ความเครียดที่เกิดจากความกังวลและข่าวสารที่เราได้รับในแต่ละวัน ทำให้สภาพจิตใจเราย่ำแย่ลงทุกวัน อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่เราควรใส่ใจคือการล้างมือ ซึ่งการล้างมือนั้น เราได้ทำเป็นกิจวัตร ก่อนการรับประทานอาหาร หรือหลังจากการเข้าห้องน้ำ ทำธุระ เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก และแน่นอนว่า ในช่วงโรคระบาดโควิด-19 เราจึงต้องล้างมือบ่อยขึ้นอย่างเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ การใช้เจลล้างมือ หรือจะเป็นสบู่ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการล้างมือ ทำความสะอาด ชำระล้างทุกซอกทุกมุมอย่างละเอียด


เมื่อการป้องกันตัวเองคือสิ่งจำเป็นที่เราต้องรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น เพราะไม่ใช่แค่เราที่จะต้องเดือดร้อนเมื่อติดโรคร้ายขึ้น ครอบครัวและคนที่เรารักเช่นกัน หากเราติดโรค คนในครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิดกับเราเองก็จะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรคได้ หากมีอาการหนักก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น ถ้าครอบครัวไหนมีผู้สูงอายุแล้วล่ะก็ การดูแลยิ่งจะต้องเพิ่มมากขึ้นไปอีก รวมไปถึงการให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มภูมิคุ้มกัน ความต้านทานโรค ผลต่อสมองและจิตใจทำให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารและขับถ่ายดีขึ้น ช่วยลดน้ำหนัก ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม ช่วยชะลอความชรา ลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ช่วยรักษาโรคบางชนิดได้ พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง สามารถลดระดับน้ำตาลและไขมันลงได้จากการออกกำลังกาย ในผู้สูงอายุที่ขาดการออกกำลังกาย จะส่งผลให้ไม่กระฉับกระเฉงอีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วน เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดอาการปวดตามข้อต่างๆ กระดูกเปราะบาง เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ รวมถึงมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น ผู้สูงอายุควรออกกําลังกายอย่างต่อเนื่องนานประมาณ 30-45 นาที แต่ควรเริ่มต้นด้วยเวลาน้อยๆก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาการออกกำลัง โดยอาจจะเลือก กิจกรรมแบบแอโรบิค 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ 2 วันต่อสัปดาห์ สามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมออกกำลังกายไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน  ที่สำคัญก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายทุกครั้งประมาณ 10 นาที เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ และอย่าหยุดทันทีทันใดภายหลังออกกำลังกาย ให้เวลาในการ คูลดาวน์ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจและสมอง ซึ่งจะลดอาการปวด เวียนศีรษะลงได้ การออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากการออกกำลังกายในคนหนุ่มสาวมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย  เพื่อลดโอกาสการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย เช่น มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูก ข้อต่อ กระดูกอ่อน เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีเหงื่อออกมากเกินไป การขาดน้ำ หรืออาการหัวใจวายเฉียบพลัน  การออกกำลังกายที่ดีต้องทำอย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่หักโหม


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กระทู้ตอบกลับ
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน

633ดู1ตอบกลับ

Dew 2021-6-25 10:25:00
Thank you very much.
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต