่, หนูแพร
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

โพสต์ 2013-10-10 17:57:37 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP