ยังไม่ได้เช็คอิน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 62%
|
สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
หัวใจ (Heart)
หัวใจเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเท่ากำปั้น ภายในกลวง หัวใจจะอยู่ใต้กระดูกหน้าอก โดยมีตำแหน่งอยู่ในบริเวณส่วนกลางของหน้าอก ค่อนข้างไปทางซ้ายเล็กน้อย
หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย
ลิ้นปิดเปิดในหัวใจมี 4 ลิ้น มีตำแหน่งอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง และที่เส้นเลือดหลักในหัวใจ ลิ้นหัวใจทำหน้าที่กั้นเพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไหลไปในทิศทางเดียว
ในขณะที่ร่างกายพักผ่อน หัวใจจะมีอัตราการเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที การเต้นหรือการบีบตัวแต่ละครั้งเกิดจากตัวกระตุ้นทางกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกกระตุ้นโดยเซลล์พิเศษที่ชื่อ SA node กระแสไฟฟ้าที่ถูกกระตุ้นจาก SA node จะเดินทางผ่านชุดเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ทั่วทั้งห้องหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
หลอดเลือดหัวใจ
หัวใจต้องการออกซิเจนเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นในร่างกาย เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลอดเลือดหัวใจ (Coronary arteries) นำโลหิตที่เต็มไปด้วยออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ
หลอดเลือดหัวใจแตกแขนงมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) โดยหลอดเลือดหัวใจจะพาดอยู่บริเวณพื้นผิวของหัวใจ และจะแยกเป็นเส้นเลือดแขนงย่อยมากมายที่นำโลหิตไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โดยปกติแล้ว ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจจะมีลักษณะเรียบ การสะสมของชั้นไขมันและตะกอนอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า ภาวะการสะสมไขมันภายในผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) นั้นเป็นผลเสียต่อหลอดเลือด เนื่องจากจะไปขัดขวางการไหลของโลหิต ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น อาการเจ็บที่หัวใจอย่างรุนแรง หรือหัวใจวาย
หากเปรียบเทียบง่ายๆ การสะสมไขมันหรือตะกอนในหลอดเลือดก็จะเหมือนกับการสะสมของคราบสนิมในท่อน้ำเก่าๆ มีเพียงโลหิตจำนวนน้อยท่านั้นที่จะไหลผ่านไปได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ กับประสิทธิภาพของหลอดเลือดแคบๆ นี้
หัวใจขาดเลือดคืออะไร
เมื่อหัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนอย่างพอเพียง ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่าหัวใจขาดเลือด (Angina) ซึ่งมีสาเหตุจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวเป็นการเตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น |
|