ดู: 866|ตอบกลับ: 1

หากต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน อุปกรณ์การดูแลต้องครบครัน

[คัดลอกลิงก์]

ยังไม่ได้เช็คอิน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 11%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
ost3.jpg

เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแน่นอนว่ากระทบต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะรัฐต้องเอางบประมาณมาไว้สำหรับค่าใช้จ่ายดูแลผู้สูงวัย หลายๆบ้าน หลายๆครอบครัวเองที่มีผู้สูงอายุ ก็ต้องคอยสอดส่องดูแล รวมไปถึงการเตรียมอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะผู้ป่วยติดเตียงด้วย ในกรณีนี้ภาระหนักอาจจะตกไปอยู่กับสมาชิกของคนในบ้าน แต่ถ้าหากเรามีกำลังทรัพย์ที่สามารถจ้างมืออาชีพที่สามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ อุปกรณ์เบื้องต้นนั้นก็มีทั้ง เตียงผู้ป่วย หรือจะเป็นอุปกรณ์การแพทย์เบื้องต้น รวมไปถึงถุง ปัสสาวะ หรือจะเป็นถาดรองของเสียต่างๆ


ส่วนเรื่องการดูแลโภชนาการอาหาร ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะอาหารสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนั้นจะต้องปรุงพิเศษ มีสารอาหารที่จำเป็น และจะต้องลดไขมัน ลดเกลืออย่างโซเดียม ลดความหวาน ไม่ใช่แค่น้ำตาล แต่ผลไม้ที่มีความหวานมากๆก็ควรงด และไม่ควรใช้อาหารแปรรูปมาเสริ์ฟให้กับผู้สูงอายุ ข้อมูลส่วนนี้ควรศึกษาอย่างจริงจังเพราะอาหารเปรียบได้กับยาบำรุงร่างกาย ถ้าเราเลือกสิ่งที่ประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งเว็บไซต์ seniacare ได้แชร์บทความที่น่าสนใจไว้ว่า เมื่อผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยของผู้ป่วยติดเตียง คือปัญหาเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการซึ่งเป็นสภาวะของร่างกายที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ได้รับสารอาหารไม่ครบ ทำให้ขาดสารอาหารร่วมกับการขาดพลังงาน ทำให้เกิดโรค เช่น โรคขาดโปรตีน โรคขาดวิตามินต่าง ๆ และภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ เป็นต้น สาเหตุของการเกิดภาวะทุพโภชนาการเกิดจาก การรับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ เนื่องจาก ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยว การกลืนจากพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นของโรค ภาวะที่ร่างกายต้องการสารอาหาร และพลังงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บป่วยเกิดภาวะเครียด ความเครียดทางกายภาพและอยู่ในภาวะวิกฤตต่างๆ การเจ็บป่วย ทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น (Hypermetabolism)และสลายโปรตีนมากขึ้น สูญเสียไนโตรเจน (Nitrogen loss) เพิ่มขึ้นกว่าปกติ เกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการใช้พลังงานและสารอาหารที่ได้รับ ภาวะโภชนาการเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากวัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะเป็นผู้ป่วยติดเตียงจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดทุพโภชนาการ  ปัญหาการย่อยการดูดซึม  ปัญหาการขับถ่าย  ปัญหาความต้องการใยอาหารเพิ่มเป็นพิเศษ  ปัญหาความต้องการรับอาหารทางสายยาง  เหล่านี้เป็นเหตุให้ผู้ป่วยติดเตียงควรได้รับประทานอาหารสูตรเฉพาะ แต่ยังคงมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพครบ 5 หมู่อย่างครบถ้วน




Dew
เช็คอินสะสม: 4710 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 51 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

โพสต์ 2022-9-20 16:59:15 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Thank you very much.

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP