สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
สวัสดีครับวันนี้เรามีเนื้อหาที่เหมาะจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังทดลองออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ด้วยตัวเอง ไม่ว่าเป็น โลโก้(Logo)สัญลักษณ์(Symbol) โปสเตอร์หรืองานโฆษณาต่าง ๆ สำหรับผู้เริ่มต้น เคยสงสัยและถามตัวเองกันไหมครับว่า “เอ้!ทำไมโลโก้ของคนอื่น ๆ แต่ละอันมันดูออกมาเรียบง่าย สบายตาจังเลยนะ แล้วดูของฉันสิมันอะไรกันเนี่ย ดูยุ่งเหยิง รกรุงรังพันกันเต็มไปหมด แถมยังสื่อความหมายออกไปไม่ได้อีกต่างหากเห้อ” ที่เป็นแบบนั้นผมอยากกระซิบบอกเบาๆว่าเพราะพวกเขามีองค์ประกอบพื้นฐานในการออกแบบกราฟฟิกดีไซน์อยู่ในใจตั้งแต่ก่อนเริ่มจรดปลายดินสอสเก็ตช์แล้วหนะสิทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้จะบอกว่าโลโก้ หรืองานกราฟฟิกดีไซน์ที่ดูเยอะ ดูรกเป็นงานที่ผิดนะครับ ทั้งนี้ก็ต้องแล้วแต่โจทย์ และลูกค้าด้วยจ้ามาครับเรามาดูกันเลยว่าองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับการออกแบบและงานศิลปะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1.จุด (Dot) หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน มองเห็นได้ในทางคณิตศาสตร์ใช้ระบุตำแหน่ง เป็นสิ่งที่ไม่มีมิติ ไม่มีความกว้าง ความยาวหรือแม้กระทั่งความลึกในตัวของมัน เป็นเพียงจุด แต่ในทางด้านการกราฟฟิกดีไซน์แล้วจะบอกว่ามันไม่มีมิติเลยก็คงไม่ได้เพราะเราก็มองเห็นมันอยู่เนี่ยจึงกลายเป็นว่าจริง ๆ แล้ว จุดคือสิ่งที่คนไม่ได้อยากจะทราบถึงขนาดว่ามันกว้างยาวเท่าไหร่ต่างหาก
ยกตัวอย่างเราลองนำเหรียญบาทมาแปะลงที่มุมล่างขวาของกระดาษขนาด A4 แล้วลองมองเราจะเห็นเหรียญบาทเป็นจุดกลมๆอยู่บนกระดาษสี่เหลี่ยม ต่อมาลองพับกระดาษทีละครึ่งเข้าไปหาเหรียญบาทนั้นเรื่อย ๆ จนขอบกระดาษเข้าไกล้ขอบของเหรียญบาทนั้นมาก ๆเราก็จะมองเหรียญบาทเปลี่ยนไป ไม่เป็นจุดแล้วเป็นสิ่งที่เราพอจะระบุขนาดของมันคร่าวๆได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีผลกับจุด คือที่ว่าง(Space) ที่จะเป็นตัวบอกว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นจุดหรือไม่
2.เส้น (Line) คือ การที่นำจุดมาเรียงต่อ ๆกันเป็นแนวยาว เพราะมันเป็นจุดนิยามมันจึงเหมือนเดิม คือไม่มีใครสนใจขนาดของมันแต่เมื่อมันต่อกันเป็นเส้น ผู้คนจะสนใจแค่ว่าความยาวของมันมีขนาดต่างกันกับความสูงของมันมาก ๆ
ยกตัวอย่างกระดาษ A4 แผ่นเดิมนั้นแหละ เราลองหาเหรียญบาทวางเพิ่มต่อจากมุมล่างขวาวางไล่ไปจนถึงมุมบนซ้าย เราก็จะได้บางอย่างที่เรียกว่า เส้นทแยงมุมแล้ว ต่อมาเราลองหาเหรียญ5 บาทมาวางทับเหรียญบาทที่อยู่ตรงกลางสุดของเส้นนั้นเราจะเห็นความหนาของเส้นที่เปลี่ยนไป เราเรียกมันว่า น้ำหนัก(Weight)
เส้นมี2 ลักษณะ 1. เส้นตรง ให้ความรู้แข็งแรง มั่นคง รวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางตัวและการนำเส้นมาประกอบกันด้วยเช่นเราวางเส้นตรงเฉียง 60 องศา กลางหน้ากระดาษยิ่งเส้นยาวจะยิ่งให้ความรู้สึกพุ่งพรวดรวดเร็วแต่ถ้าเราวางเส้นเดิมให้ปลายเส้นด้านล่างจรดกับขอบกระดาษด้านล่างพอดีจะให้ความรู้สึกโงนเงน เอนเอียง ไม่มั่นคงทันที 2. เส้นโค้งให้ความรู้สึกอ่อนโยน มีชีวิตชีวาทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดัดเส้นโค้งให้เกิดความรู้สึกไหน
3. ระนาบ (Plane) คือ เส้นที่เรียงตัวปิดล้อมกันไม่มีช่องโหว่ เกิดเป็น รูปร่าง (Shape) สัมผัสได้ถึงความยาวและความสูง เป็นภาพ2 มิติไม่มีมิติของความลึก
ย้อนกลับไปที่เรื่องจุด ที่กล่าวว่า เมื่อเราพับกระดาษ A4 เข้ามาหาเหรียญบาทเรื่อย ๆจนขอบกระดาษชิดกับขอบเหรียญมากแล้ว เราจะมองเหรียญเปลี่ยนไปพื้นที่ว่างของกระดาษที่แคบลง จะทำให้เรามองเห็นรายละเอียดของเหรียญมาขึ้นจนเราเห็นเป็นเส้นวงกลมมีปลายจรดกันสมบูรณ์เกิดเป็นระนาบวงกลมขึ้นมาแทนการเป็นจุดนั่นเอง
ระนาบหรือรูปร่างมี3 ลักษณะ 1. รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape) เกิดจากการประกอบกันของเส้นตรงหรือการสร้างรูปร่างขึ้นจากการคำนวนทางคณิตศาสตร์ 2. รูปร่างอินทรีย์รูป(OrganicShape) คือรูปทรงที่เลียนแบบธรรมชาติ 3. รูปร่างอิสระ(FreeShape) คือรูปร่างที่เกิดจากการสรรสร้าง ดัดแปลงจากตัวผู้สร้างเอง
บนระนาบเราสามารถแต่งเติม พื้นผิว(Surface) ของมันได้ ยกตัวอย่างกระดาษที่มีเหรียญบาทแผ่นเดิมนั่นแหละครับ คว่ำกระดาษลงให้เหรียญอยู่ใต่กระดาษ แล้วเราลองเอานิ้วโป้งกดลงไปบนเหรียญแรงๆจะทำให้พื้นผิวของเหรียญเกิดเป็นรอยรูปวัดแจ้งขึ้น เรียกว่า ผิวสัมผัส(Texture) ผิวสัมผัสนั้นเกิดขึ้นได้บนแส้นได้เช่นกัน ถ้าเส้นมีความหนาหรือน้ำหนักที่มากพอและน้ำหนักก็เกิดกับระนาบได้เช่นกันและแสดงออกชัดเจนกว่าเส้นมาก เนื่องจากระนาบมีขนาดความกว้างยาวชัดเจนระนาบยิ่งใหญ่ก็ทำให้มีค่าน้ำหนักมากขึ้นโดยปริยาย
โอ้โหเพียงแค่3 เรื่อง ยังเกิดคำศัพท์ใหม่ออกมาอีกมากมายเลย เนื่องจากเวลาหมดวันนี้พักไว้แค่นี้ก่อนครับ วันหลังจะมาเล่าเรื่ององค์ประกอบอื่น ๆ ให้ฟังต่อและไม่ต้องตกใจไปครั้งถัดไปจะมีการพูดถึงเรื่องตัวอย่างและการนำองค์ประกอบเหล่านี้ไปใช้ในงานกราฟฟิกดีไซน์แน่นอนครับต้องคอยติดตามนะครับ
สำหรับวันนี้ขอบคุณที่สนใจในการออกแบบครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.upmedio.com/th/graphic-design-agency/
#Graphic #Design #Logo #GraphicDesign # ออกแบบ # กราฟฟิค
|