สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
"รัก" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับความรู้สึก สำหรับความหมายอื่น ดูที่ รัก (แก้ความกำกวม)
ภาพวาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต
ความรัก (อังกฤษ: Love) เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคล ("ฉันรักแม่ของฉัน") ไปถึงความพึงพอใจ ("ฉันรักอาหารมื้อนั้น") อาจหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้า[1] ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในพระวรสารในสารบบ[2] ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา[3] คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และเจตคติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นความหมายของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความหมายของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความหมายของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ[4] หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา[5] ความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่ารักนี้ ประกอบกับความรู้สึกอันซับซ้อนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นการยากที่จะนิยามความรักให้แน่นอน แม้จะเทียบกับสภาพอารมณ์อื่น ๆ แล้วก็ตาม วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยพื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์[6] นิยาม[แก้]ตัวอย่างสัญลักษณ์ของความรัก
รูปหัวใจสีแดง
สัญลักษณ์มือ
"ฉันรักคุณ"
กามเทพ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า รัก ไว้ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, ชอบ[7] อย่างไรก็ตาม คำว่า "รัก" สามารถมีความหมายที่เกี่ยวข้องกันแต่แตกต่างกันชัดเจนจำนวนมากขึ้นอยู่กับบริบท บ่อยครั้งที่ในแต่ละภาษาจะใช้คำหลายคำเพื่อแสดงออกซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความรักที่แตกต่างกัน ตัวอย่างหนึ่งคือการที่ในภาษากรีกมีคำหลายคำที่ใช้สำหรับความรัก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับความรักทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้นที่จะหานิยามสากลของความรัก[8] ในคดีระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์, สุดา ปรัชญาภัทร โจทก์ร่วม กับเสริม สาครราษฎร์ จำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2546) "...ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้ ความรักที่แท้จริงคือความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรักความยินดีที่คนที่ตนรักมีความสุข การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิด และการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคนที่ตนรัก จำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความผิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย หาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความเห็นผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง..."
ถึงแม้ว่าธรรมชาติหรือสาระของความรักจะยังเป็นหัวข้อการโต้เถียงกันอย่างบ่อยครั้ง มุมมองที่แตกต่างกันของความรักสามารถทำให้เข้าใจได้ด้วยการพิจารณาว่าสิ่งใดไม่ใช่ความรัก หากความรักเป็นการแสดงออกทั่วไปของความรู้สึกทางใจในแง่บวกที่รุนแรงกว่าความชอบ โดยทั่วไปแล้วจะขัดแย้งกับความเกลียดชัง (หรือภาวะไร้อารมณ์แบบเป็นกลาง) หากความรักมีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยกว่าและเป็นรูปแบบความผูกพันทางอารมณ์แบบโรแมนติกที่เกี่ยวกับความสนิทสนมทางอารมณ์และทางเพศ โดยทั่วไปแล้วจะขัดแย้งกับราคะ และหากความรักเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีโรแมนติกสอดแทรกอยู่มาก ความรักก็จะขัดแย้งกับมิตรภาพในบางครั้ง ถึงแม้ว่าความรักมักจะใช้หมายถึงมิตรภาพแบบใกล้ชิดอยู่บ่อย ๆ หากกล่าวถึงแบบนามธรรม โดยปกติแล้วความรักจะหมายถึงความรักระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่บุคคลหนึ่งรู้สึกกับอีกบุคคลหนึ่ง บ่อยครั้งที่ความรักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเอื้ออาทรหรือคิดว่าตนเองเหมือนกับบุคคลหรือสิ่งอื่น ซึ่งอาจรวมไปถึงตัวบุคคลนั้นเองด้วย นอกเหนือไปจากความแตกต่างในแต่ละวัฒนธรรมในการเข้าใจความรักแล้ว แนวคิดเกี่ยวกับความรักยังได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลเมื่อเวลาผ่านไป นักประวัติศาสตร์บางคนเปรียบเทียบแนวคิดสมัยใหม่ของความรักแบบโรแมนติกกับความรักแบบเทิดทูนในยุโรประหว่างหรือหลังยุคกลาง ถึงแม้ว่าการมีอยู่ของความผูกพันแบบโรแมนติกจะปรากฏในบทกลอนรักในสมัยโบราณแล้วก็ตาม[9] มีสำนวนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับความรัก นับตั้งแต่ "ความรักเอาชนะทุกสิ่ง" ของเวอร์จิล ไปจนถึง "ทั้งหมดที่คุณต้องการคือความรัก" ของเดอะบีตเทิลส์นักบุญโทมัส อควีนาส ตามหลังอริสโตเติล นิยามความรักไว้ว่าเป็นความ "ปรารถนาดีแก่ผู้อื่น"[10] เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์อธิบายความรักไว้ว่าเป็นสภาพของ "คุณธรรมสูงสุด" ซึ่งปฏิเสธคุณธรรมที่เกี่ยวข้อง บางครั้ง ความรักถูกกล่าวถึงว่าเป็น "ภาษาสากล" ซึ่งข้ามผ่านความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษา ความรักที่ไม่ได้มีต่อบุคคล[แก้]อาจกล่าวได้ว่าบุคคลสามารถรักวัตถุสิ่งของ หลักการแนวคิด หรือเป้าหมาย หากบุคคลนั้นให้ความสำคัญต่อสิ่งดังกล่าวอย่างสูง และผูกมัดตัวเองอย่างลึกซึ้ง เช่นเดียวกัน การเผื่อแผ่ความเห็นเอกเห็นใจและ "ความรัก" ของเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร บางครั้งอาจก่อให้เกิดเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ความรักระหว่างบุคคล แต่เป็นความรักที่ไม่ได้มีต่อบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับปรัตถนิยมและความเชื่อมั่นทางจิตวิญญาณหรือทางการเมืองอย่างแรงกล้า[11] บุคคลยังสามารถ "รัก" วัตถุ สัตว์ หรือกิจกรรมได้เช่นเดียวกัน หากพวกเขาอุทิศตัวเองผูกมัดกับสิ่งนั้น หรือมิฉะนั้นก็พิจารณาว่าตัวเองเป็นอย่างเดียวกับสิ่งนั้น หากความเสน่หาทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องกับความรักประเภทนี้ สภาวะดังกล่าวจะถูกเรียกว่า กามวิตถาร (paraphilia) [12] ความรักระหว่างบุคคล[แก้]ความรักประเภทนี้หมายถึงความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน โดยเป็นความรู้สึกหรืออารมณ์ที่ทรงพลังว่าการชอบบุคคลอื่นธรรมดา ความรักระหว่างบุคคลนี้เกี่ยวข้องมากที่สุดกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล[13] ความรักประเภทนี้อาจเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือคู่รัก นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติทางจิตหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับความรัก อย่างเช่น การหมกมุ่นทางเพศ (erotomania) ตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนาได้ใคร่ครวญเกี่ยวกับปรากฏการณ์ความรักมากที่สุด ในศตวรรษที่ผ่านมา ศาสตร์แห่งจิตวิทยาได้เขียนเกี่ยวกับความรักอย่างมาก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ศาสตร์แห่งจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ ชีววิวัฒนาการ มานุษยวิทยา ประสาทวิทยาศาสตร์ และชีววิทยาได้เพิ่มเติมความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและการทำงานของความรัก พื้นฐานเคมี[แก้]เฮเลน ฟิชเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้นำในการศึกษาในประเด็นเรื่องความรัก แบ่งแยกประสบการณ์ความรักออกเป็นสามส่วนที่ทับซ้อนกัน ได้แก่ ราคะ ความเสน่หา และความผูกพันทางอารมณ์ ราคะเป็นความรู้สึกที่เกิดจากความต้องการทางเพศ ความเสน่หาแบบโรแมนติกพิจารณาว่าอะไรเป็นสิ่งที่คู่มองว่าน่าดึงดูดและติดตาม ถนอมเวลาและพลังงานโดยการเลือก และความผูกพันทางอารมณ์รวมไปถึงการอยู่ร่วมกัน ภาระพ่อแม่ การป้องกันร่วมกัน และในมนุษย์ยังรวมไปถึงความรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง[14] วงจรประสาทที่แยกกันสามวงจร รวมถึงสารสื่อประสาท และยังรวมไปถึงรูปแบบพฤติกรรมทั้งสาม ล้วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบโรแมนติกทั้งสามข้างต้น[14]
แผนภาพพื้นฐานทางเคมีของความรักในภาพรวมอย่างง่าย
ราคะเป็นความปรารถนาทางเพศแบบมีอารมณ์ใคร่ในช่วงแรกที่สนับสนุนการหาคู่ และเกี่ยวข้องกับการเพิ่มการหลั่งสารเคมีอย่างเช่นเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน ผลกระทบเหล่านี้น้อยครั้งนักที่จะเกิดขึ้นนานกว่าไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน ส่วนความเสน่หามีความเป็นส่วนตัวมากกว่าและความต้องการแบบโรแมนติกสำหรับบุคคลพิเศษที่เลือกให้เป็นคู่ ซึ่งจะพัฒนามาจากราคะเป็นการผูกมัดกับรูปแบบคู่คนเดียว การศึกษาด้านประสาทวิทยาศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้บ่งชี้ว่าบุคคลที่ตกหลุมรัก สมองจะหลังสารเคมีออกมาเป็นชุดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงฟีโรโมน โดพามีน นอร์อิพิเนฟริน และเซโรโทนิน ซึ่งจะส่งผลคล้ายกับแอมเฟตามีน กระตุ้นศูนย์ควบคุมความสุขของสมองและนำไปสู่ผลกระทบข้างเคียง อย่างเช่น อัตราเร็วในการเต้นของหัวใจ การสูญเสียความอยากอาหารและการนอน และความรู้สึกตื่นเต้นอย่างรุนแรง การวิจัยได้บ่งชี้ว่าที่ระดับนี้มักจะกินเวลาตั้งแต่ปีครึ่งถึงสามปี[15] ระดับราคะและความเสน่หาถูกพิจารณาว่าเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ระดับที่สามเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความสัมพันธ์ในระยะยาว ความผูกพันทางอารมณ์เป็นสิ่งผูกมัดที่สนับสนุนความสัมพันธ์ที่จะกินเวลานานหลายปีและอาจถึงหลายสิบปี ความผูกพันทางอารมณ์โดยปกติแล้วขึ้นอยู่กับการผูกมัดอย่างเช่นการแต่งงานหรือการมีลูก หรือมีมิตรภาพระหว่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างเช่นมีความชอบร่วมกัน ความรู้สึกเช่นนี้จะเชื่อมโยงกับสารเคมีระดับสูงกว่า ได้แก่ อ็อกซีโทซินและวาโซเพรสซิน เป็นจำนวนมากกว่าในระดับที่เป็นความสัมพันธ์ระยะสั้นกว่า[15] เอ็นโซ อีมานูเอลและเพื่อนร่วมงานได้รายงานว่าโมเลกุลโปรตีนที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบประสาท (NGF) จะมีระดับสูงเมื่อบุคคลตกหลุมรักเป็นครั้งแรก แต่จะกลับคืนสู่ระดับปกติหลังจากนั้นเป็นเวลาหนึ่งปี[16] พื้นฐานจิตวิทยา[แก้]
การจูบ ซึ่งเป็นการแสดงออกของความรักรูปแบบหนึ่ง
ในทางจิตวิทยาบรรยายความรักไว้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และสังคม นักจิตวิทยา โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก กำหนดทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรักโดยให้เหตุผลว่าความรักประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่างที่แตกต่างกัน ได้แก่ ความใกล้ชิด การผูกมัด และความหลงใหล ความใกล้ชิดเป็นรูปแบบที่บุคคลสองคนแบ่งปันความเชื่อมั่นและรายละเอียดหลายประการของชีวิตส่วนตัว และโดยปกติแล้วจะแสดงออกในรูปของมิตรภาพและความสัมพันธ์แบบรักโรแมนติก ส่วนการผูกมัดนั้น เป็นการคาดหวังว่าความสัมพันธ์นี้จะคงอยู่ถาวร ส่วนประการสุดท้ายและเป็นรูปแบบทั่วไปของความรักนั้นคือการดึงดูดและความหลงใหลทางเพศ ความรักแบบหลงใหลนั้นถูกแสดงออกในการหลงรักเช่นเดียวกับรักโรแมนติก รูปแบบทั้งหมดของความรักนั้นถูกมองว่าเกิดจากสามองค์ประกอบนี้ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน[17] นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซิก รูบิน ใช้การจำกัดความในทางจิตมิติในคริสต์ทศวรรษ 1970 งานของเขากล่าวว่าสามปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรักนั้นประกอบด้วยความผูกพันทางอารมณ์ ความเอื้ออาทร และความใกล้ชิด[18][19] ภายหลังมีการพัฒนาในทฤษฎีทางไฟฟ้าอย่างเช่น กฎของคูลอมบ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประจุไฟฟ้าบวกและลบจะดึงดูดกัน จึงมีการนำหลักการดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับชีวิตของมนุษย์ อย่างเช่น "การดึงดูดเพศตรงข้าม" ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา การวิจัยเกี่ยวกับการหาคู่ตามธรรมชาติของมนุษย์มักจะพบว่าสิ่งนี้ไม่เป็นความจริงเมื่อพิจารณาถึงอุปนิสัยและบุคลิกลักษณะ บุคคลค่อนข้างที่จะชอบคนอื่นที่คล้ายคลึงกับตนเอง อย่างไรก็ตาม ในขอบเขตไม่ปกติที่พบได้น้อยและค่อนข้างเฉพาะ อย่างเช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ดูเหมือนว่ามนุษย์จะชื่นชอบบุคคลที่ไม่เหมือนตัวเขาเอง (นั่นคือมีระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง) เนื่องจากนี่จะนำไปสู่ทารกที่ดีที่สุด[20] เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทฤษฎีความผูกพันระหว่างมนุษย์หลายทฤษฎีได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อใช้อธิบายความหมายของความผูกพันทางอารมณ์ การผูกมัด พันธะและความใกล้ชิด
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับทารก
ทางการตะวันตกบางประเทศได้แยกความรักออกเป็นสององค์ประกอบ คือ ความเห็นแก่ผู้อื่นและการรักตัวเอง มุมมองนี้ปรากฏในผลงานของสกอตต์ เพ็ก ผู้ซึ่งมีงานอยู่ในสาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ ได้สำรวจการจำกัดความของความรักและความชั่วร้าย เพ็กยืนยันว่าความรักนั้นเป็นการประกอบกันของ "ความห่วงใยในการเติบโตทางด้านจิตวิญญาณของบุคคลอื่น" และการรักตัวเองแบบเรียบง่าย[21] ในการประกอบกัน ความรักเป็นกิจกรรม มิใช่เพียงความรู้สึก นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง อีริก ฟรอมม์ ยังได้ยืนยันในหนังสือของเขา "ศิลปะแห่งความรัก" ว่าความรักมิใช่เพียงความรู้สึกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการกระทำ และในข้อเท็จจริง "ความรู้สึก" ว่ารักนั้นเป็นเพียงสิ่งผิวเผินเมื่อเปรียบเทรียบกับบุคคลที่อุทิศให้กับความรักโดยการแสดงออกซึ่งกระทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน[22] ด้วยเหตุผลนี้ ฟรอมม์จึงระบุว่า สุดท้ายแล้ว ความรักไม่ใช่ความรู้สึกแต่อย่างใดเลย แต่ค่อนข้างจะเป็นการผูกมัด และการยึดมั่นในการแสดงออกซึ่งความรักต่อบุคคลอื่น ตัวเอง หรืออีกมากมาย เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง[23] ฟรอมม์ยังได้อธิบายความรักว่าเป็นทางเลือกการรับรู้ที่ในขั้นต้นของมันนั้นอาจถือกำเนิดขึ้นมาเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้สมัครใจ แต่ในเวลาต่อมาก็ไดม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกเหล่านั้นอีก แต่กลับขึ้นอยู่กับความผูกพันที่รับรู้ได้เสียมากกว่า[24]
ขอบคุณที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|