ยังไม่ได้เช็คอิน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 12%
|
สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
ในยุคที่เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา และความรู้นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่จำกัดสถานที่ว่าจะต้องเฉพาะแค่ในห้องเรียน และไม่ว่าจะอายุเท่าไร ก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้เสมอ เพียงแค่เราเปิดใจและทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้ม พร้อมรับความรู้และข้อมูลข่าวสาร และต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลข้อเท็จจริงหรือไม่ เนื่องจากข้อมูลและสารเหล่านั้นรับมาด้วยความรวดเร็วเกินไป และหากเราส่งต่อข้อมูลผิดๆ ก็อาจสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้างได้
เมื่อพูดถึงเรื่องการลงทุน หลายคนอาจจะนึกถึงเรื่องการลงทุนทำธรกิจต่างๆ ลงทุนในเรื่องสินเชื่อ ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่กล้าเสี่ยงและไม่มีความรู้ความเข้าใจมากนัก ทำให้อาจพลาดโอกาสดีๆได้ การลงทุนโดยซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างคอนโด ซึ่งเราสามารถปล่อยให้เช่า และนำเงินตรงนั้นมาผ่อนได้ ถือว่าเป็นการลงทุนที่สมเหตุสมผล และเป็นการลงทุนที่หลายๆคนนำไปใช้ ซึ่งทำให้การซื้อขายคอนโดที่อยู่กลางเมืองหรือใกล้บริเวณรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน จะเป็นทำเลที่มีคนจับจองและต้องการเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการลงทุนแบบ คอนโดเงินเหลือ ซื้อคอนโดมีเงินเหลือ สินเชื่อปิดบัตรเครดิต ซึ่งก็สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับนักลงทุนได้เช่นกัน เมื่อเรารู้จักลงทุนแล้ว เราก็ควรรู้จักออมเงินด้วย เพื่อจะได้มีเงินในบัญชีไว้ใช้ สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องมีความมุ่งมั่นและมีวินัยทางการเงิน เพราะไม่เช่นนั้นคงยากที่จะบรรลุเป้าหมาย ลองประเมินการใช้เงินเริ่มจากช่วง 6 เดือนแรก หากทำไม่สำเร็จ ต้องกลับมาย้อนดูตัวเองและพฤติกรรม หากรายรับยังไม่พอต้องพยายามลดรายจ่ายให้มากที่สุด ในกรณีใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ควรใช้อย่างมีวินัย จ่ายเงินให้มากที่สุดตรงตามกำหนด ไม่แนะนำให้จ่ายขั้นต่ำ เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หรือเคล็ดลับง่ายๆ นอกจากการกัดฟันเก็บแบงก์ 50 บาท หรือแบงก์ 20 ก็ได้ ไม่นำไปใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถนำเงินค่าใช้จ่ายประจำวัน ซึ่งบางวันอาจมีเงินเหลือ 20 บาท 100 บาท ให้นำไปเก็บออมอย่างสม่ำเสมอ อย่าเอาไปสมทบกับค่าใช้จ่ายของอีกวัน เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี จะเห็นตัวเงิน สามารถนำเงินเหล่านี้และควักเพิ่มอีกไม่มาก นำไปซื้อสลากออมสิน เริ่มซื้อด้วยจำนวนหน่วยไม่มาก ก่อนขยับซื้อเพิ่ม ขณะที่วันหยุดประจำสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ หลายคนเจอปัญหามีการใช้จ่ายสูงทั้งค่าเที่ยว ค่าช็อปปิ้ง ค่าอาหาร และค่าจิปาถะหลายอย่าง โดยวิธีแก้ไขให้วางแผนใช้จ่ายให้ดีๆ กำหนดเป้าให้ชัดเจน อย่างเดือนหน้าจะมีวันหยุดยาว ต้องบังคับอย่าตามใจตัวเอง ประเมินคร่าวๆ อาจใช้จ่ายประมาณ 10-20% ของรายรับที่เข้ามาเท่านั้น และให้นึกเสมอ เพื่อเงินออมในภายภาคหน้าจะได้ไม่ลำบาก แน่นอนมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องเสียภาษีสังคมทั้งงานแต่ง งานเลี้ยงส่ง งานบวช เพื่อนที่ทำงานคลอดลูก หากบางเดือนเจอไปหลายบาท อาจทำให้กระเป๋ากรอบได้ ลองมาใช้วิธีหักดิบในเดือนถัดไป เมื่อเงินเดือนออกให้หักเงินในส่วนที่จ่ายภาษีสังคมไปใส่ในเงินออมประมาณ 50% และพยายามอย่าออกงานปาร์ตี้สังสรรค์ โดยใน 1 เดือน อาจให้รางวัลตัวเองเฉพาะช่วงสิ้นเดือนเท่านั้นประมาณ 5% ของเงินเดือน หรือน้อยกว่านั้นยิ่งดี จากปกติเคยออกไปปาร์ตี้สัปดาห์ละครั้ง ให้เหลือเฉพาะสิ้นเดือน จะเห็นเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำชัดเจน
|
|