ดู: 606|ตอบกลับ: 0

เมื่อการทำธุรกิจต้องรอบครอบในเรื่องของลิขสิทธิ์

[คัดลอกลิงก์]

ยังไม่ได้เช็คอิน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 17%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
idgipp4.jpg

หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจในรายละเอียดมากนักเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เพราะเราอาจจะไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับในเรื่องที่ไม่ควรจะไปคัดลอกหรือทำซ้ำในผลงานของผู้อื่น เราจึงเห็นการ copy งาน สินค้าอยู่มากมาย และเราไม่ได้ตระหนักเลยว่า นี่คือเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาระดับประเทศได้ เพราะมีสินค้าตราต่างประเทศแบรนด์ดังระดับโลกที่มีการคัดลอกผลงานและขายทั่วไปตามตลาดหรือห้างร้านต่างๆในประเทศไทย และเรื่องนี้อาจสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นแล้ว copyright services ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าไปช่วยในเรื่องการทำธุรกิจ


เมื่อเรายังไม่ทราบในเรื่องของลิขสิทธิ์ เราควรศึกษาและทำความเข้าใจ ซึ่งในเว็บไซต์ moc.go.th กระทรวงพานิชย์ ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ 1. งานวรรณกรรม  ( หนังสือ  จุลสาร  สิ่งพิมพ์  คำปราศรัย  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ) 2. งานนาฎกรรม  ( ท่ารำ  ท่าเต้น ฯลฯ )  3. งานศิลปกรรม  ( จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  ภาพถ่าย  ศิลปประยุกต์ ฯลฯ ) 4. งานดนตรีกรรม ( ทำนอง  ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ ) 5. งานสิ่งบันทึกเสียง ( ซีดี ) 6. งานโสตทัศนวัสดุ  ( วีซีดี  ดีวีดี  ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง ) 7. งานภาพยนตร์  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ 9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใดหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง วิธีดำเนินการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ 1. การกรอกข้อมูลและระบุรายละเอียดต่างๆ (1) ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์  ให้ระบุชื่อ สัญชาติ  หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี)  และที่อยู่ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (2) ชื่อตัวแทน กรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการมอบอำนาจให้กับผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการใด ๆ  เกี่ยวกับการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์รวมทั้งระบุถึงขอบเขตอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ โดยให้ระบุ ชื่อ สัญชาติ  หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี)  และที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ (3) สถานที่ติดต่อในประเทศไทย  ให้ระบุสถานที่และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อเจ้าของสิทธิหรือตัวแทน  เพื่อสะดวกในการติดตามเอกสารและผลงาน  กรณีเอกสารและผลงานไม่ครบถ้วน










ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP