ดู: 331|ตอบกลับ: 1

A: ทฤษฎีใหม่ว่าด้วย "รูหนอน" และ "ไทม์แมชีน"

[คัดลอกลิงก์]
Dew
เช็คอินสะสม: 4681 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 22 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
171128.jpg
"ไทม์ทราเวล" หรือ "การเดินทางข้ามเวลา" และ "ไทม์ แมชีน" หรือยานพาหนะเพื่อการเดินทางข้ามกาลเวลาเป็นเรื่องที่พูดถึงกันมายาวนานตั้งแต่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นำเสนอาทฤษฎีว่าด้วยมีอยู่ของ"เวิร์มโฮล" หรือ "รูหนอน" ไว้ด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ใน "ทฤษฎีสัมพัทธ ภาพทั่วไป"กระตุ้นให้เกิดความคิดเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลาโดยอาศัย "รูหนอน" ที่ว่านี้ขึ้นมากมายทั้งในบรรดา นักเขียนและนักวิทยาศาสตร์
ที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นผลงานของคิป ธอร์น นักฟิสิกส์ สังกัด สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (คาลเทกซ์)ของสหรัฐอเมริกา ที่อาศัยสูตรทางคณิตศาสตร์แสดงให้เห็นว่า "รูหนอน" นั้น"เดินทางผ่านได้" ในตอนปลายคริสตทศวรรษ 1980
การศึกษาของคิป ธอร์น แสดงให้เห็นว่าโดยธรรมชาติแล้วรูหนอนที่จะเป็นทางลัดข้ามกาลเวลาดังกล่าวนี้ ไม่"เสถียร" พอที่จะให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดผ่านไปได้

ดังนั้นจำเป็น ต้องมีพลังงานบางอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้ความเสถียรในโลกของควอนตัมฟิสิกส์ พลังงานที่เป็นพลังงานขั้วลบที่ว่านี้อาจอยู่ในรูปของพลังงาน"คาสิเมียร์" ตามทฤษฎีของ คิป ธอร์น "คาสิเมียร์" สามารถทำให้"ปาก" ของ "รูหนอน" เปิดอยู่ได้นานพอที่จะทำให้บางสิ่งบางอย่างผ่านไปได้
แต่นั่นหมายถึง"บางสิ่งบางอย่าง" ที่มีขนาดเป็น "ควอนตัม"หรือเป็นอนุภาคของพลังงานเท่านั้น นอกจากนั้นถึงแม้จะมีพลัง "คาสิเมียร์"รูหนอนที่ว่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะยุบตัวหายไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย
นั่น เป็นเรื่องของทฤษฎีเก่าเมื่อเร็วๆนี้ลู้ค บุทเชอร์ นักทฤษฎีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เพิ่งหันกลับไปประเมินทฤษฎีของคิป ธอร์น เสียใหม่ นำมาคิดต่อแล้วก็บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่จะสร้าง "รูหนอน" ใหม่ให้มีความเสถียรมากขึ้นกว่าเดิมการยุบตัวของมันสามารถป้องกันได้เป็นระยะเวลายาวนาน แต่ต้องเป็นรูหนอนที่ยาวและมีปากรูแคบจนทำให้ "โฟตอน" เท่านั้นที่สามารถผ่านได้

อย่างไรก็ตาม บุทเชอร์ยอมรับว่าการคำนวณของตนไม่เป็นที่ชัดเจนว่า

อนุ ภาคโฟตอนที่ว่านั้นจะผ่าน "รูหนอน" จากด้านหนึ่งไปออกยังอีกด้านหนึ่งได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่แต่บอกว่าแค่เพียงมี "ความเป็นไปได้" ในการส่งอะไรสักอย่างจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยความเร็วที่เร็วกว่าความเร็วแสงได้ก็ทำให้เรื่องนี้ "เย้ายวนใจ" เหลือหลายแล้ว
เพราะนั่นหมายถึงความเป็นไปได้ที่เราจะสามารถสร้าง"การสื่อสาร" ถึงกันและกันในระดับความเร็วเหนือแสงนั่นเอง
ข้อที่น่าสังเกตก็คือผลการศึกษาวิจัยของ ลู้ค บุทเชอร์ ดังกล่าวนี้ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า"รูหนอน" นั้นมีอยู่จริง เพราะจนถึงขณะนี้เรายังไม่มีหลักฐานทางกายภาพใดๆที่แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ดังกล่าวแต่อย่างใดสิ่ง ที่ บุทเชอร์ และ แม้แต่ คิป ธอร์น คำนวณไว้นั้น เป็นเพียงแค่การแสดงให้เห็นว่าถ้าหากมี เราจะส่งอะไรผ่านรูหนอนเหล่านั้นได้ด้วยวิธีไหนเท่านั้นเอง
การรู้ให้ได้ว่า"รูหนอน" นั้นมีอยู่จริงหรือไม่คงต้องอาศัยการคิดคำนวณและการศึกษาวิจัยอีกมากมายกว่านี้มาก
ขอขอบคุณ ที่นี่, หมูอ้วน
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

โพสต์ 2014-5-31 07:33:40 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ดีมากครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP