สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย strategist_CTT เมื่อ 2023-2-22 12:01
เพื่อปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง การใช้งาน รวมทั้งให้เกิดความสะดวกในขั้นตอนการบำรุงรักษา เมื่อต้องติดตั้งสายไฟฟ้าลงดิน ในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ กระแสสลับ ช่างไฟควรระบุสัญลักษณ์ตัวนำอย่างไร? มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 ระบุไว้ดังนี้
สายไฟแกนเดียวขนาดไม่เกิน 16 ตร.มม.
กำหนดให้ฉนวนหรือเปลือกนอก (ถ้ามี) ตลอดความยาวสายมีสีดังต่อไปนี้
สายเส้นไฟ
สายนิวทรัล สีฟ้า
สายดิน สีเขียวแถบเหลือง (อนุโลมให้ใช้สีเขียวหรือเป็นสายเปลือยได้)
สายไฟแกนเดียวขนาดใหญ่กว่า 16 ตร.มม.
นอกจากการกำหนดสีของฉนวนหรือเปลือกนอก (ถ้ามี) ตามข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ในกรณีที่ฉนวนหรือเปลือกนอก (ถ้ามี) เป็นสีดำตลอดความยาวสาย รวมทั้งสายไฟฟ้าคุณสมบัติพิเศษที่ไม่มีฉนวนหรือเปลือกเป็นสีดำ ให้ทำเครื่องหมายเป็นสีหรือตัวอักษรให้เห็นชัดเจนทุกบริเวณที่มีจุดต่อสายและทุกปลายสาย ดังต่อไปนี้
สายเส้นไฟ สายไฟฟ้า 1 เฟส สีน้ำตาล หรือตัวอักษร L สายไฟฟ้า 3 เฟส สีน้ำตาล หรือตัวอักษร L1 (เฟส 1), สีดำ หรือตัวอักษร L2 (เฟส 2), สีเทา หรือตัวอักษร L3 (เฟส 3)
สายนิวทรัล สีฟ้า หรือตัวอักษร N
สายดิน สีเขียวแถบเหลือง หรือระบุอักษร PE (อนุโลมให้ใช้เครื่องหมายสีเขียว หรือตัวอักษร G หรือ E ได้)
หากวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างไฟท่านใด ต้องการ รางไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ขอแนะนำรางเคเบิลและรางเคเบิลแบบบันไดที่ผลิตและจำหน่ายโดย KJL
ตัวรางผลิตจากเหล็กแผ่นดำคุณภาพสูง ความหนา 2.0 มิลลิเมตร ออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยระบบ Computer Numerical control (CNC) โครงสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน NEMA VE 1-2017 การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM A123 / A123M ที่ความหนาเฉลี่ยของการเคลือบผิว 45-60 ไมครอน มีรางเคเบิลที่ทำจากสเตนเลส เหมาะสำหรับงานติดตั้งที่ต้องการวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนมากเป็นพิเศษ
สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect |