ดู: 89|ตอบกลับ: 0

สำหรับครอบครัวที่กำลังมองหาประกันสุขภาพเด็ก ควรเข้าใจกรมธรรม์อย่างไรบ้าง

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 176 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 52%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Zengeder เมื่อ 2024-2-13 17:07

understand_health_insurance_policy_bef2b94eb9.jpg

ทุกวันนี้หลายครอบครัวเกิดความกังวลใจต่อภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นมีเรื่องของปัญหาสุขภาพรุมเร้า
ที่ยิ่งป่วยเป็นโรคร้ายแรงด้วยเเล้วค่ารักษาพยาบาลก็ยิ่งเเพงมากเข้าไปใหญ่ ส่งผลให้จำเป็นต้องมองหาความคุ้มครองที่ช่วย
ทั้งครอบครัวไปกับ ซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งเเต่ละครอบครัวต่างคำนึงถึงการเลือกหาประกันสุขภาพให้คุ้มค่า เเละมั่นใจได้ว่า
ต้องเคลมประกันได้อย่างราบรื่น แน่นอนว่าคนเป็นพ่อคนแม่คนย่อมต้องนึกถึง ลูกน้อยในดวงใจ เป็นอันดับแรกเสมอ

ประกันสุขภาพเด็ก ถือเป็นความคุ้มครองที่สำคัญสำหรับครอบครัวที่มีลูกอายุตั้งเเต่ 1 เดือน-10 ปี โดยที่การทำประกันให้ลูก
ก็เพื่อเป็นความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามฉุกเฉิน อาทิ ลูกน้อยไม่สบาย ลูกน้อยป่วยบ่อย ซึ่งเเต่ละบริษัทประกันก็คิดค่า

เบี้ยประกันที่สูงกว่าคนวัยอื่นมาก ( ยกเว้นผู้สูงอายุ ) โดยเฉลี่ยเเล้วเบี้ยประกันจะอยู่ที่ประมาณ 40,000-60,000 บาท ต่อปีเลย
ซึ่งประกันสุขภาพเด็กส่วนใหญ่เป็นประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ทำประกันร่วมกับผู้ปกครอง พ่อแม่เด็กนั่นเอง

คำแนะนำสำหรับการเริ่มต้นเลือก ประกันสุขภาพเด็ก ให้กับลูกน้อยของครอบครัว มีดังต่อไปนี้

1.พ่อแม่ควรสังเกตสุขภาพของลูกน้อยของคุณเป็นประจำ ก่อนจะเลือกทำประกันสุขภาพ

โดยดูจากประวัติการป่วยไม่สบายของลูกน้อยนี่แหละ ถ้าลูกน้อยสุขภาพเเข็งแรงดี ไม่ค่อยป่วยบ่อย จะเลือกทำประกันตอนไหนก็ได้
แต่หากเป็นอีกกรณีนึงลูกน้อยไม่สบายป่วยบ่อย อันนี้ต้องพิจารณาให้ดีเเล้วว่าจะเลือกทำประกันสุขภาพช่วงลูกน้อยอายุเท่าไหร่ดี
ซึ่งต้องสังเกตสุขภาพของลูกน้อยเป็นประจำ เเละต้องดูแลสุขภาพลูกน้อยให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกมื้อด้วย

อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก  กรมธรรม์ประกันสุขภาพ

เปรียบเทียบประกันสุขภาพ

2.เมื่อลูกน้อยมีสุขภาพดีต่อเนื่องเเล้ว อยู่ในช่วงที่พร้อมทำประกันสุขภาพให้เลย

ส่วนใหญ่เเล้วประกันสุขภาพเด็กพ่อแม่มักจะเลือกทำประกันให้ลูกในช่วงลูกอายุ 5 เดือน-6 ปี โดยประมาณ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกน้อย
เริ่มซุกซนเเล้ว ถ้าช่วงนี้ลูกมีสุขภาพดีต่อเนื่องแล้ว ก็สามารถทำประกันสุขภาพให้กับลูกน้อยได้เลย

3.หลังทำประกันสุขภาพเด็กให้กับลูกน้อยเเล้ว พ่อแม่ควรเข้าใจถึงช่วงระยะเวลารอคอยในกรมธรรม์ด้วย

เนื่องจากเป็นเงื่อนไขของประกันสุขภาพทุกฉบับ ประกันสุขภาพเด็กก็มีเงื่อนไขนี้เช่นกัน ส่วนใหญ่ช่วงระยะเวลารอคอยจะอยู่ที่
ระหว่าง 60-120 วัน ขึ้นอยู่กับโรคร้ายต่างๆที่ลูกน้อยป่วย ดังนั้นพ่อแม่เด็กจึงต้องเข้าใจเงื่อนไขนี้ก่อนทำประกันให้ลูกด้วย

4.แนะนำให้รอเคลมประกันหลังเริ่มทำประกันสุขภาพให้ลูกสัก 1 ปี เพื่อลดความเสี่ยงเงื่อนไขสำรองจ่ายก่อน

ส่วนใหญ่พ่อแม่เด็กมักรีบร้อนเคลมประกันสุขภาพเด็กให้ลูกเร็วเกินไป เเบบว่าลูกน้อยไม่สบายนิดหน่อยก็รีบพาแอดมิด
เข้าโรงพยาบาลในเครือเพื่อเคลมประกันเเล้ว เเม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ผลจากการเคลมประกันสุขภาพบ่อยครั้งเกินไป
มันจะไปมีผลเสียตอนช่วงที่ลูกน้อยเกิดป่วยหนักจากโรคร้ายแรงขึ้นมา อาจเสี่ยงถูกประกันให้สำรองจ่ายก่อนได้ เพราะเหตุนี้
จึงแนะนำให้พ่อแม่เด็กอดทนถือครองประกันสุขภาพเด็กโดยอย่าเพิ่งรีบเคลมไปสัก 1 ปี เเล้วค่อยเริ่มเคลมประกันไปเมื่อลูก

ป่วยไม่สบายตามปกติ ซึ่งการไม่รีบเคลมประกันเร็วเกินไป ส่งผลดีไม่ต้องกังวลใจว่าจะเสี่ยงถูกสำรองจ่ายก่อนนั่นเอง

5.โรคร้ายที่แนะนำให้ใช้สิทธิเคลมประกันสุขภาพเด็ก

ส่วนใหญ่จะเป็นโรคร้ายต่างๆ อาทิ โรคไข้เลือดออก , โรคไข้หวัดใหญ่ ,โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า ,โรคหัวใจในเด็ก ,โรคโลหิตจาง
ซึ่งหากลูกน้อยไม่สบายหรือป่วยจากโรคร้ายแรงเหล่านี้ หลังทำประกันสุขภาพเด็กไปสักพักนึงก็เคลมประกันรักษาได้เลย

สรุปแล้ว เรื่องประกันสุขภาพเด็กที่ใช่เล่มแรกควรให้ความสำคัญมาก เพราะพ่อแม่ย่อมอยากให้ลูกน้อยได้รับกรมธรรม์ประกันสุขภาพ
ที่พร้อมดูแลให้กับลูกเป็นอย่างดี โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายการรักษาเเพง นอกจากนี้ประกันสุขภาพเด็กที่ลงตัวยังช่วยเซฟ
ให้พ่อแม่สบายใจที่ลูกน้อยได้มีประกันสุขภาพดูแลลูกได้อีกแรง ลดความเสี่ยงการเงินในครอบครัวมีปัญหาหมดไปกับค่ารักษาโรค
ให้แก่ลูก หากไม่ได้ทำประกันเอาไว้ตั้งเเต่เนิ่นๆนั่นเอง

ทำเรื่องประกันสุขภาพให้เป็นเรื่องง่ายๆ คลิก ประกันสวัสดีดอทคอม  ประกันสุขภาพออนไลน์ คุ้มครองครบ จบที่เดียว สวัสดีดอทคอม โทร 02 098 5999


ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP