ยังไม่ได้เช็คอิน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 0%
|
สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
ไม่ว่าจะ “ต่อภาษีรถออนไลน์ “ต่อทะเบียนรถออนไลน์” หรือ “ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์” จะต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th วันนี้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้การต่อภาษีรถประจำปีจะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไปมาฝากกัน
1. รถเกิน 7 ปี ต่อภาษีออนไลน์ได้ไหม?
รถยนต์และจักรยานยนต์ทุกจังหวัดทะเบียนที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด เเละมีสถานะรถ “ปกติ” หรือหมายถึงรถที่ค้างชำระภาษีรถไม่เกิน 1 ปี, รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี, รถที่ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ หรือรถที่ไม่ถูกอายัดโดยระบบงานของกรมการขนส่งทางบก สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถจักรยานยนต์ (รย.12) อายุรถไม่เกิน 5 ปี
ทั้งนี้ หากเป็นรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี อายุรถเกิน หรือน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือ ตรอ. และยื่นชำระที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาเท่านั้น รวมถึงหากเป็นรถที่ติดตั้งแก๊สให้ดำเนินการตรวจสภาพถังแก๊สตามประกาศกรมฯ และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาเท่านั้นเช่นกัน
2. ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ทำอย่างไร
ผู้ยื่นชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสามารถเลือกซื้อกรมธรรม์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้จาก 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ซื้อจากในระบบ หรือ 2) ซื้อผ่านผู้ให้บริการภายนอก เช่น บริษัทประกันภัย ตัวแทน หรือนายหน้าโดยต้องกรอกข้อมูลบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ และวันสิ้นสุดอายุความคุ้มครองให้ถูกต้องตรงตามความจริง โดยข้อมูล พ.ร.บ. ที่ระบุจะถูกตรวจสอบ และบันทึกเป็นหลักฐานทางกฎหมาย หากระบุข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นความจริง จะมีผลต่อความคุ้มครองของกรมธรรม์ ทั้งนี้ วันสิ้นอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ยื่นชำระภาษีถึงวันสิ้นอายุคุ้มครองของ พ.ร.บ.
3. ต่อภาษีรถออนไลน์ราคาเท่าไร
อัตราค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ของรถเเต่ละคันจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภทของรถ ปีใช้งาน ความจุ เเละปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถเเบ่งการจัดเก็บภาษีรถได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การจัดเก็บภาษีรถตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี), 2) การจัดเก็บภาษีรถเป็นรายคัน, 3) การจัดเก็บภาษีรถตามน้ำหนัก และ 4) การจัดเก็บภาษีรถตามประเภทของรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า ตลอดจนมีค่าธรรมเนียมการบริการต่อภาษีรถออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง
4. ขั้นตอนการต่อภาษีรถออนไลน์ มีอะไรบ้าง
1) เข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
2) ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)
3) Log-in เข้าสู่ระบบ
4) ยื่นชำระภาษีรถประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
5) กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี
6) กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) หรือสามารถซื้อ พ.ร.บ. ได้จากระบบ
7) เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง
8) กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
5. ต่อภาษีรถออนไลน์กี่วันได้
ผู้ยื่นต่อภาษีรถออนไลน์ประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” ในหน้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
กรณีที่ยื่นต่อภาษีรถออนไลน์ตามขั้นตอนปกติ ไม่พบกรณีผิดพลาดหรือต้องตรวจสอบเพิ่มเติม กรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ไม่เกิน 5 วันทำการ
6. รถขาดต่อภาษีประจำปี โดนปรับเท่าไร
รถที่ไม่ต่อภาษีหรือต่อภาษีรถล่าช้าจะมีค่าปรับร้อยละหนึ่งต่อเดือน และหากไม่ดำเนินการชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนรถถูกระงับ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียนรถต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเปลี่ยนชื่อ การแจ้งเปลี่ยนสี การแก้ไขรายการคู่มือรถ เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากในภายหลัง เจ้าของรถจึงควรดำเนินการชำระภาษีรถประจำปีให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน
กรณีที่หยุดใช้รถ เลิกใช้รถ หรือรถชำรุดสูญหาย เป็นเหตุให้รถใช้งานไม่ได้ในทุกกรณี ต้องแจ้งการไม่ใช้รถ ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ หรือสำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ โดยใช้แบบคำขอแจ้งการไม่ใช้ พร้อมนำแผ่นป้ายทะเบียนรถคืน โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมาด้วย ได้แก่ คู่มือจดทะเบียนรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถไม่มาดำเนินการเอง) เพื่อไม่ให้มีภาระต้องชำระภาษีประจำปี
นอกจากการต่อภาษีรถออนไลน์จะช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว การต่อภาษีรถประจำปีอย่างต่อเนื่องจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ขับขี่ทุกคนได้รับความคุ้มครองพื้นฐานจากอุบัติเหตุทางถนนที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการสัญจร ซึ่งส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในระหว่างขับขี่มากขึ้น เเต่จะปลอดภัยเเละอุ่นใจมากยิ่งขึ้นด้วย
ประกันรถยนต์ คลิก[url=https://www.smk.co.th/premotor.aspx]https://www.smk.co.th/premotor.aspx[/url]
|
|