สมาชิกเท่านั้นถึงจะมองเห็นเนื้อหาอย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
หลักการทำงานภาคจ่ายไฟของ FANTASIA รุ่น RC-71D
หลักการทำงานของภาคจ่ายไฟในรุ่นนี้เราจะขอนำเสนอของแฟนตาเซีย ต้องขอขอบคุณ บริษัทUPT มัลติมิเดียที่สนับสนุนเครื่องDVDครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อช่างมากมาย ขั้นตอนการทำงานของระบบสวิทย์ชิ่งซับพลายของDVDรุ่นใหม่ๆจะไม่มีๆใ IC สวิทย์ชิ่งออกมาเดี่ยวให้เห็นแล้วๆ เราจะเห็นแต่ IC ที่ควบคุมระบบแบบใหม่ไม่มีตัวระบายความร้อน เรามาเริ่มหลักการซ่อมและหลักการทำงานกันเลยดีกว่า
 หลักการทำงานไฟเบื้องต้น
ไฟ 220จะเริ่มจากปลั๊กเข้าสู่ผ่าน J4 แล้วผ่าน ฟิวส์ F301 โดยจะมี J103ทำหน้าที่เป็นสวิทย์เปิดปิดต่อดเข้ามาวงจรกรองความถี่จะใช้ C 302เป็นตัวแก้สัญญาณความถี่สูงที่ปนเข้ามา ส่วน C ตำแหน่ง310และ311และ C141 จะเป็นตัวป้องกันความถี่ระบบY 1ผลเสียของบ้านเรา เมื่อใช้แล้วไฟจะดูดเมื่อจับตัวเครื่องทางบริษัทจึงได้ทำการถอดออกทั้งหมด ไฟ AC จะไหลผ่านหม้อแปลง L301 เข้าสู่ไดโอด บริดเร็กติ ฟลาย เพื่อให้กลายเป็นไฟ DC +300
โวลย์ เข้ามา

2. ระบบไฟSTART
ปกติทั่วไประบบ START จำเป็นจะต้องมีเพื่อที่จะกระตุ้นการทำงานของระบบเครื่องครั้งแรกแต่ Ic ไวเปอร์ ไม่จำเป็นต้องอาศัย RระบบSTRAT โดยจะอาศัยไฟ300 ไหลผ่านหม้อแปลง T301 ออกสู่ขา4และเข้าไปยัง IC ไวเปอร์ขา 5 6 7 8 ทั้ง 4 ขา ภายใน ตัว IC VIPER 22n จะมีการกำเนิดความถี่ละมี IC สวิทย์ชิ่งอยู่ในตัว
นี่คือโฉมหน้าเ IC VIPER นี้เป็นลักษณะ 8ขา เหมือน IC ออฟแอมป์ทั่วๆไปแต่ Ic เบอร์นี้จะเป็นสวิทย์ชิ่งอยู่ในตัวเลยครับเบอร์นี้เป็นของใหม่ครับ เสยียหาซื้อยากนะครับ…เอาไว้จะหาเบอร์แทนมาฝากให้ อีกทีครับ3.ระบบ PWM หรือวงจรกำเนิดความถี่จะทำการกำเนิดความถี่ให้อยู่ภายในตัว IC ยังครบถ้วนความถี่ที่เกิดขึ้นยังคงใช้ความถี่ โดยประมาณ60 Khz แต่ในการใช้งานจริงความถี่ก็จะเปลี่ยนแปลงตามโหลดว่าใช้งานมากแค่ไหนเรามาดูการใช้สโคป การควบคุมแรงไฟ( REF )
สำหรับเครื่อง FANTASIA รุ่น 71 D จะใช้ IC ควบคุมแรงไฟจะใช้ IC KA431 ซึ่งจะเป็นตัวยอดนิยม ที่ใช้กันทั่วไปแทบทุกยี่ห้อต้องจำไว้ว่าการเรียนรู้ภาคจ่ายไฟเราสามารถนำไปใช้กับหลายๆยี่ห้อได้ โดยไม่จำกัดว่าเรียนรุ่นไหนเราก็นำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกๆรุ่น บทความนี้จะเป็นแนวทางที่ทำให้ท่านแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี จุดอ่อนของรุ่นนี้ก็จะเป็นเรื่องของ คอนเดนเซอร์แห้ง IC ที่ใช้ควบคุมแรงไฟเพื่อนๆอาจเห็นหลายเบอร์ที่เกิดขึ้นในจุดต่างๆ ผมจะยกตัวอย่าง เช่นเบอร์ LM431 PL431 KA431 และคิดว่ายังมีอีกหลายเบอร์ภาคจ่ายไฟที่เราเห็น ที่ใช้ IC ตัวเดียวควบคุม เราเรียกระบบนี้ว่าฟอเวิลด์คอนเวอร์เตอร์ ( FORWORD CONVERTER ) IC ที่ท่านเห็นจะเป็นลักษณะ TO-92
ดังที่เห็นในรูปขาที่กำหนดผมใส่ไว้ให้ดังนี้ผมได้นำตารางการเปรียบเทียบเบอร์ Ic ที่สามารถใช้แทนกันได้มาให้ดู แต่ต้องขอบอกว่าข้อจำกัดของ IC เบอร์นี้จะมี V IN ที่เข้ามาทางขา A ไม่เกิน 36 โวลย์ กระแสที่ไหลผ่านคาโทดเมื่อเครื่องทำงานหรือเราเรียกว่า I K จะอยู่ในระดับ1-100 มิลลิแอมป์ส่วนขา REFERENCE ที่ตำแหน่งขา R จะต้องกำหนดแรงไฟอ้างอิงไว้ที่ 2.5 โวลย์หากได้ตามข้อกำหนด ก็จะเริ่มทำงานไฟไหลจาก A ไปหา K ผลทำให้ OTTOเริ่มทำงาน เบอร์ ICที่ใช้ | เบอร์แทน | ตัวถัง | LM431ACZ | TL31CLP , KA431Z | TO-92 | LM431BCZ | TL431ACLP , KA431AZ | TO-92 | LM431CCZ | KA431LZ | TO-92 | TL431CP | KA431 | 8 DIP | LM431ACM | TL431CD , KA431D | 8 SOP | LM431BCM | TL431ACD , KA431AD | 8 SOP |
ขั้นตอนการวัด D เสียของ IC คุมไฟ LM431ACZ
1. ตั้งมิเตอร์ดิจิตอลไปที่ย่านไดโอด
2. นำสายสีดำไปจับขาที่ 2 นำสายสีแดงไปจับขาที่ 3 สังเกตุเข็มจะต้องไม่ขึ้น
3. นำสายมิเตอร์สีแดงนำไปแตะที่ ขา 3 นำสายสีดำไปแตะที่ ขา 2 สังเกตุเข็มจัต้องขึ้น 0.6
การวัด IC โดยมิเตอร์เข็ม
1. ตั้งมิเตอร์ไปที่ R X 10 ปรับศูนย์โอห์มใหเรียบร้อย
2. นำสายสีแดงไปแตะที่ขา 2 และนำสายสีดำไปแตะที่ ขา 3สังเกตุเจ็มจะต้องไม่ขึ้น
4. ทำการสลับสายแล้วทำการวัดอีกครั้งสังเกตุเข็มจะต้องขึ้น ประมาณเลข 6 ถือปกติแล้วครับ
การวัด IC คุมไฟนี้ท่านยังสามารถควบคุมขั้นตอนการวัดด้วยตัวท่านเองได้ท่านรองไปต่อยอดโดยการนำขา 1 เข้ามาร่วมแล้วสร้างสูตรด้วยตัวท่านเองซิครับ แค่นี้ด็สุดยอดแล้วครับ
สำหรับครั้งนี้เราได้จัดวงจรมาให้เพื่อนสมาชิกกันเต็มพิกัด สามารถที่จะนำไปซ่อมกับอีกหลายๆรุ่นได้แต่ต้องขอบอกว่าบางวงจรอาจไม่ชัดเจนถูกใจวัยรุ่น มากนักแต่เชื่อได้เลยว่าจะทำท่านไม่ตกยุคแน่นอนลองมาดูวงจรที่ผมแนบมาให้ในส่วนของภาคจ่ายไฟ กันดูว่ามีอะไรบ้าง1. ภาคจ่ายไฟ สวิทย์ชิ่งVIPER -22Aซึ่งจะใช้ในเครื่องเล่น LEONA และเครื่องของแฟนตาเซียและ RCR 2. ภาคจ่ายไฟใช้ FY038จะใช้อยู่ในเครื่องของ แฟนตาเซียเราใช้เป็นต้นแบบมีอนุภาพการทำงานสูงแต่หลักการไม่ได้ทิ้งอย่างอื่น 3. ภาคจ่ายไฟของ NINETECHใช้ไอซีเบอร์ 5L038 ห้าขาจอม พลังมาให้ขอบอก..ใช้หลายยี่ห้อมากครับ 4. สุดท้ายวงจรที่นำมาฝากในภาคจ่ายไฟผมจะเอาเบอร์ TEA1523มาฝาก เห็นตัวอย่างกันแล้วนะครับ
|