ดู: 278|ตอบกลับ: 1

A: อาหารเพื่อสุขภาพ ช่วยดีท็กอซ์อารมณ์ ต้านความเครียด

[คัดลอกลิงก์]
Dew
เช็คอินสะสม: 4681 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 22 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
ผู้เขียนเชื่อว่า สักครั้งในชีวิตของคนเรานั้นต้องเผชิญกับความเครียดแน่นอนไม่มากก็น้อยคงเป็นเรื่องเหลือเชื่อหากในชีวิตคนเราเกิดมาแล้วไม่เคยเผชิญหน้ากับความเครียดเลย ซึ่งความเครียดที่เราเจอมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุเช่น วัยเด็ก สิ่งที่ทำให้เด็กรู้สึกเครียดก็คือ ความรู้สึกกลัวว่าพ่อแม่จะไม่รัก กลัวการถูกทอดทิ้งวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเครียดเรื่องอยากได้การยอมรับจากเพื่อน ๆ และความสนใจจากเพศตรงข้ามเป็นสิ่งสำคัญส่วนวัยผู้ใหญ่ โดยทั่วไป ความเครียดมักเกิดจากเรื่องงานและครอบครัว เนื่องจากวัยนี้ต้องมีความรับผิดชอบเรื่องดังกล่าวสูง

ทั้งนี้ ความรู้สึกเครียดเรื่องเดียวกันจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางจิตใจและมุมมองความคิดของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ที่มีปัญหาทั้งเรื่องของเศรษฐกิจการเมืองสังคม รวมถึงปัญหาเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย ถึงแม้จะมีคำกล่าวไว้ว่าทุกปัญหามักมีทางออก แต่บางครั้งกว่าจะหาทางออกได้ก็หนักเอาการ ดังนั้นความเครียดจึงเป็นเรื่องที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้"ความเครียด" ในเชิงวิชาการ คือ การรักษาสมดุลของมนุษย์(Homeostasis) เป็นการกระตุ้นให้มนุษย์เราเลือกที่จะสู้หรือจะถอย(Fight of Fight) เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือมีปัญหามีรายงานวิจัยยืนยันว่า หากเรามีความเครียดอยู่ในปริมาณไม่มากนักสามารถช่วยให้เกิดความรู้สึกกระตือรือร้น มีพลังที่จะต่อสู้อุปสรรคที่เผชิญอยู่ได้รวมถึงสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้
ในทางตรงกันข้ามเมื่อเกิดความเครียดปริมาณมากนั้นสามารถบั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราได้ จนทำให้มีหลาย ๆ คนต้องพึ่งหมอ พึ่งยากันเลยทีเดียวดังนั้น คงเป็นการดีที่เราจะสามารถลดอาการที่เกิดจากความเครียด หรือล้างพิษของอาการเครียดเบื้องต้นได้ด้วยตนเองจากสิ่งใกล้ ๆ ตัวที่หลายคนอาจละเลย นั่นก็คือ "อาหาร"

ฮิปโพคราตีส (Hippocrates) บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตกได้กล่าวไว้ว่า "let your food be your medicine" หรือ"ให้อาหารมาเป็นยาของเรา" นั่นเอง เรื่องของอาหารกับอารมณ์นั้นได้มีรายงานวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศพบว่า เมื่ออารมณ์ของคนเราเปลี่ยนไป เช่นมีความเครียด หรือซึมเศร้า จะมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบิโภคอาหาร และชนิดของอาหารก็มีผลต่อภาวะอารมณ์ของคนเช่นกัน
ดังนั้น ผู้เขียนจะขออาสานำเสนอวิธีการต้านทานความเครียดแบบง่ายๆ ด้วยการใช้อาหารชนิดต่าง ๆ กันซึ่งก็อาจจะเหมาะสมกับจริตของท่านผู้อ่านที่แตกต่างกันด้วย
1. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ตามสมมติฐานของ Wurtman (Wurtman hypothesis) ได้ค้นพบว่ากินคาร์โบไฮเดรตและอารมณ์เครียดนั้นมีความสัมพันธ์กันตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรค Seasonal Affective Disorder (SAD) คือ ผู้ป่วยมีอาการโรคซึมเศร้าบางฤดูโดยเฉพาะฤดูหนาวเมื่อกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง แล้วสามารถลดอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นได้  ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะเพิ่มกรดอะมิโนที่มีชื่อว่าทริปโตเฟน (tryptophan) ให้สูงขึ้นและสามารถผ่านเยื่อหุ้มสมองซึ่งร่างกายจะนำไปใช้สร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ "เซโรโทนิน" โดยสารนี้ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทมีบทบาทหลายหน้าที่ เช่น ควบคุมความหิว ความโกรธ รู้สึกเบิกบานใจ และอารมณ์ต่าง ๆ กรณีนี้ หากผู้อ่านอยากกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงๆ เพื่อปรับอารมณ์นั้น ผู้เขียนแนะนำให้เลือกเป็นพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ขนมปังโฮลวีทซีเรียล ข้าวโอ๊ต ฟักทอง เผือก มันเทศ เนื่องจากดีต่อสุขภาพและจะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากนักอย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หรืออาจเลี่ยงไปกินอาหารประเภทอื่นแทน
2. อาหารประเภทปลาทะเลและปลาน้ำจืด มีรายงานวิจัย โดย National health and NutritionExamination Survey ของสหรัฐอเมริกา ศึกษาในผู้ใหญ่วัย 25-75ปี จำนวน 5,068 คน พบว่า ผู้ที่กินปลาทะเล ซึ่งเป็นแหล่งไขมันชนิดโอเมก้า-3(omega-3) นั้น จะมีอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าน้อยกว่าผู้ที่มีการกินปลาทะเลต่ำและในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็พบว่ามีระดับของไขมันชนิดนี้ในเลือดต่ำสอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ตัวอย่างของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 คือกรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (Eicosapentaenoic acid หรือ EPA)และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic acid หรือ DHA) ที่ช่วยในการทำงานของสมองและสมาธิให้ดีขึ้นและยังพบว่ากรดไขมันกลุ่มนี้มีผลต่อสารสื่อประสาทอีกด้วยซึ่งจะส่งผลต่อการปรับสมดุลทางด้านอารมณ์  สำหรับอาหารที่เป็นแหล่งของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ได้แก่ ปลาทะเลต่าง ๆ น้ำมันปลา สาหร่ายทะเล ไข่ และอะโวคาโดในส่วนของปลาทะเลนั้นอาจมีราคาค่อนข้างแพง แต่เราสามารถกินปลาน้ำจืดแทนได้   ปลาน้ำจืดบางชนิดก็ให้โอเมก้า-3สูง (ปริมาณเนื้อปลา 100 กรัม)ในปลาสวายเนื้อขาว มีโอเมก้า-3 สูงถึง 2,570 มก. ปลาช่อนมีโอเมก้า-3 ถึง 870 มก. และปลากะพงขาว 310 มก.
3. อาหารที่มีวิตามินซีสูง เป็นที่ทราบกันดีว่าวิตามินมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระต้านมะเร็ง และเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย นอกจากนั้นยังสามารถช่วยลดอาการเครียดและช่วยให้ร่างกายสามารถต้านทานความเครียดได้ดีโดยจะช่วยปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระซึ่งเกิดจากภาวะเครียด ที่จะมาทำร้ายเซลล์ร่างกายของเราได้ อาหารที่มีวิตามินซีสูงได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม มะนาว ฝรั่ง มะขามป้อมและผักใบเขียวต่าง ๆ
4. อาหารที่มีวิตามินบีต่าง ๆ วิตามินบีมีหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 (ไทอามีน)วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก) วิตามินบี 6(ไพริด็อกซีน) วิตามินบี 7 (ไอโอทิน)วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก) วิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน)  บรรดาวิตามินดังกล่าวนี้ ล้วนมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทและภาวะอารมณ์ของคนเราอาหารที่มีวิตามินบีคอมเพล็กซ์เหล่านี้ ได้แก่ ถั่วและธัญพืชที่ไม่ขัดสี จมูกข้าวสาลีกล้วย ผักใบเขียว ข้าวโพด ไข่ อะโวคาโด
5. อาหารที่มีสังกะสีและโพแทสเซียม สังกะสีมีหน้าที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้โดยเฉพาะเมื่อเราตกอยู่ในสภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้าเป็นเวลานาน ๆ ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะอ่อนแอลงโดยเฉพาะผู้หญิงมีรายงานว่าหากขาดธาตุสังกะสีจะทำให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนและโรคซึมเศร้าได้  อาหารที่มีสังกะสีสูงได้แก่ อาหารทะเล ตับ เนื้อไม่ติดมัน ไข่แดงจมูกข้าวสาลี และงา  ส่วนโพแทสเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นมากในการส่งสัญญาณสื่อประสาทของสมองอีกทั้งช่วยรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย อาหารที่ให้โพแทสเซียมสูง ได้แก่ กล้วยหอมส้ม แคนตาลูป ผลไม้แห้ง มันฝรั่ง มะเขือเทศ และแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อระบบประสาท คือ แคลเซียม ช่วยในการยืดหดตัวของกล้ามเอและการทำงานของระบบประสาทพบมากในอาหารประเภทนมและผลิตภัณฑ์นม ปลาและกุ้งตัวเล็กตัวน้อย
6. อาหารที่มีกรดอะมิโนทริปโตเฟน กรดอะมิโนทริปโตเฟน (tryptophan) เนื่องจากกรดอะมิโนชนิดนี้จะถูกร่างกายเปลี่ยนให้เป็นเซโรโทนิน(5-hydroxytryptamine; 5-HT) ได้ โดยเซโรโทนินจะช่วยให้จิตใจสงบนอนหลับง่าย อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการจดจำและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วย อาหารที่มีกรดอะมิโนชนิดนี้มาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะนมและผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากถั่วเหลือง พวกถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ
7. ช็อกโกแลต  ช็อกโกแลตถือเป็นอาหารยอดนิยมอันดับหนึ่งที่ได้ยินกันมานานว่าใช้คลายเครียดได้และมีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนคุณสมบัตินี้ ช็อกโกแลตมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ

          - โกโก้เมส(cacao mass) ได้จากการบดเนื้อเมล็ดโกโก้ให้ละเอียด
         
          - เนยโกโก้(cacao butter) ได้จากการนำโกโก้แมสไปเข้าเครื่องบีบอัดไฮโดรลิกความดันสูงซึ่งก็จะได้เนยโกโก้ ถือเป็นไขมันจากพืชที่มีคุณภาพดีที่สุด และมีราคาแพงที่สุด ทำหน้าที่ให้ความมันเงาและให้เนื้อสัมผัสที่ดีเวลากินช็อกโกแลต

          - น้ำตาลซึ่งจะช่วยเสริมรสชาติของช็อกโกแลต

สำหรับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่าการกินช็อกโกแลตมีผลต่อภาวะอารมณ์ของคนมีจำนวนมากโดยการทดลองส่วนใหญ่จะให้อาสาสมัครสุขภาพดีกินช็อกโกแลตในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยจะอยู่ในช่วง40-100 กรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของช็อกโกแลต
สำหรับระยะเวลาที่ให้กินนั้นประมาณ1-2 สัปดาห์ โดยรายงานวิจัยจำนวนมากได้ข้อสรุปว่าเมื่ออาสาสมัครได้รับช็อกโกแลตปริมาณดังกล่าวอาการเครียดลดลง และมีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใสขึ้นเพราะในช็อกโกแลตมีสารที่สามารถช่วยกระตุ้นสารสื่อประสาท (neurotransmitter)เช่น โดพามีน (dopamine) เซโรโทนิน (serotonin)และเอ็นดอร์ฟิน (endorphins) ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนมีผลต่ออารมณ์ของคนเรานอกจากนี้ยังควบคุมการนอนหลับและความอยากอาหารอีกด้วย

สารสำคัญที่มีอยู่ในช็อกโกแลต ซึ่งมีผลต่อภาวะอารมณ์ของเรา ได้แก่ สารประกอบพวกเอมีน(amines) คาเฟอีน (caffeine) สารประกอบพวกเอมีนอัลคาลอยด์เช่น ทีโอโบรไมน์ (theobromine) เฟนีลเอทิลลามีน (phenylethylamine)และแมกนีเซียม โดยสารเหล่านี้จะส่งผลในการปรับเปลี่ยนสมดุลของฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในสมองส่วนในผู้หญิงพบว่า ช็อกโกแลตสามารถช่วยลดอารมณ์แปรปรวน (mood swing) ได้เป็นอย่างดีในช่วงก่อน และหลังมีประจำเดือน
นอกจากทำให้อารมณ์ดีแล้ว ยังพบว่าช็อกโกแลตสามารถช่วยชะลอความแก่และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ซึ่งช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ได้ถึงแม้จะมีงานวิจัยจำนวนมากรายงานถึงประโยชน์ของช็อกโกแลตในแง่ของการปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นแต่มีบางรายงานการวิจัยพบว่า การตอบสนองต่อช็อกโกแลตนั้นไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับพันธุกรรม เมตาบอลิซึม และเพศ
การกินช็อกโกแลตในผู้ชายก็ให้ผลดีมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากเวลาผู้หญิงกินช็อกโกแลตแล้วมักจะเกิด"ความรู้สึกผิด" ขึ้นทีหลังเสมอ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกว่ากินช็อกโกแลตแล้วจะอ้วนนอกจากนี้การกินช็อกโกแลตเพื่อให้บำบัดอารมณ์นั้น ต้องระวังการติดช็อกโกแลต(chocoholism)
ส่วนการกินช็อกโกแลตให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นต้องเป็น "dark chocolate" หรือช็อกโกแลตแท้ที่มีส่วนผสมของโกโก้แมสร้อยละ60 ขึ้นไป และควรเลือกช็อกโกแลตที่มีความหวานน้อย(ซึ่งอาจไม่ค่อยอร่อยเท่าไรนัก) สำหรับปริมาณในการกินนั้นแนะนำว่าให้กินวันละ 40กรัม หรือ 1.4 ออนซ์
8. กาแฟและชา  ปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยสถิติการดื่มกาแฟของแต่ละประเทศนั้นเพิ่มขึ้นทุกปีจากผลการสำรวจพบว่า คนญี่ปุ่นดื่มกาแฟ 1.41 ถ้วยต่อวันคนอเมริกันดื่ม 1.73 ถ้วยต่อวัน และคนเยอรมันดื่มมากถึง 3.87ถ้วยต่อวัน โดยพบว่าความเครียดสัมพันธ์กับการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะในญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าสังคมญี่ปุ่นนั้นมีความเครียดสูงซึ่งก็สอดคล้องต่อค่าเฉลี่ยการดื่มกาแฟต่อคนต่อวันที่เพิ่มขึ้นทุกปี  กาแฟมีสารสำคัญคือ คาเฟอีน มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าอีกทั้งมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น  สำหรับผลของกาแฟต่ออารมณ์และการทำงานของสมองนั้นมีการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและในคนพบว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ผ่อนคลายความเครียด(stress-relaxing effects) ได้ สารออกฤทธิ์หลักคือ คาเฟอีน โดยคาเฟอีนจะไปกระตุ้นสารสื่อประสาทได้แก่ โดพามีน และเซโรโทนิน ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) นอกจากคาเฟอีนแล้วในกาแฟ ยังมีสารประกอบพวกฟีนอลิก (phenolic compound) เช่น กรดคลอโรจีนิก (chlorogenicacid) และอนุพันธ์ของคาเทซิน (catechin) ซึ่งสารเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของสมองและอารมณ์เช่นกันและยังมีฤทธิ์ช่วยต้านการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายด้วย
เครื่องดื่มอีกชนิดซึ่งมีรายงานการวิจัยว่าสามารถช่วยทำให้อารมณ์ดีได้ก็คือ"ชา" เนื่องจากในชานั้น นอกจากมีคาเฟอีนแล้วยังมีสารอื่นที่มีประโยชน์ เช่นทีอานีน (theanine) นักวิจัยพบว่าสารชนิดนี้มีผลต่อสารสื่อประสาท2 ชนิด คือ เซโรโทนิน และกาบา (GABA) จะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและความรู้สึกกังวลใจอีกทั้งชายังมีสารพอลีฟีนอลิก (polyphenolic compound) ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจมะเร็ง อ้วน และโรคเบาหวานได้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นผลพลอยได้จากการดื่มชา
นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบอีกว่าการดื่มกาแฟและชานั้น สามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดความเสื่อทางระบบประสาท(neurodegenerative disorders) เช่น พาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ สำหรับกลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์สมองนั้นยังไม่ชัดเจน
ปริมาณของคาเฟอีนที่มีผลเพิ่มภาวะอารมณ์ความตื่นตัวและสมาธิในการทำงานนั้น มีค่าอยู่ระหว่าง 50-300 มก.ซึ่งปกติกาแฟ 1 ถ้วยมาตรฐาน (150 มล.) นั้นจะมีปริมาณกาเฟอีนอยู่ระหว่าง71-120 มก./ถ้วย ของสายพันธุ์ Arabica ส่วนRobusta นั้นจะมีปริมาณคาเฟอีนมากกว่าประมาณ 2 เท่าคือ 131-220 มก./ถ้วย
การดื่มกาแฟเพื่อสุขภาพที่ดีนั้นปริมาณที่ดื่มควรอยู่ระหว่าง 1-2 แก้ว

ส่วนชาจะมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟคือ 32-52 มก./ถ้วยโดยสามารถดื่มได้ในปริมาณที่มากกว่า

อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านต้องสังเกตดูความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงรวมถึงประสิทธิภาพการทำงาน ผู้ที่ไวหรือแพ้ต่อคาเฟอีนนั้นควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทนี้
จะเห็นได้ว่าอาหารที่สามารถใช้ได้ในการดีท็อกซ์อารมณ์นั้นมีหลายชนิดโดยท่านผู้อ่านอาจจะเห็นได้ว่าอาหารที่สามารถใช้ได้ในการดีท็อกซ์อารมณ์นั้นมีหลายชนิดโดยท่านผู้อ่านอาจเลือกกินชนิดที่ท่านชอบ หรือตามความสะดวกและเหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องกินชนิดใดชนิดหนึ่งอาจทำการผสมผสานแบบมิกซ์ แอนด์ แมทช์ ก็ได้ ทั้งนี้ พึงสังเกตว่าอาหารที่เลือกกินนั้นเหมาะสมกับท่านหรือไม่เนื่องจากผลของอาหารแต่ละชนิดที่มีต่ออารมณ์นั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกันนอกจากการใช้อาหารเข้าช่วยบำบัดอารมณ์แล้ว การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาความเครียดหรือความขุ่นมัวของอารมณ์ที่เกิดขึ้น คือ ต้องมีความรู้สึกตัวมีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น และยอมรับกับตัวเองว่ามีทุกข์เกิดขึ้นภายในจิตใจเพราะขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนแรกที่จะนำเราไปสู่วิธีการแก้ไขทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นย่อมมีความทุกข์มาเยี่ยมเยือนบ้างเป็นครั้งคราวซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม หากท่านผู้อ่านได้ทดลองใช้อาหารเพื่อบำบัดอารมณ์แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการซึมเศร้ามากกว่า 6 เดือนขึ้นไป แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด
ทั้งนี้ พึงสังเกตว่าอาหารที่เลือกกินนั้นเหมาะสมกับท่านหรือไม่ เนื่องจากผลของอาหารแต่ละชนิดที่มีต่ออารมณ์นั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกันนอกจากการใช้อาหารเข้าช่วยบำบัดอารมณ์แล้ว การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้เช่นกัน
สิ่งสำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาความเครียดหรือความขุ่นมัวของอารมณ์ที่เกิดขึ้น คือ ต้องมีความรู้สึกตัวมีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น และยอมรับกับตัวเองว่ามีทุกข์เกิดขึ้นภายในจิตใจเพราะขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนแรกที่จะนำเราไปสู่วิธีการแก้ไขทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นย่อมมีความทุกข์มาเยี่ยมเยือนบ้างเป็นครั้งคราวซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม หากท่านผู้อ่านได้ทดลองใช้อาหารเพื่อบำบัดอารมณ์แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการซึมเศร้ามากกว่า 6 เดือนขึ้นไป แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด
ขอขอบคุณอาหารดีท็อกซ์อารมณ์ (หมอชาวบ้าน) โดย ดร.ดาลัด ศิริวัน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

โพสต์ 2013-10-18 21:25:39 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP