สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
เสาหลักอาเซียน คือ 3ความร่วมมือหลักของกลุ่มสมาชิกอาเซียน ที่จะช่วยหล่อหลอมทุกประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเป็นหนึ่งเดียว มีความแข็งแกร่งและเข้มแข็งสามารถแข่งขันในทุกๆด้านกับภูมิภาคอื่นๆได้
3 เสาหลักอาเซียน หมายถึง ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นภาพรวมของการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยตามข้อตกลงบาหลี2 เมื่อปี พ.ศ.2546ได้มีข้อตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น โดยแบ่งแยกออกเป็น 3ประชาคมย่อย โดยทั้ง 3 ประชาคมย่อยนั้นเราเรียกว่า 3 เสาหลักอาเซียนนั่นเองซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2563 แต่ต่อมามีการกำหนดให้แล้วเสร็จให้เร็วขึ้นจากเดิมอีก5 ปี คือต้องแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2558
3 เสาหลักอาเซียน ประกอบด้วย
1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEANPOLITICAL-SECURITY COMMUNITY หรือ APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY หรือ AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURALCOMMUNITY หรือ ASCC) รายละเอียดของ 3 เสาหลักอาเซียน
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3ประการคือ - การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกันครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิกส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลเป็นต้น - ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบ เดิมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ - การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกเพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และการประชุมสุดยอดเอเชียตะ วันออกตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เช่นสหประชาชาติ 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีอาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN EconomicCommunity Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ได้แก่ - การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว(single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น - การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่นนโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษีและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน) - การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ - การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้ อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEANIdentity) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน6 ด้าน ได้แก่
1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา 3 เสาหลักอาเซียนนั้นมีเป้าหมายที่จะเริ่มต้นกันอย่างจริงจังและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป แต่คน ไทยเรา มักจะจำแค่ว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC จะเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2558 เนื่องจากมีการตื่นตัวกันทั้งภาครัฐและเอกชนแต่ในความจริงแล้ว ต้นปี 2558 คือจุดเริ่มต้นของเสาหลักอาเซียนทั้ง3 เสาหลักพร้อมๆกัน
ขอขอบคุณเกร็ดความรู้
|