สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
เราอยู่ในยุคที่คุณจะกดชัตเตอร์กี่ครั้งก็ได้ไม่พอใจก็ลบ แต่นั่นก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย สำหรับนักถ่ายภาพ ข้อดีคือสามารถเรียนรู้ได้เร็ว ง่าย และไม่ต้องลงทุนในการเรียนรู้มาก ส่วนข้อเสียคือเมื่อเรากดชัตเตอร์ได้ไม่จำกัด บางคนไม่ค่อยใส่ใจเรื่องการจัดองค์ประกอบเท่าไหร่ถ่ายมารัวๆ มากๆ และหวังว่าจะมาหาภาพที่ดีทีหลัง หยุดถ่ายมั่วๆและมาถ่ายภาพกันดีกว่า ก่อนจะถ่ายภาพ ลองถามตัวเองว่า เรารู้สึกอะไรอะไรที่เราต้องการจะสื่อ เราต้องการจะเล่าเรื่องราวแบบไหนวันนี้มีขั้นตอนง่ายๆที่ช่วยให้คุณเห็นอย่างช่างภาพ 1) เห็นแสง ลองเล่นกับแสงและเงาดู ลองดูแสงๆรอบๆตัวคุณไม่ว่าจะเป็นแสงแข็งหรือแสงนุ่ม และ มันส่งผลต่อวัตถุอย่างไรยิ่งคุณตระหนักเรื่องแสงมากเท่าไหร่คุณก็สามารถใช้มันให้เป็นประโยขน์ได้มากเท่านั้น ดูแสงที่ตกกระทบวัตถุหรือสิ่งก่อสร้าง (ภาพโดย Valérie Jardin) เมื่อเราเห็นแสงวัตถุธรรมดาก็กลายเป็นวัตถุที่น่าสนใจได้ (ภาพโดย Valérie Jardin)
2) มองด้วยกฏการจัดองค์ประกอบพื้นฐาน
มีหลากหลายทางที่จะช่วยให้คุณมองเรื่องนี้ให้เห็นก่อนกดชัตเตอร์
2.1 ชัดตื้น
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยนำสายตาคนดูได้ คือเรื่องของโฟกัสสายตาคนเราจะโฟกัสไปยังจุดที่ชัดก่อน หาสิ่งที่น่าสนใจและโฟกัสมัน
ใช้จุดโฟกัสและชัดลึกชัดตื้นเพื่อนำสายตาคนดู (ภาพโดย ValérieJardin)
2.2 เส้นนำสายตา
เป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม แต่การใช้เส้นนำสายตาเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัลงในการนำสายตาคนดู
การใช้เส้นนำสายตาในการจัดองค์ประกอบ(ภาพโดย Valérie Jardin)
2.3 กฎสามส่วน
หากงงว่ากฏสามส่วนคืออะไร คลิ๊กที่นี่ มองสิ่งที่อยู่ตรงหน้าด้วยกฏสามส่วน แต่คุณก็สามารถแหกกฏนี้ได้เช่นกันหากคุณคิดว่ามันจะดีกว่า
ใช้กฏสามส่วน (ภาพโดย ValérieJardin)
แหกกฏหากคุณต้องการตราบใดที่คุณรู้ว่าทำไมคุณถึงต้องแหก (ภาพโดย Valérie Jardin) 2.4 รู้จักการใช้สี
มันคล้ายๆกับเรื่องโฟกัส ที่สามารถช่วยนำสายตาได้ การใช้สีเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอีกอันนึงเพราะสีสามารถนำสายตาได้ และมันเป็นอีกเหตุผลสำหรับการเปลี่ยนภาพสีเป็นขาวดำด้วยเพราะต้องการลบสีที่กวนสายตา ทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้น
2.5 ใช้พื้นที่ว่างให้เป็นประโยชน์
พยายามใช้พื้นที่ว่างอย่างสร้างสรรค์ ทำให้ได้ภาพที่ดีมากขึ้น การใช้พื้นที่ว่างอย่างสร้างสรรค์ (ภาพโดย ValérieJardin)
2.6 รูปแบบ(pattern)
มองหา pattern หรือ แบบที่ซ้ำๆ กันและมองหาสิ่งที่แหก pattern นั้นๆช่วยให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น
มองหารูปแบบซ้ำๆกันและจะดีมากเมื่อมีสิ่งที่แหกกฏออกมา (ภาพโดย Valérie Jardin)
รูปแบบซ้ำๆกันจะช่วยนำสายตาได้ (ภาพโดย Valérie Jardin)
3) Less is more
ลองสร้างภาพที่แข็งแรงด้วยการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากเฟรม อย่างหนึ่งที่เห็นได้บ่อยคือการพยาายามยัดสิ่งต่างๆไปในเฟรมมากเกินไป ลองทำให้มันง่าย(Keep it simple) ฝึกครอปในกล้องของคุณ ลองใช้เลนส์ฟิกซ์ดูมันช่วยเรื่องนี้ได้ (ภาพโดย ValérieJardin)
คิดแบบเรียบง่ายจะช่วยทำให้ภาพดูน่าสนใจได้เช่นกัน (ภาพโดย Valérie Jardin)
4) เข้าไปใกล้ๆ
วัตถุที่ดูธรรมดามันจะดูน่าสนใจขึ้นเมื่อคุณวางกรอบให้มันดูแน่นขึ้น เข้าไปใกล้ๆหากคุณคิดว่าใกล้แล้ว เข้าไปใกล้อีก (ภาพโดยValérie Jardin)
ใกล้แล้วใกล้อีก (ภาพโดย ValérieJardin)
5) มุมมองใหม่ๆ
พยายามถ่ายจากมุมมองใหม่ มุมสูง มุมต่ำช่วยให้ได้ภาพในมุมมองที่หลากหลายน่าสนใจ
บางอย่างดูไม่น่าสนใจในระดับสายตา
6) มองพื้นหลัง
ใช้เวลาซักหน่อยในการดูพื้นหลังที่น่าสนใจไม่ให้มีสิ่งมารบกวนสายตา
ภาพนี้คนถ่ายเดินไปทางขวาอีกหน่อยเพื่อแยกsubject กับกระถางต้นไม้
ครั้งต่อไปที่คุณหยิบกล้องออกไปถ่ายหวังว่าคุณจะรู้สึกกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและคิดออกมาได้ว่าจะสื่อสารด้วยภาพของคุณได้อย่างไร ไม่นานการจัดองค์ประกอบเหล่านี้จะกลายเป็นสัญชาตญาณของคุณโดยไม่ต้องคิดอีกต่อไป
credits: dps
|