ยังไม่ได้เช็คอิน
ความคืบหน้าการอัพเกรด: 12%
|
สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์
คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก
x
มีคนจำนวนมากที่ต่างก็ไขว่คว้าและเฝ้ารอโอกาสดีๆที่จะเกิดขึ้น ทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะหลายๆโอกาสนั้นอาศัยคนที่พร้อมจะรับโอกาสนั้นจริงๆ และความพยายามที่จะพิสูจน์ตัวเองว่าคู่ควรกับโอกาสนั้นไหมคือโจทย์อันแสนยาก อย่างไรก็ตามหลายคนไม่รอโอกาสเหล่านั้น แต่เลือกที่จะเป็นผู้สร้างและกำหนดโอกาสให้ตัวเอง คนที่จะทำอย่างนี้ได้นั้น แน่นอนว่าต้องมีความมั่นในใจตนเองเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการรักและภูมิใจในตัวเองอีกด้วย สิ่งนี้คือสิ่งที่เราต้องสร้างเอง และจะยิ่งขับเคลื่อนให้เราพร้อมจะวิ่งชนทุกโอกาสในชีวิต
ความมั่นใจ หรือที่คนในยุคใหม่เรียกว่าความมั่นหน้า มั่นโหนก ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกแปลกๆ แต่ถ้าได้เห็นคาแรกเตอร์ของความมั่นหน้ามั่นโหนกอย่างชัดเจน จะวิเคราะห์ได้ว่า นิยามนี้คือ ความมั่นอกมั่นใจในตัวเอง ความคิด การกระทำและไม่มีสิ่งใดที่จะเข้ามาทำลายความมั่นใจนั้นได้ ต่อให้เป็นคำพูดหรือคอมเมนท์แย่ๆ เราก็จะไม่นำมาใสใจ ถือว่าเป็นแนวคิดที่มีความเข้มแข็ง แข็งแกร่งและสตรองมากๆ เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่จะต้องฟาดฟันกับโลกโซเชี่ยลและการแสดงความคิดเห็นแย่ๆ การเลือกแก้ไขจุดบกพร่องของใบหน้า อย่างการทำคาง แก้คางนั้น ถือเป็นการเพิ่มความมั่นใจในรูปหน้าของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้นการค้นหาข้อมูลว่าเสริมคางที่ไหนดีก็จะยิ่งช่วยให้เรามีตัวเลือกที่ดีในการศัลยกรรมคางอีกด้วย ศิลปะในการพูดนั้นสำคัญ เราสามารถสร้างความมั่นใจในเรื่องนี้และลดความประหม่าได้โดย เมื่อผู้พูดขาดความมั่นใจ ก็มักจะมีอาการประหม่า หรือตื่นเวทีปรากฏออกมาให้เห็น เราไม่สามารถทำให้ความรู้สึกประหม่าหายไปได้โดยเด็ดขาด แต่เราอาจจะควบคุมไว้ ทำให้ ลดน้อยลงได้ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง โดยพิจารณาถึงเหตุผล การหาประสบการณ์ การสร้างความอดทน การเตรียมเรื่องมาอย่างดี และการหาอุปกรณ์ประกอบการพูด เป็นต้น สาเหตุของความประหม่า มองเห็นจุดอ่อนของตนเองมากเกินควร ย่อมทำให้เกิดความวิตกกังวลมาก ไม่กล้าแสดงตนต่อหน้าคนอื่น เมื่อเกิดความไม่กล้า ความประหม่าก็เกิดตามมาทันที เกิดความขัดแย้งภายในตนเอง มีผลทำให้เกิดความว้าวุ่นใจ หรือวิตกกังวล จนกลายเป็นความประหม่า เวลาที่จะไปพูดในโอกาสสำคัญ ๆ ก็ปรารถนาจะประสบความสำเร็จ ในการพูด ต้องการพูดให้ดี ให้คนฟังสนใจและพอใจ แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความกลัวว่าการพูดนั้นจะล้มเหลว คนฟังจะเบื่อ ไม่ได้รับประโยชน์ หรือหัวเราะเยาะในใจเอาได้ เหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในตนเองขึ้น วาดภาพในใจไว้อย่างผิด ๆ ผู้พูดบางคนวาดภาพไว้ว่า ผู้ฟังที่ตนจะไปพูดนั้นคงจะฟังอย่างเพ่งเล็ง คอยจับผิดทุกคำพูด หากตนพูดอะไรผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะถูกนำไปวิพากวิจารณ์อย่างมาก ทำให้เกิดความหวาดกลัวจนกลายเป็นความประหม่าตื่นเต้นได้
|
|