เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น มีพัฒนาการมากมาย ทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ รวมไปถึงสภาวะทางอารมณ์และสภาพจิตใจที่ต้องรับมือกับปัญหาต่างๆในช่วงวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องเรียน เรื่องเพื่อน เรื่องพ่อแม่ หรือแม้กระทั่งปัญหาเรื่องความรัก จากวัยประถมสู่วัยมัธยมนั้น จึงถือได้ว่าเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลในหลายๆด้าน การเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและคำปรึกษาจึงถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีให้กับพ่อแม่ เพื่อจะได้เข้าใจเด็กในวัยนี้ได้มากยิ่งขึ้น ไม่มีช่องว่างของความห่างแต่ยังเป็นการเติมเต็มความเชื่อใจไว้ใจของกันและกันอีกด้วย


ถ้ามองในเรื่องของการเรียนและการศึกษานั้น วัยนี้เป็นวัยที่ต้องเตรียมตัวเข้าสู่การค้นพบความชอบและความสนใจรวมไปถึงอาชีพในอนาคตที่ต้องการจะทำ เด็กวัยมัธยมจึงควรได้รับการสนับสนุนให้ทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา ด้านดนตรีความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนด้านวิชาการ หรือจะเป็นด้านอาชีพเอง อย่างไรก็ตามสภาพจิตใจนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นวัยที่แคร์คำพูดเพื่อน และแคร์สิ่งรอบข้างมาก หากมีสิ่งใดมากระทบกระทั่งจิตใจ อาจจะทำให้เกิดปมต่างๆได้ ส่วนเรื่องเรียนนั้น การได้เรียนในสถานศึกษาที่มีความพร้อมไปว่าจะเป็นโรงเรียนมัธยมของรัฐบาลหรือเอกชน หรือจะเป็นโรงเรียนนานาชาติมัธยม จะอยู่ที่การคัดสรรและตัดสินใจของพ่อแม่เป็นหลัก การปรับตัวของวัยรุ่นเป็นพัฒนาการต่อจากวัยเด็ก แต่วัยรุ่นจะต้องเผชิญกับความคาดหวังของผู้อื่นมากกว่าสมัยเมื่อเขายังเด็ก การเปลี่ยนแปลงจากเด็กที่พึ่งพาอาศัยพ่อแม่ไปเป็นคนที่กำลังจะเริ่มเป็นผู้ใหญ่ จะเริ่มรับผิดชอบตัวเอง ทำให้วัยรุ่นต้องมีการปรับตัวทางอารมณ์และสังคมอย่างมาก มีการสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง สร้างทัศนคติ และค่านิยมแห่งชีวิต เมื่อเริ่มห่างจากพ่อแม่ มิตรภาพระหว่างเพื่อนฝูงก็กลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของวัยรุ่น การแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเองนี้ Erikson เรียกว่าเป็น identity crisis หรือวิกฤตการณ์แห่งการแสวงหาเอกลักษณ์ มีการมองตน และเห็นตนเองตามที่ผู้อื่นเห็น เรียนรู้และยอมรับความสามารถของตน เลือกเอาความเป็น “ตน” เหมือนตัวละคร เลือกสวมหน้ากาก ซึ่งตนจะแสดงบทบาทได้เหมาะสม เช่นเดียวกับการสวมหัวโขนของไทย4 เรียนรู้และสร้างเอกลักษณ์ของตนขึ้นมา การยอมรับตนขึ้นอยู่กับการใช้สติปัญญาของผู้นั้นด้วย ถ้ามีเหตุมีผลใช้สติปัญญาก็จะเข้าใจตัวเองตามที่เป็นจริง (realistic) ถ้าใช้อารมณ์อย่างเดียวก็จะมองเห็นตนตามที่ตนอยากจะเป็น (ideal self) ผู้ที่ใช้สติปัญญาย่อมมองเห็นความแตกต่างระหว่างตัวเองจริงๆ กับตัวเองในอุดมคติ การมองเห็นตัวเองนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสังคมวัฒนธรรมที่แวดล้อมตนอยู่ ถ้าพ่อแม่เพื่อนฝูงยอมรับ ก็จะเกิดความมั่นใจในตัวเอง ถ้าเข้ากับใครไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความสงสัยไม่มั่นใจและไม่เชื่อว่าผู้อื่นจะยอมรับตนต่อไป




ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กระทู้ตอบกลับ
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน

605ดู1ตอบกลับ

Dew 2021-5-21 18:49:13
Thank you very much.
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต