ดู: 647|ตอบกลับ: 3

ค้อน-ฆ้อน คำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 184 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 29%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย zuzu เมื่อ 2020-5-3 00:49

ค้อน-ฆ้อนคำในภาษาไทยและเป็นคำไทยแท้ ๆ ที่มักมีผู้เขียนผิดบ่อย ๆ อีกคำหนึ่งก็คือคำว่า "ค้อน"

ถ้าหากเป็นกิริยาอาการ ก็มักจะใช้กันถูกต้อง แต่พอใช้เป็นคำนาม อันหมายถึงเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ตอกตะปู เป็นต้น มักจะเขียนกันไม่ค่อยถูก

โดยมักใช้ ฆ เป็น "ฆ้อน" อยู่บ่อย ๆ คงจะเห็นว่าเสียงคล้าย ๆ กับคำว่า "ฆ้อง" ที่เป็นเครื่องตี ซึ่งต่างก็ทำด้วยโลหะเช่นกัน เมื่อ "ฆ้อง" ใช้ ฆ คำว่า "ค้อน" ซึ่งเป็นเครื่องมือก็ควรใช้ ฆ ด้วยเช่นกัน ดังเช่นในนวนิยายเรื่อง "หงษ์ร่านมังกรลื่น" โดย ภูมิ สีหราช ในนิตยสาร "ฉกรรจ์" ฉบับที่ 69 ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 มีข้อความตอนหนึ่งว่า

"อ้า...เอ้อ ผมจะขอเอาน้ำมันจักรมาใส่ แล้วจะใช้ฆ้อนต่อยออกเบา ๆ "
"พอสำเร็จเสร็จสรรพ ผมก็ลุกขึ้นเก็บกระป๋องน้ำมันกับฆ้อนเล็กจะกลับออกไป" และในเรื่องเดียวกัน ในนิตยสาร "ฉกรรจ์" ฉบับที่ 71 ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2527 มีข้อความตอนหนึ่งดังนี้
"สำเร็จเสร็จสรรพ ผมคว้ากระป๋องน้ำมันกับฆ้อน จะกลับลงข้างล่างไปที่ห้องของผม"

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

และอีกตอนหนึ่งว่า "จำต้องวางกระป๋องน้ำมันกับฆ้อนลงข้างบานประตู" ในข้อความที่ได้ยกมาทั้งหมดนี้ คำว่า "ค้อน" ล้วนใช้ ฆ เป็น "ฆ้อน" ทั้งนั้น

คำว่า "ค้อน" ไม่ว่าจะเป็นนามหรือกริยา ล้วนใช้ ค ทั้งสิ้น
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้เก็บไว้เป็น "ค้อน 1, ค้อน 2" และได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้

===>>>   "ค้อน 1 น. ชื่อเครื่องมือสำหรับเคาะ ตอก ตี ทุบ;
                                  ชื่อไม้ใช้เป็นเครื่องตีเช่นตะพด เรียกว่า ไม้ค้อน; เครื่องมือชนิดหนึ่งใช้ในการจับปลา."
===>>>   "ค้อน 2 ก. แสดงความไม่พอใจด้วยใช้ตาอย่างหนึ่ง." เฉพาะคำที่ใช้เป็นกริยานี้มีลูกคำอยู่ 2 คำ คือ
                                 1. ค้อนควัก ก. ค้อนจนหน้าคว่ำ.
                                 2. ค้อนติง ก. พูดโดยความริษยา.

คำไทย ๆ ที่ใช้ ฆ มีอยู่เพียง 5 คำเท่านั้น คือ "ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่" ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายและบทนิยามไว้ดังนี้

===>>>   1. "ฆ่า ก. ทำให้ตาย, ทำลาย เช่น ฆ่ากลิ่น." และมีลูกคำอยู่ 2 คำ มีลักษณะเป็นสำนวน คือ
                     "ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก (สำนวน) ก. ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่."
                     "ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด (สำนวน) ก. ตัดไม่ขาด
                     (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด)."

===>>>   2. "เฆี่ยน ก. ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้น เป็นการลงโทษ."

===>>>   3. "ฆ้อง น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม
                     รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมงองุ้มลงมารอบตัว มีปุ่มกลมตรงกลางสำหรับตี เรียกต่าง ๆ กัน
                     เช่น ฆ้องวง ฆ้องชัย ฆ้องกระแต."
                     และมีลูกคำอยู่ 7 คำด้วยกันคือ
                     "ฆ้องกระแต, ฆ้องชัย, ฆ้องปากแตก, ฆ้องวง, ฆ้องหุ่ย, ฆ้องเหม่ง, ฆ้องโหม่ง"

===>>>   4. "ระฆัง น. เครื่องใช้ตีให้เกิดเสียงเป็นอาณัติสัญญาณ หล่อด้วยทองเหลือง เป็นต้น รูปคล้ายกระดิ่ง แต่ใหญ่กว่ามาก."

===>>>   5. "ตะเฆ่ น. เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ย ๆ มีล้อ."

นอกจาก 5 คำนี้แล้ว คำที่ใช้ ฆ ล้วนเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตทั้งสิ้น.

*******************************************************************
อ้างอิงจากหนังสือภาษาไทยไขขาน เล่ม 3 จำนงค์ ทองประเสริฐ หน้า 230 - 232
*******************************************************************


เขียนโดย Force8949



Dew
เช็คอินสะสม: 4678 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 19 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2020-6-20 13:20:23 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Thank you very much.

เช็คอินสะสม: 159 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 85%

โพสต์ 2022-4-10 12:43:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ไดความรู้
เช็คอินสะสม: 147 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2024-6-15 05:50:09 จากอุปกรณ์พกพา | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณ​ครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP