ยังไม่ได้เช็คอิน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 12%
|
สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
การทำเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมต่างก็ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเข้ามามีส่วนบทบาทสำคัญ เพราะทั้งคู่นั้นใช้ทั้งแรงงานคนและแรงงานเครื่องจักรกล รวมไปถึงทรัพยากรน้ำที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการทำอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เกษตรกรรมนั้นก็หมายถึง กระบวนการผลิตอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยวิธีการเพาะปลูกพืช มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "กสิกรรม" และวิธีการเลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ อย่างเป็นระบบ ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเรียกว่า เกษตรกร แรงงานจำนวน 42% ของทั้งโลกอยู่ในภาคเกษตรกรรม จึงถือว่าเป็นกลุ่มอาชีพที่แพร่หลายที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีปริมาณเพียงไม่ถึง 5% ของผลผลิตมวลรวมของโลก และเกษตรกรรมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ1. กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวน การทำไร่ เป็นต้น 2. ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู หรือเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ปีก เป็นต้น 3. การประมง หมายถึง การประกอบอาชีพการเกษตรทางน้ำ เช่น การเลี้ยงสัตว์น้ำ การจับสัตว์น้ำ เป็นต้น 4. ด้านป่าไม้ หมายถึง การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ การนำผลผลิตจากป่ามาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมนั้นก็มี อุตสาหกรรมนั้นเป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของ หรือ จัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ในยุควิกตอเรีย นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการผลิตเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มากมาย และ ทำให้อุตสาหกรรมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังเกี่ยวของกับลัทธิสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ (ลัทธิมาร์กซ) อีกด้วย ในปัจจุบันอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์อย่างยิ่ง ด้วยว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาการผลิตสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน หรือเรียกรวมว่าปัจจัยสี่ โดยสิ่งที่สามารถผลิตปัจจัยสี่ให้ดี มีคุณภาพและไม่ก่ออันตราย หรือก่ออันตรายให้กับร่างกายและทรัพย์สินน้อยที่สุดคือการผลิตจากอุตสาหกรรม ส่วนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เพราะต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก สภาพแวดล้อมอาจถูกรุกรานและถูกทำลาย อย่างไรก็ตามการทำเหมืองแร่ อาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองแร่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ๆ มีการทำเหมืองแร่ แต่การทำเหมืองแร่ไม่ได้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม หากผู้ทำเหมืองปฏิบัติตามหลักวิชาการ ซึ่งการทำหมืองแร่ตามหลักวิชาการ ที่มีการใช้ shaker table for gold จะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์แร่ ทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเหมืองแร่ทุกประเภทและทุกขนาดต้องมีการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากนี้ เหมืองแร่จะเกิดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการยอมรับของสังคม หรือชุมชนที่มีเหมืองแร่อยู่บริเวณใกล้เคียง
|
|