สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
หลายครั้งที่เคยได้ยินการรายงานข่าวเกี่ยวกับน้ำท่วม หลายคราวมักจะได้ยินผู้บรรยายข่าวระบุว่า เป็นเหตุน้ำท่วมในรอบหลายสิบปี หรือ บริเวณที่เกิดอุทกภัยเหล่านั้นไม่เคยเกิดน้ำท่วมมาก่อนเลยก็มี สาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางน้ำ แน่นอนว่าสำหรับคนที่ไม่เคยประสบพบเจอกับปัญหาอาจจะเตรียมตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อน้ำท่วม แต่สำหรับอีกหลายคนที่อาศัยอยู่บริเวณริมน้ำ เขามีการเตรียมตัวอย่างไรลองไปดูวิธีเหล่านั้นกัน - พยายามเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเสียหายจากความน้ำ บรรจุใส่ลังบรรจุสัมภาระที่ทำจากพลาสติก หรือบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ถุงดำ) บรรจุลงลังกระดาษ แล้วนำขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง ๆ ที่สามารถทำได้
- ย้ายปลั๊กไฟและสวิทซ์ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับต่ำ โดยมากจะอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตรจากพื้นอาคาร ให้สูงขึ้นไปอยู่ ในระดับ 1.20 เซนติเมตร แยกเบรกเกอร์ออกเป็นชั้น ๆ ไป เพื่อความสะดวก ในการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วม
- ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
- สำรวจช่องเปิดที่คาดว่าบรรดาสัตว์ที่มีอันตรายต่าง ๆ อาจจะสามารถเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายได้ และทำการปิดช่องเปิดนั้น เพื่อระวังป้องกันอันตราย
- สำรวจรอยแตกร้าว รอยแยก บริเวณรอบตัวบ้าน หากพบจุดที่คาดว่าน้ำอาจซึมเข้ามาได้ ให้ใช้วัสดุยาแนวหรือซิลิโคลนฉีดอัดบริเวณรอยแตกร้าวภายนอก เพื่อลดการซึมเข้ามาของน้ำ
- ให้จัดเตรียมกระสอบทราย ทำเป็นกำแพงกันน้ำ บริเวณทางเข้าออกของบ้าน และประตูห้องน้ำเนื่องจากห้องน้ำจะมีระบบท่อน้ำทิ้งซึ่งน้ำจากภายนอกจะขึ้นมาจากระบบท่อเหล่านั้น
- หากไม่สามารถหากระสอบทรายได้ สามารถใช้วิธีก่อผนังฉาบปูนทำผิวขัดมันแทนการใช้กระสอบทรายก็ได้
- จัดเตรียมภาชนะสำหรับเก็บของเสียจากการขับถ่าย ไม่ควรขับถ่ายลงระบบส้วมเดิม เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มสิ่งสรกปกลงไปในน้ำ
- จัดเตรียมภาชนะบรรจุน้ำสะอาดไว้สำหรับบริโภค ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ หรือจัดหาเครื่องกรองน้ำมาติดตั้ง เพราะเมื่อน้ำท่วมเราไม่ควรใช้น้ำประปามาบริโภค เนื่องจากอาจจะมีสิ่งสรกปกปะปนมากับน้ำปะปา
- จัดเตรียมเวชภัณฑ์ และอาหารสำเร็จรูปที่สามารถรจัดเตรียมได้ง่าย เช่น อาหารกระป๋อง เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วม อาจจำเป็นต้องมีการตัดกระแสไฟ และไม่สามารถหุงหาอาหารได้
ถ้าหากไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วจะทำอย่างไร เมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วเราจะแก้ไขได้ลำบากเพราะระบบอุปโภค และสาธารณูประโภค จะใช้งานไม่ได้ สิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจะมีราคาสูงขึ้น จนถึงขาดตลาด ดังนั้นการเตรียมตัวป้องกันจึงเป็นการแก้ไขที่ดีที่สุด ที่มา บ้านและสวน การรับมือภัยพิบัติน้ำท่วม มีคำแนะนำสำหรับผู้ประสบอุทกภัย และผู้ที่อยู่ในพื้นที่สุมเสี่ยง ว่าควรปฏิบัติตัวและเตรียมการ ดังนี้ - หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น
- เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม ยารักษาโรค ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม
- เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)
- หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง
- เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
- เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ
- ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม
- หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
- พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด
- ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด
- หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน
- ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที
- เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่ม และชำระร่างกาย
- เตรียมถุงดำเล็ก - ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ
- หากน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดแผ่นดินทรุดตัวได้ แนะนำให้อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย - ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โทร 1784
- ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา
โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ
โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
- กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา
โทร.044214334-5 หรือ CallCenter 1129
- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่
โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200,
037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24 ข้อมูลจากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
|