ดู: 248|ตอบกลับ: 2

ศัพท์เฉพาะของเสียงความละเอียดสูง

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 186 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 2 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 100%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
99.jpg

คุณต้องการเข้าสู่โลกแห่งเสียงเสียงความละเอียดสูงอันน่าตื่นเต้น (และบางครั้งก็น่าทึ่ง) หรือไม่ มีข้อมูลความรู้มากมายให้ค้นหาเกี่ยวกับเสียงความละเอียดสูง แต่ภาษาที่ใช้อาจดูคล้ายแหล่งรวมตัวย่อและคำศัพท์ชวนสับสน

แต่ไม่ต้องกังวล เป้าหมายของเราที่ Sony คือเพื่อให้คุณได้รับความรู้เรื่องเสียงความละเอียดสูงที่คุณต้องมีเพื่อจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง ซึ่งจะช่วยให้คุณมีประสบการณ์ทางดนตรีได้ยอดเยี่ยมที่สุด

รายการคำศัพท์เกี่ยวกับเสียงความละเอียดสูงขั้นพื้นฐานในแวดวงผู้รักเสียงเพลงในปัจจุบัน และคำจำกัดความของคำเหล่านั้น มีดังต่อไปนี้:

เสียงความละเอียดสูง (Hi-Res Audio):

เสียงซึ่งใช้อัตราการสุ่มตัวอย่างสูงกว่าในซีดีและ MP3 สำหรับการเข้ารหัสและการเล่นเพลง เสียงความละเอียดสูงมีลักษณะเฉพาะด้วยความคมชัดสมจริงและความแตกต่างในรายละเอียด จึงทำให้เพลงโปรดของคุณมีชีวิตชีวาโดยเก็บรักษาข้อมูลได้มากกว่ากระบวนการแปลงข้อมูลเพลงที่บันทึกแบบต้นฉบับให้เป็นไฟล์ MP3 รูปแบบไฟล์เสียงความละเอียดสูงต่างๆ ได้แก่ WAV, DSD, ALAC, FLAC และ AIFF

DSD เทียบกับ PCM:

วิธีการประมวลผล/เข้ารหัสเสียงให้เป็นรูปแบบที่ใช้งานแบบดิจิตอลนี้มีอยู่สองแบบ ได้แก่ PCM และ DSD กล่าวโดยสรุปนั้น PCM จะจัดการใช้งานได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม DSD เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลถาวรระดับมาสเตอร์ที่ใช้ในสตูดิโอบันทึกเสียง และบางคนอาจกล่าวว่า DSD ให้ตัวอย่างไฟล์ดิจิตอลได้ใกล้เคียงที่สุดกับแหล่งกำเนิดอนาล็อกต้นฉบับ โดยมีข้อมูลเฉพาะเจาะจงดังต่อไปนี้:

DSD:

Direct-Stream Digital ใช้การเข้ารหัสการแปลงสัญญาณความหนาแน่นของพัลส์ (pulse-density modulation encoding) เพื่อจัดเก็บสัญญาณเสียงในสื่อจัดเก็บดิจิตอล อัตราการสุ่มตัวอย่างสำหรับเทคโนโลยีนี้คือ 2.8224 MHz หรือ 5.6448MHz ซึ่งจะแปลงเป็น 64 เท่าหรือ 128 เท่าเมื่อเทียบกับการสุ่มตัวอย่างเสียงในแผ่น CD

PCM:

Pulse Code Modulation คือเทคโนโลยีที่แปลงสัญญาณเสียงมาตรฐานให้เป็นเสียงดิจิตอล เป็นรูปแบบมาตรฐานของเสียงดิจิตอลในคอมพิวเตอร์และแผ่น CD แอมพลิจูดของสัญญาณจะถูกสุ่มตัวอย่างเป็นช่วงสม่ำเสมอ จากนั้นแต่ละตัวอย่างจะถูกควบคุมสู่ค่าที่ใกล้เคียงที่สุดกับช่วงขั้นดิจิตอล

บีบอัดข้อมูลบางส่วน (Lossy):

การบีบอัดไฟล์แบบบางส่วนนั้นส่งผลให้สูญเสียข้อมูลและคุณภาพไปจากรูปแบบต้นฉบับ และมีความเกี่ยวข้องกับไฟล์ MP3 และ AAC ไฟล์ที่ได้มาจะใช้เนื้อที่น้อยกว่าเวอร์ชันต้นฉบับมาก แต่ก็ต้องแลกกับคุณภาพที่ด้อยไปมาก

Lossless (ไม่สูญเสียรายละเอียด):

การบีบอัดแบบ Lossless ช่วยในการสร้างข้อมูลต้นฉบับขึ้นใหม่จนเกือบสมบูรณ์แบบจากข้อมูลที่ถูกบีบอัด โดยใช้ขั้นตอนอัลกอริธึมรูปแบบหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วขนาดไฟล์สำหรับข้อมูลแบบ Lossless นี้จะใหญ่กว่าไฟล์ที่บีบอัดข้อมูลบางส่วน (Lossy) แต่คุณภาพเสียงดีกว่ามาก บางตัวอย่างสำหรับรูปแบบไฟล์ในลักษณะนี้คือ FLAC และ Apple Lossless

ไม่ได้บีบอัด (Uncompressed):

เสียงที่ไม่ได้บีบอัดนั้นมีความหมายตรงตัวคือข้อมูลต้นฉบับที่ไม่มีการบีบอัด กล่าวโดยทั่วไปคือคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดจะมาจากไฟล์เสียงที่ไม่ได้บีบอัด เช่น รูปแบบ WAV และ AIFF ข้อด้อยของเสียงที่ไม่ได้บีบอัดจะรวมถึงการใช้เนื้อที่จำนวนมากและแบนด์วิดธ์ที่จำเป็นต่อการเปิดและเล่นไฟล์เหล่านี้

kHz/บิต:

นี่คือเครื่องหมายตามมาตรฐานของความถี่การสุ่มตัวอย่างตามความลึกของบิต

จำนวนของกิโลเฮิรตซ์ (kHz)

จะวัดค่าความถี่การสุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นจำนวนครั้งการสุ่มตัวอย่างเสียงต่อวินาที ดังนั้น จำนวน kHz ยิ่งสูง คุณภาพเสียงจะยิ่งดีขึ้น

ความลึกของบิต

วัดค่าว่ามีจำนวนบิตเท่าใด (หรือจำนวนข้อมูล) อยู่ในแต่ละตัวอย่าง ความลึกของบิตจะตอบสนองโดยตรงกับความละเอียดของแต่ละตัวอย่าง ความลึกของบิตยิ่งสูง คุณภาพเสียงยิ่งดี

ถึงตอนนี้ คุณได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ เกี่ยวกับเสียงความสะเอียดสูงแล้ว ลองใช้เวลาสักครู่เพื่อสัมผัสกับคำศัพท์เหล่านี้ในชีวิตจริง



Dew
เช็คอินสะสม: 4709 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 50 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 48%

โพสต์ 2023-3-29 09:22:25 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Thank you very much.
เช็คอินสะสม: 147 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 47%

โพสต์ 2024-6-14 06:02:36 จากอุปกรณ์พกพา | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณ​ครับ​

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP